พระครูประศาสน์สิกขกิจ (พริ้ง อินฺทโชติ)

พระครูประศาสนสิกขกิจ เกิดวันอาทิตย์เมื่อ พ.ศ. 2413 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นชาวคลองสาน ฝั่งธนบุรี หรือจังหวัดธนบุรีในสมัยนั้น เป็นบุตรของนายเวียน และนางสุ่น เอี่ยมทศ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 7 ปี ที่วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร ศึกษาพระธรรมวินัยและฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐานกับพระมงคลเทพมุนี (พระอาจารย์เอี่ยม) อย่างเคร่งครัด ใน พ.ศ. 2433 อุปสมบทที่วัดทองนพคุณ ท่านมีวัตรปฏิบัติที่งดงาม มักออกธุดงควัตรแสวงหาวิเวกไปยังป่าเขาลำเนาไพรเสมอ จึงเป็นที่ศรัทธาเคารพนับถือของชาวบ้านทั่วไป ต่อมาได้มีผู้มานิมนต์ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบางปะกอก เกียรติคุณของท่านยิ่งได้รับความเชื่อถือมากขึ้นอีก เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทำให้บรรดาทหารเรือส่วนใหญ่เลื่อมใสมาสักการะท่านเป็นจำนวนมาก ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2479 ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูประศาสน์สิกขกิจ"[1]

พระครูประศาสน์สิกขกิจ

(พริ้ง อินฺทโชติ)
ชื่ออื่นหลวงพ่อพริ้ง
ส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2413 (78 ปี)
มรณภาพ17 สิงหาคม พ.ศ. 2490
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบางปะกอก กรุงเทพมหานคร
บรรพชาพ.ศ. 2407
อุปสมบทพ.ศ. 2433
พรรษา56
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางปะกอก

วัตถุมงคล

แก้

วัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกมีหลายอย่าง คือ

  1. พระพิมพ์สมเด็จเนื้อผง 30 พิมพ์ ลูกอม
  2. เหรียญเนื้อทองแดง

มรณภาพ

แก้

หลวงพ่อพริ้งมรณภาพเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2490 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สิริอายุได้ 78 ปี พรรษา 56

อ้างอิง

แก้
  1. "แจ้งความ เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 4001. 7 มีนาคม 2479. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  1. หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ 180 พระองค์
  2. พระเครื่อง หลวงพ่อพริ้ง เก็บถาวร 2011-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า พระครูประศาสน์สิกขกิจ (พริ้ง อินฺทโชติ) ถัดไป
ไม่มี   เจ้าอาวาสวัดบางปะกอก
(พ.ศ. 2460 – พ.ศ. 2483)
  พระมหาถาวร