พระนางแมนุ
พระนางแมนุ (พม่า: နန်းမတော် မယ်နု, ออกเสียง: [náɰ̃.mə.dɔ̀ mɛ̀ nṵ]; 18 มิถุนายน ค.ศ. 1783 – 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1840) เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าจักกายแมงแห่งราชวงศ์โก้นบองจาก ค.ศ. 1819–1837 พระนางอภิเษกกับพระเจ้าจักกายแมงครั้งยังดำรงพระยศเป็นเจ้าชายแห่งซะไกง์เมื่อ ค.ศ. 1801 และได้กลายเป็นพระมเหสีเมื่อพระสวามีได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1819 สืบต่อจาก พระเจ้าปดุง ผู้เป็นพระอัยกา (ปู่) โดยพระนางได้พระอิสริยยศ น่านมะดอมิพะย่าคองจี้ (พระอัครมเหสี)[1]
พระนางแมนุ | |
---|---|
พระอัครมเหสีแห่งพม่า | |
ดำรงพระยศ | 5 มิถุนายน 1819 – 15 เมษายน 1837 |
พระราชสมภพ | 18 มิถุนายน ค.ศ. 1783 |
สวรรคต | 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1840 อมรปุระ | (56 ปี)
พระสวามี | พระเจ้าจักกายแมง |
พระราชบุตร | พระนางอเลนันดอ |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์โก้นบอง |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พระนางแมนุพร้อมกับมองโอ (พระเชษฐาหรือพระอนุชาของพระองค์) และนายพลมหาพันธุละ สนับสนุนการทำสงครามกับอังกฤษในโถงพระโรงของพระเจ้าจักกายแมง[2] หลังสิ้นสุด สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง อาณาจักรก็เริ่มเสื่อมอำนาจและอ่อนแอลง พระเจ้าจักกายแมงทรงเก็บตัวมากขึ้น พระนางแมนุและมองโอจึงเข้าปกครองอาณาจักรโดยพฤตินัยและผู้คนต่างเริ่มต่อต้านการปกครองของพระนาง ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1837 เจ้าชายสารวดี พระอนุชาของพระเจ้าจักกายแมงประสบความสำเร็จในการก่อกบฏ และให้พระเจ้าจักกายแมงสละราชบัลลังก์ในเดือนเมษายน พระเจ้าจักกายแมงถูกกักบริเวณภายในพระราชวัง ส่วนพระนางแมนุและมองโอถูกประหารชีวิต[1]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม
- Buyers, Christopher. "The Konbaung Dynasty Genealogy". royalark.net. สืบค้นเมื่อ 19 September 2009.
- Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.