พระเจ้าแสรกแมง หรือ พระเจ้าสายาวดี (พม่า: သာယာဝတီမင်း ตายาวะดีมี่น) เป็นพระโอรสของตะโดเมงสอซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าปดุง พระองค์เป็นพระอนุชาของพระเจ้าจักกายแมง และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 ในราชวงศ์โก้นบอง ประสูติเมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2330 พระองค์มีบทบาทในการคัดค้านพระเจ้าจักกายแมงให้รีบยอมแพ้ต่ออังกฤษหลังจากมหาพันธุละแม่ทัพใหญ่เสียชีวิตในสนามรบ แต่พระเจ้าจักกายแมงไม่เชื่อคำทักท้วง จนฝ่ายพม่าต้องประสบความเสียหายมากขึ้น

พระเจ้าแสรกแมง
ภาพถ่ายหลุมพระศพของพระเจ้าแสรกแมง
พระมหากษัตริย์พม่า
เจ้าชายแห่งทวารวดี
ครองราชย์15 เมษายน พ.ศ. 2380 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2389[ต้องการอ้างอิง]
ราชาภิเษก8 กรกฎาคม พ.ศ. 2383
ก่อนหน้าพระเจ้าจักกายแมง
ถัดไปพระเจ้าพุกามแมง
ชายาแม-มยะชเว
มีราชินีรวม 96 พระองค์
พระราชบุตร18 พระราชโอรสและ 18 พระราชธิดารวมไปถึง:
นามเต็ม
สิริปวราทิตฺย โลกาธิปดี วิชยมหาธมฺมราชาธิราช
(သိရီပဝရာဒိတျ လောကာဓိပတိ ဝိဇယမဟာဓမ္မရာဇာဓိရာဇာ)
ราชวงศ์โก้นบอง
พระราชบิดาตะโดเมงสอ
พระราชมารดาMin Kye, เจ้าหญิงแห่ง Taungdwin
ประสูติ14 มีนาคม พ.ศ. 2330
อมรปุระ
Maung Khin (မောင်ခင်)
สวรรคต17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2389 (59 ปี)
อมรปุระ
ฝังพระศพอมรปุระ
ศาสนาพุทธเถรวาท
ระฆังพระเจ้าแสรกแมง สร้างโดยพระเจ้าแสรกแมง แขวนไว้ที่พระเจดีย์ชเวดากอง

พระเจ้าแสรกแมงขึ้นครองราชย์หลังจากที่พระเจ้าจักกายแมงมีพระสติวิปลาส พระนางแมนุกับมี่นต้าจี้ต้องการกำจัดพระองค์ และจะยกพระโอรสของพระเจ้าจักกายแมงคือเจ้าชายญองย่านขึ้นเป็นกษัตริย์ พระเจ้าแสรกแมงจึงเสด็จหนีไปรวบรวมผู้คน กลับมายึดอำนาจและปลดพระเจ้าจักกายแมงลงจากราชบัลลังก์เมื่อ 15 เมษายน พ.ศ. 2380 และขึ้นครองราชสมบัติแทน

หลังจากขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าแสรกแมงทรงประหารชีวิตพระนางแมนุ มี่นต้าจี้ และเจ้าชายญองย่าน และกักบริเวณพระเจ้าจักกายแมงไว้ ต่อมามีขุนนางพม่าพยายามจะนำพระเจ้าจักกายแมงกลับมาครองราชย์ พระเจ้าแสรกแมงจึงสั่งให้คุมขังพระเจ้าจักกายแมงไว้อย่างแข็งแรงกว่าเดิมจนพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2389 ส่วนพระเจ้าแสรกแมงก็มีพระสติวิปลาสและถูกพระโอรสคือเจ้าชายพุกาม (หรือที่ในพงศาวดารไทยเรียกพระเจ้าพุกามแมง) ควบคุมตัวไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2385 และสวรรคตเมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2389[1] หลังพระเจ้าจักกายแมง พระเชษฐาไม่นานนัก

ในรัชกาลพระเจ้าแสรกแมงมีการทำสนธิสัญญารานตะโบ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง พระองค์ไม่เห็นด้วยกับสนธิสัญญานี้แต่ก็ไม่กล้าผิดสัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับเฮนรี เบอร์นี ผู้แทนชาวอังกฤษแย่ลง จนเบอร์นีออกจากพม่าไปใน พ.ศ. 2380 ต่อมาใน พ.ศ. 2385 พระองค์ได้นำกำลังทหาร 15,000 คนลงไปยังเมืองย่างกุ้งเพื่อบูชาพระเกศาธาตุและเรียกร้องให้อังกฤษคืนยะไข่และตะนาวศรี เมื่อการเรียกร้องเอกราชไม่เป็นผลจึงเสด็จกลับอมรปุระ[2] และมีพระสติวิปลาสในปีนั้นเอง ในรัชกาลของพระองค์ อังกฤษติดทำสงครามกับอัฟกานิสถานจึงไม่ทำสงครามกับพม่า

พงศาวลี แก้ไข

อ้างอิง แก้ไข

  • วิไลเลขา ถาวรธนสาร. "พระเจ้าจักกายแมง." ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A–B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2539, หน้า 330–333.
  1. Christopher Buyers. "The Konbaung Dynasty Genealogy". royalark.net. สืบค้นเมื่อ 2009-09-26.
  2. วิไลเลขา ถาวรธนสาร. "สงครามอังกฤษ-พม่า ครั้งที่ 2." ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : เอเชีย เล่ม 1 อักษร A–B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2539, หน้า 163–166

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข