ผู้ใช้:Sarun Praklang/กระบะทราย

การปกครองแบบคณาธิปไตย แก้

ความหมายของคณาธิปไตย แก้

หมายถึง ระบบการปกครองที่มีบุคคลกลุ่มหนึ่งหรือคณะบุคคลกลุ่มหนึ่ง มีอำนาจเหนือประชาชน และประชาชนต้องคอยฟังคำสั่ง และปฏิบัติตามเท่านั้น เป็นการปกครองแบบเผด็จการที่จะประกอบด้วยคนกลุ่มเดียว ไม่ใช่การปกครองแบบระบบเผด็จการโดยคนคนเดียว ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีอำนาจในการปกครองประเทศอย่างแท้จริง[1]
หมายถึง ระบอบการปกครองโดยคณะบุคคลซึ่งผู้ปกครองเป็นกลุ่มเผด็จการที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม และเพื่อพรรคพวกของตัวเองเป็นสำคัญ ซึ่งจะเป็นการปกครองที่มักจะมาจาก การที่รัฐบาลเกิดการปฏิวัติหรือมีการรัฐประหารยึดอำนาจ เช่น รูปแบบการปกครองของไทยภายใต้คณะผู้นำทหารสมัยจอมพล ป พิบูลสงคราม และสมัยจอมพลถนอม ประภาส[2]

การเมืองการปกครองหมายถึง แก้

การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งอำนาจ และการใช้อำนาจในการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน และการใช้อำนาจที่ได้มานั้นก็เพื่อสร้างความผาสุกให้แก่ประชาชน ส่วนการปกครองเป็นเรื่องของการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะดำเนินการตามกฎหมายและนโยบายที่รัฐมอบให้ดำเนินการ โดยมุ่งที่จะสร้าง ความสงบสุข ความเป็นระเบียบ ให้เกิดขึ้นในสังคม ภายใต้รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยและแบบเผด็จการ สรุปแล้ว การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพันกับอำนาจและการปกครอง ไม่ว่าสภาวการณ์ใดหรือสถาบันใด ปละถ้าหากเกิดการต่อสู้การแข่งขันกัน เพื่อแสวงหาอำนาจแล้วก็เป็นการเมืองทั้งสิ้น นอกจากนี้ การเมืองยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการปกครอง การดูแล และจัดการให้มนุษย์อยู่ด้วยกันอย่างเป็นธรรมและเป็นระเบียบเรียบร้อย [3]

การปกครองแบบคณาธิปไตยหมายถึง แก้

การปกครองแบบคณาธิปไตยหมายถึง ระบบการปกครองที่มีบุคคลจำนวนหนึ่งที่มีความสามารถ มีสติปัญญา มีคุณธรรมสูงส่ง เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ทางการเมืองและบริหารประเทศ เพื่อป้องกันการตัดสินใจผิดพลาดของความเป็นมนุษย์ ระบอบการปกครองนี้จะมีลักษณะคล้ายกับการปกครองแบบเผด็จการ แต่เป็นการปกครองแบบเผด็จการโดยกลุ่มคน หรือ คณะบุคคล ซึ่งการออกคำสั่งหรือกระทำการทางการเมืองสามารถทำได้รวดเร็วโดยการตัดสินใจของกลุ่มผู้นำที่มีอำนาจในการปกครองประเทศ การปกครองแบบคณาธิปไตยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สุขของพรรคพวก ของตัวเองเป็นสำคัญ[4]

ประเทศที่ปกครองแบบคณาธิปไตย แก้

ในปัจจุบันยังมีบางประเทศที่มีลักษณะการปกครองแบบคณาธิปไตย เช่น ประเทศเอลซัลวาดอร์ ประเทศกัวเตมาลา ประเทศโคลัมเบีย ประเทศฮอนดูรัส ที่การตัดสินใจนโยบายของรัฐบาลขึ้นอยู่กับผู้มีอิทธิพลไม่กี่กลุ่ม โดยไม่ฟังความเห็น หรือข้อโต้แย้งจากประชาชนหรือบุคคลอื่น นอกจากคณะหรือ กลุ่มบุคคลของตนเอง
[5]

ข้อดีของระบบการปกครองแบบคณาธิปไตย แก้

  1. สามารถแก้ไขวิกฤตการณ์หรือภาวะฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว
  2. ยกย่องผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูงเพื่อช่วยปรับปรุงประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
  3. ช่วยให้การปกครองประเทศชาติ มีประสิทธิภาพ และสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว
  4. สร้างความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม[6]


ข้อเสียของระบบการปกครองแบบคณาธิปไตย แก้

  1. สกัดกั้นมิให้ผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามามีบทบาท หรือ ส่วนร่วมในการสร้างความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
  2. ผู้ปกครองและพรรคพวกอาจใช้อำนาจเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์
  3. ก่อให้เกิดการต่อต้าน ประเทศชาติขาดความสงบสุข
  4. ทำให้เศรษฐกิจและสังคมถดถอย อันเนื่องมาจากการผูกขาดอำนาจและผลประโยชน์ของชนชั้นผู้นำและพวกพ้อง[7]

หลักการของระบอบการปกครองแบบคณาธิปไตย แก้

  1. คณะผู้นำ หรือพรรคการเมืองเพียงกลุ่มเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครองและสามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องฟังเสียงของคนส่วนใหญ่ในประเทศ
  2. การรักษาความมั่นคงของคณะผู้นำสำคัญมากกว่าการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และประชาชนไม่สามารถจะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของคณะผู้นำอย่างเปิดเผยได้
  3. รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนในระบอบประชาธิปไตย

กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นเพียงแค่ รากฐานอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น

การปกครองแบบคณาธิปไตยในอดีตของประเทศไทย แก้

การปกครองโดยกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีอำนาจการปกครองประเทศอย่างแท้จริง มีจุดเริ่มต้นจากการทำรัฐประหารโดยคณะรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นยุคที่ทหารและกองทัพ มีบทบาทในการปกครองประเทศโดยการยึดอำนาจทำรัฐประหาร การรัฐประหาร ปี พ.ศ. 2490 เกิดขึ้นสามปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง มีนัยสำคัญสองประการ ก็คือ นัยที่เป็นสัญลักษณ์และความเป็นจริง เป็นสัญลักษณ์ เพราะว่ามีส่วนเสริมข้อถกเถียงที่ว่าทหารมีบทบาทสำคัญทางด้านการเมืองและขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศ ด้านความจริงก็คือนับจากนั้นไปฝ่ายเสรีนิยมต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ดังนั้นการถ่วงดุลระหว่างฝ่ายผู้นำเสรีนิยมกับฝ่ายทหารจึงสลายไปตั้งแต่ พ.ศ. 2490 ประเทศไทยก็ได้แปรสถานภาพทางการเมืองโดยมีทหารปกครอง
รัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐประหารในครั้งนั้นส่งผลให้ จอมพล ป.พิบูลสงคราม กลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกในเวลาต่อมา แต่การรัฐประหารของประเทศไทยนั้นจะต้องทำให้การยึดอำนาจสมเหตุสมผล และต่อมา นายควง อภัยวง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะราษฎร ได้รับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแต่ก็ดำรงตำแหน่ง ไม่ครบ 6 เดือน นับจากเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นเวลาเกือบ 10 ปี
[8]

การปกครองประเทศไทยยุคจอมพล ป พิบูลสงคราม แก้

จอมพล ป พิบูลสงคราม หรือ ชื่อเดิม แปลก เกิดวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 เป็นนายกคนที่ 3 ของประเทศไทย ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของประเทศไทย คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย ท่านได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตีเมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ต่อจากพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา โดยการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ ชื่อเรียก “ประเทศไทยในปัจจุบัน” ท่านก็เป็นคนเปลี่ยนจากเดิมที่เรียกกันว่า “ประเทศสยาม’’ และยังเป็นผู้ที่เปลี่ยน “เพลงชาติไทย” ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันอีกด้วย[9]

จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีนโยบายในการสร้างชาติ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลัทธิชาตินิยม เช่น ออกกฎหมายคุ้มครอง อุตสาหกรรมภายในประเทศ มีการสงวนอาชีพบางอย่างไว้เฉพาะคนไทย และปลูกฝัง ให้ประชาชนนิยมใช้สินค้าไทย ด้วยคำขวัญว่า "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ" รัฐบาลของจอมพล ป พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องกับการการเปลี่ยนแปลง การปกครอง และให้ เกิดความทันสมัย เช่น ประกาศให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง เลิกสวมเสื้อราชปะแตน และให้นุ่งกางเกงขายาวแทน การสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมใหม่ ของจอมพล ป พิบูลสงคราม โดยการจัดตั้ง สภาวัฒนธรรมขึ้น เพื่อจัดระเบียบวิถีชีวิตของคนไทย โดยประกาศรัฐนิยมฉบับต่างๆ เช่น ไม่สงเสริมศิลปะและดนตรีไทยเดิมแต่ส่งเสริมดนตรีสากล สั่งห้ามประชาชนกินหมากเด็ดขาด ให้สวมหมวกสวม รองเท้า มีคำส่งให้ข้าราชการกล่าวคำว่า “สวัสดี” ในโอกาสที่แรกพบกัน เป็นต้นในสมัยนั้นรัฐบาลเอาจริงในเรื่องของการแต่งกายเป็นอย่างมาก เช่น สำหรับผู้ชายให้ยกเลิกการนุ่งโจงกระเบน แล้วให้หันมา ใส่กางเกงแทน และยังต้องการให้ชื่อของคนไทยระบุให้แน่ชัดว่าเป็น หญิงหรือชาย ซึ่งก็เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลเช่นกัน [10]

ผลงานทางด้านการเมืองของรัฐบาลจอมพล ป พิบูลสงคราม สร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จัดตั้งหน่วยยุวชนทหารและให้มีทหารหญิง การมีละครและเพลงปลุกใจทั้งหลาย เช่นเพลงตื่นเถิดชาวไทย หรือต้นตระกูลไทย ที่หลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้แต่ง และท่านยังได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาวิชาการแก่ประชาชน เช่น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุยัน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น [11]

อ้างอิง แก้

  1. https://sites.google.com/site/primarypoliticalscience/bth-thi3rup-baeb-kar
  2. chawana9988 (10 สิงหาคม 2553). "รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด". สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2560
  3. suputtra phonwat (19 กันยายน 2554) "ความหมายของการเมืองการปกครอง". สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2560
  4. ชาญชัย (6 กรกฎาคม 2556). "รูปแบบการปกครอง". สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2560
  5. ชาญชัย (6 กรกฎาคม 2556). "รูปแบบการปกครอง". สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2560
  6. wordpress.com (ุ6 พฤศจิกายน 2554). "ข้อดีข้อเสีย ของการปกครองแต่ละรูปแบบ". สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560
  7. wordpress.com (ุ6 พฤศจิกายน 2554). "ข้อดีข้อเสีย ของการปกครองแต่ละรูปแบบ". สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560
  8. บ้านจอมยุทธ (สิงหาคม 2543 ). "ประวัติการเมืองการปกครองไทย". สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560
  9. No-face (30 เมษายน 2557). "จอมพล ป. พิบูลสงคราม: ย้อนอดีตยุคเผด็จการครองเมือง". เรื่องราวมากมายบนโลกใบกลมๆ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560
  10. No-face (30 เมษายน 2557). "จอมพล ป. พิบูลสงคราม: ย้อนอดีตยุคเผด็จการครองเมือง". เรื่องราวมากมายบนโลกใบกลมๆ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560
  11. ชนิดา จรรโลงศิริชัย "แปลก พิบูลสงคราม" สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560