พระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

พระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เป็นตำหนักที่ตั้งอยู่หลังพระมหามณเฑียรตรงกับประตูสนามราชกิจ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างเพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร

พระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
พระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพระตำหนัก
ที่ตั้งพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย ไทย
เป็นส่วนหนึ่งของเขตพระราชฐานชั้นใน
เลขอ้างอิง0005574

ลักษณะของพระตำหนัก แก้

ตำหนักนี้เป็นตำหนักก่ออิฐถือปูนสูง 2 ชั้น ทาสีชมพูลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหักข้อศอกเป็นรูปตัวอีนอนหงาย ( E ) ภายในขอบรูปตัวอีด้านทิศตะวันตกเป็นลานโล่งขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เหมือนลานกลางของตำหนักหลังอื่น ๆ มีทางเข้าอยู่ทางด้านทิศเหนือทำเป็นมุขมีหลังคาคลุมอัฒจรรย์ทางขึ้น มีทางเข้ารองอยู่ด้านทิศตะวันออก ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกประเทศอิตาลีตอนใต้ หลังคาทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบี้องซีเมนต์ ฦาผนังแต่งด้วยการฉาบปูนแต่งผิวมีลักษณะเหมือนอาคารที่ก่อด้วยหินรูปสี่เหลี่ยมแท่งใหญ่ เน้นตามของและมุมของตำหนักทุกด้าน

ชั้นล่างด้านนอก มีการเน้นขอบหน้าต่างโดยปั้นปูนเป็นบัวตรงกลางหน้าต่างตอนบน และมีขอบข้างอีกด้านละ 3 แห่ง ทาสีขาวโดยรอบ บานหน้าต่างเป็นบานเปิดคู่ ตรงกลางเป็นบานเกล็กไม้แบบบานกระทุ้ง ด้านในเป็นระเบียงทางเดินหน้าห้อง มีลูกกรงทำด้วยไม้

ชั้นบนด้านนอก ซุ้มหน้าต่างตอนบนทำเป็นจั่วสามเหลี่ยม ตอนล่างทำบัวปูนปั้น ทาสีขาวโดยรอบ ตัวบานหน้าต่างเป็นบานเปิดคู่ ตอนกลางเป็นบานเกล็ดแบบบานกระทุ้ง ด้านในเป็นระเบียงทางเดินเหมือนชั้นล่าง แต่ได้มีการทำหน้าต่างกระจกใสเพิ่มขึ้นบนลูกกรง โครงสร้างเป็นไม้ทั้งหลัง เสา คาน พื้น และหลังคา ปูพื้นด้วยหินอ่อน ภายในห้องปูด้วยไม้เข้าลิ้น



อ้างอิง แก้

  • วรรณพร บุญญาสถิตย์. จอมนางแห่งสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 กับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, พ.ศ. 2549. 338 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 874-341-471-1 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum


แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°44′57″N 100°29′30″E / 13.7490668°N 100.4918039°E / 13.7490668; 100.4918039