พระครูญาณวิลาศ (แดง รตฺโต)

พระครูญาณวิลาศ นามเดิม แดง อ้นแสง ฉายา รตฺโต เป็นพระเกจิอาจารย์มหาเถระในจังหวัดเพชรบุรีที่มีชื่อเสียงมากของประเทศไทย

พระครูญาณวิลาศ

(แดง รตฺโต)
ชื่ออื่นหลวงพ่อแดง
ส่วนบุคคล
เกิด17 กันยายน พ.ศ. 2422 (95 ปี)
มรณภาพ16 มกราคม พ.ศ. 2517
ศาสนาพุทธ
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
อุปสมบท24 พฤษภาคม พ.ศ. 2444
พรรษา75→
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐ

ประวัติ

แก้

พระครูญาณวิลาศ เกิดเมื่อวันวันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ จ.ศ. 1241 ตรงกับวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2422 ณ ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี[1] เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายแป้น กับนางนุ่ม อ้นแสง มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดารวมทั้งสิ้น 9 คน ได้แก่

  1. นางเยีย อ้นแสง
  2. นางเตี้ย อ้นแสง (มนต์ชู)
  3. นางเจ็ก อ้นแสง (ทับสี)
  4. นางสาวเปรม อ้นแสง
  5. พระครูญาณวิลาศ (แดง รตฺโต)
  6. นางเทียบ อ้นแสง (ทับสี)
  7. พระครูปัญญาโชติวัฒน์ (เจริญ ธมฺมโชติ)
  8. นางเล็ก อ้นแสง
  9. นางน้อย อ้นแสง (เกิดประดับ)

พระครูญาณวิลาศมรณภาพเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2517 เวลา 21.05 น. สิริอายุ 96 ปี[2] [3]

อุปสมบท

แก้

ในวัยเยาว์ท่านช่วยพ่อแม่ทำไร่ ทำนา ไม่มีโอกาสร่ำเรียนหนังสืออย่างเด็กสมัยนี้จนกระทั่งอายุ 20 ปี พ่อแม่ก็หวังจะให้บวชเรียน จึงพาไปฝากกับเจ้าอธิการเปลี่ยน วัดเขาบันไดอิฐ เพื่อจะได้เล่าเรียน และบวชเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 เวลา 15.13 น. โดยมีพระครูญาณวิสุทธิ(พ่วง) วัดแก่นเหล็ก เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการเปลี่ยน วัดเขาบันไดอิฐ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการอ่ำ วัดทองนพคุณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า"รตฺโต" แปลว่า"สีแดง"

ศึกษาธรรม[4]

แก้

หลังจากบวชเป็นพระภิกษุแล้ว เจ้าอธิการเปลี่ยนจึงได้สอนวิชาการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้ นอกจากเจ้าอธิการเปลี่ยนผู้สอนแล้ว หลวงพ่อแดงยังมีพระอาจารย์ผู้สอนพุทธาคมให้อีก 2 รูป นั่นคือพระสุวรรณมุนี (ฉุย สุโข) วัดคงคาราม จ.เพชรบุรี และหลวงพ่อแช่ม อินฺทโชโต วัดตาก้อง จ.นครปฐม ซึ่งมาร่วมนั่งวิปัสสนากรรมฐานกับเจ้าอธิการเปลี่ยนในถ้ำที่วัดเขาบันไดอิฐ อยู่เป็นประจำ ทำให้หลวงพ่อแดงได้ฝากตัวเรียนวิทยาคมกับท่านทั้งสองด้วย เรื่องดังกล่าวนี้มีหลักฐานยืนยัน เพราะ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ศิษย์ผู้หนึ่งของหลวงพ่อแดงเคยเล่าไว้ในบทความว่า หลวงพ่อแดงท่านเคารพพระเถระสองรูปนี้มาก โดยหลวงพ่อแดงจะพกเหรียญอาจารย์ของท่านไว้ในย่ามเสมอ

ชีวิตสมณะ

แก้

หลวงพ่อแดงเป็นพระที่ประพฤติเคร่งครัดต่อพระวินัย สมถะไม่ชอบความยุ่งยากจากพิธีการ และไม่ชอบความสิ้นเปลืองจนเกินพระวินัย ท่านมักจะสอนศิษยานุศิษย์ของท่านให้มีความกตัญญู ซื่อสัตย์สุจริต โดยเปรียบเทียบกับตัวท่านเองว่า “อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ยังได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐ เพราะฉะนั้น! ขอให้ถือความสุจริต และทำคุณประโยชน์ของเราให้เด่นชัด ความดี ความชอบ จะนำมาซึ่งทุกอย่าง” แม้หลวงพ่อแดงจะไม่ได้เรียนหนังสือ แต่ท่านมีความวิริยะอุตสาหะในการสั่งสอน และปกครองคณะสงฆ์ หลวงพ่อแดงเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดเขาบันไดอิฐ เพื่อให้พระภิกษุสามเณรในเขตปกครองได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ท่านเคยปรารภไว้ว่า “ฉันอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จึงอยากให้พระเณรได้เล่าเรียน” หลวงพ่อแดงมีชื่อเสียงในทางสอนวิปัสสนากรรมฐานแก่พระภิกษุสามเณรตลอดจนอุบาสกอุบาสิกา โดยพระภิกษุทั้งในและนอกอารามให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูญาณวิลาศ[5]

สมณศักดิ์

แก้

มรณภาพ

แก้

หลวงพ่อแดงมรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันพุธ แรม 8 ค่ำ เดือน 2 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2517 สิริอายุ 95 ปี พรรษาที่ 73 ก่อนมรณภาพท่านเคยพูดกับพระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล รองเจ้าอาวาสวัดขณะนั้นว่า “เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น 1 ใส่ปากไว้พร้อมเงินพดด้วง 1 ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉันให้เหลืองเหมือนทองคำ” พระบุญส่งจึงรับปาก และได้ทำตามที่หลวงพ่อประสงค์ทุกอย่าง

ปัจจุบันสรีระของท่านยังประดิษฐานอยู่ในหีบประดับมุกซึ่งตั้งอยู่ที่หอสวดมนต์วัดเขาบันไดอิฐ โดยประชาชนสามารถกราบนมัสการได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น.

สหธรรมิก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. https://www.tnews.co.th/contents/303557 เปรี๊ยง! สิ้นเสียงปืนแตกกระจุย อานุภาพพระเครื่องหลวงพ่อแดง เกจิเมืองเพขรบุรี
  2. http://www.cablephet.com/board/q_view.php?c_id=48&q_id=6345 เก็บถาวร 2010-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
  3. https://palungjit.org/threads/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%90-%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5.108913/ ประวัติหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ ยอดเกจิอาจารย์แห่งเมืองเพชรบุรี
  4. "เกร็ดประวัติหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล". www.dharma-gateway.com.
  5. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (115 ง ฉบับพิเศษ): 31. 16 ธันวาคม 2502. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ราชกิจจานุเบกษา". ratchakitcha.soc.go.th.