ผู้ใช้:RapeeTapta/กระบะทราย
สหราชอาณาจักร หรือในบางครั้งเรียกว่า สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (United Kingdom of Great Britain) ประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ (England) ประเทศเวลส์ (Walve) ประเทศสก็อตแลนด์ (Scotland) และประเทศไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) มีประขากรรวมกันในปี ค.ศ. 2016 ประมาณ 60 ล้านคน
การปกครองท้องถิ่นในสก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือแตกต่างจากอังกฤษและเวลส์ สหราชอาณาจักรปกครองในระบอบกษัตริย์ที่มีรัฐธรรมนูญ ซึ่งอำนาจรัฐมีศูนย์กลางอยู่ที่รัฐสภา รัฐสภาสหราชอาณาจักรเป็นระบบสองสภา แต่ความเป็นจริงอำนาจหลักอยู่ที่สภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) ซึ่งเลือกมาจากเขตต่างๆ ทั่วประเทศ แต่ละเขตมีตัวแทนคนเดียวโดยหลักแล้ว สภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของท้องถิ่น แต่สภาก็มีอำนาจสูงสุด เหตุผลเพราะสหราชอาณาจักรมีพื้นฐานกำเนิดจากการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางของกษัตริย์ ดังนั้นรากฐานทางกฎหมายและการเมืองของสหราขอาณาจักรจึงไม่เอื้ออำนวยต่อการปกครองท้องถิ่นมากนัก ส่วนทางด้านการปกครอง มีคณะรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าและเป็นหน่วยหลักในการตัดสินใจ แต่ก็เป็นเพียงในนาม ความเป็นจริงในทางปฏิบัติคณะรัฐมนตรีไม่ได้ตัดสินใจประเด็นนโยบายทุกประเด็น บทบาทที่มีเป็นเพียงส่วนเล็กๆ
การปกครองท้องถิ่นในสหราชอาณาจักรเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติของรัฐสภา โครงสร้าง หน้าที่ งบประมาณและกระบวนการต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกกำหนดโดยกฎหมาย ท้องถิ่นดำเนินการได้เฉพาะเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น หากท้องถิ่นดำเนินการนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด อาจถูกฟ้องร้องต่อศาลด้วยข้อหากระทำการนอกเหนืออำนาจได้ พระราชบัญญัติของรัฐสภาวางกรอบไว้กว้างๆ เพื่อกำกับโครงสร้าง หน้าที่ และขั้นตอนของการดำเนินการของท้องถิ่นเพื่อให้ท้องถิ่นสะดวกต่อการเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 เป็นต้นมา แม้กฎหมายไม่ได้ระบุไว้ แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ทำหน้าที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ การปกครองท้องถิ่นของสหราชอาณาจักรแบ่งออกเป็นเขตได้ 5 เขตดังต่อไปนี้
เขตลอนดอนมีหน่วยการปกครองที่ใหญ่ที่สุด คือ นครลอนดอนและปริมณฑล (Greater London) ซึ่งแบ่งออกเป็น ลอนดอนใน (Inner London) และลอนดอนนอก (Outer London) สำหรับลอนดอนในแบ่งออกเป็นมหานครลอนดอน (City of London) และโบร (Borough) แห่งลอนดอนส่วนลอนดอนนอกแบ่งออกเป็นโบรเพียงอย่างเดียว
เขตลอนดอนแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นออกเป็น 2 ประเภทคือ โบรกับมหานครลอนดอน โบรของลอนดอนเป็นการปกครองระดับเดียว รับผิดชอบการปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในเขตของตน โบรของลอนดอนปกครองโดยสภาโบรของลอนดอน (London Borough Councils) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทุกๆ 4 ปี รับผิดชอบให้บริการในพื้นที่ เช่น โรงเรียน เก็บขยะและบำรุงถนน บริการสังคม เป็นต้น
