ฝุ่นคอสมิก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ฝุ่นคอสมิก (อังกฤษ: cosmic dust) เป็นฝุ่นชนิดหนึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบเล็ก ๆ ในอวกาศ หรือได้ตกลงบนโลก[1][2] ส่วนใหญ่มีขนาดระหว่างไม่กี่โมเลกุลถึงราว 0.1 มม. สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามตำแหน่งที่อยู่ของมันในอวกาศ เช่น ฝุ่นระหว่างดาราจักร ฝุ่นระหว่างดาวฤกษ์ ฝุ่นรอบดาวเคราะห์ (วงแหวนดาวเคราะห์) ฝุ่นเมฆรอบดาวฤกษ์ และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ที่เราพบมากที่สุดในระบบจักรราศีของเรา (สามารถมองเห็นได้ในแสงจักรราศี) ฝุ่นดาวหาง ฝุ่นดาวเคราะห์น้อย รวมถึงฝุ่นในกลุ่มวัตถุใกล้เคียงกันเช่น ฝุ่นในแถบไคเปอร์ ฝุ่นระหว่างดวงดาวที่ผ่านระบบสุริยะ รวมถึงฝุ่นอุกกาบาตแบบเบตา เป็นต้น
ครั้งหนึ่งฝุ่นคอสมิกเป็นสิ่งน่ารำคาญอย่างยิ่งสำหรับนักดาราศาสตร์ เพราะมันบดบังวัตถุท้องฟ้าที่พวกเขาเฝ้าสังเกตอยู่ ต่อมาเมื่อถึงยุคการศึกษาดาราศาสตร์อินฟราเรด ฝุ่นเล็ก ๆ ที่เคยเป็นสิ่งน่ารำคาญกลับถูกเฝ้าสังเกตการณ์เสียเอง และกลายเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการศึกษาดาราศาสตร์
อ้างอิง
แก้- ↑ Broad, William J. (March 10, 2017). "Flecks of Extraterrestrial Dust, All Over the Roof". The New York Times. สืบค้นเมื่อ March 10, 2017.
- ↑ Gengel, M.J.; Larsen, J.; Van Ginneken, M.; Suttle, M.D. (December 1, 2016). "An urban collection of modern-day large micrometeorites: Evidence for variations in the extraterrestrial dust flux through the Quaternary". Geology. 45 (2): 119. Bibcode:2017Geo....45..119G. doi:10.1130/G38352.1.