2. อังกฤษนอกจากลอนดอน
แก้สำหรับอังกฤษนอกจากลอนดอนแบ่งออกเป็น 2 เขต คือ เขตมหานคร (metropolitan areas) กับเขตที่ไม่ใช่มหานคร (non-metropolitan areas) ซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้
2.1 เขตมหานคร (Metropolitan area)
แก้สำหรับเขตมหานครแบ่งเป็น 6 เคาน์ตี (Country) แต่ละ เคาน์ตีในเขตมหานครแบ่งออกเป็นดิสตริก (District) มีทั้งหมด 36 ดิสตริก
2.2 เขตที่ไม่ใช่มหานคร (non-metropolitan areas)
แก้แบ่งออกเป็น 27 เคาน์ตี 201 ดิสตริก ในเขตที่ไม่ใช่มหานครมีโครงสร้างต่างจากเขตมหานครที่แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ระดับ คือ เคาน์ตีและดิสตริก ซึ่งทั้งสองมีสภาที่มาจากการเลือกตั้งทุกๆ 4 ปี แต่ว่าการปกครองระดับเคาน์ตีนั้นสูงกว่าระดับดิสตริก แต่ในขณะเดียวกันดิสตริกก็ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของเคาน์ตี ทั้งสองเคาน์ตีและดิสตริก ต่างแบ่งหน้าที่กัน เคาน์ตีจะรับผิดชอบการบริการที่กว้างและใช้งบมากกว่า เช่น การศึกษา บริการสังคม รักษาความสะอาดถนน เป็นต้น ส่วนดิสตริกจะรับผิดชอบในการบริการที่เล็กกว่า เช่น การควบคุมการก่อสร้าง สิ่งแวดล้อม ตลาด เป็นต้น
เขตเวล์แบ่งการปกครองออกเป็น เคาน์ตี โบร และเมือง หรือ เมืองและเคาน์ตี ซึ่งมีทั้งหมด 22 เขตรวมเป็นประเทศ มีการปกครองคล้ายกับเขตที่ไม่ใช่มหานครของอังกฤษ แต่ต่างจากที่เวลส์มีสภาท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง ทำหน้าที่คล้ายๆ เปอะรีช ของอังกฤษ ส่วนใหญ่ทำงานประเภท ดูแลห้องสมุด สวนสาธารณะ เก็บขยะ เป็นต้น
2.4 สก็อตแลนด์ (Scotland)
แก้การปกครองท้องถิ่นของสก็อตแลนด์เกิดขึ้นจาก “พระราชบัญญัติการปกครองท้องถิ่น สก็อตแลนด์ ค.ศ. 1994” ส่งผลให้สก็อตแลนด์มีสภาเอกรูป (Unitary authority) ทั้งหมด 32 แห่ง โดยมีรูปแบบเป็นสภาซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งทุกๆ 5 ปี ซึ่งสภาเอกรูปจะได้รับงบประมาณจากรัฐบาลสกอตติช ผ่านการรวมเงินทุนภายนอก (AEF) ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ การสนับสนุนรายได้ อัตราค่าบริการนอกประเทศ และรายได้และเงินช่วยเหลือที่เฉพาะเจาะจง
ไอร์แลนด์เหนือแบ่งออกเป็น 11 ดิสตริก ในไอร์แลนด์สภาท้องถิ่นไม่ได้ทำหน้าที่เหมือนสภาท้องถิ่นของลอนดอน ตัวอย่างเช่น สภาท้องถิ่นไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องการศึกษาหรือการสร้างถนน สภาท้องถิ่นของไอร์แลนด์มีหน้าที่แค่เก็บขยะหรือกำจัดขยะมูลฝอย, ควบคุมการสร้างอาคารและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น
ระดับการปกครองส่วนท้องถิ่นของอังกฤษ
แก้ภาคของอังกฤษเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 ซึ่งมีทั้งหมด 9 ภาค[3] คือ
1.1 นครลอนดอนและปริมณฑล (Greater London)
1.2 ภาคตะวันออก (East of England)
1.3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (North East England)
1.4 ภาคตะวันออกเฉียงใต้ (South East England)
1.5 ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (North West England)
1.6 ภาคตะวันตกเฉียงใต้ (South West England)
1.7 ภาคมิดแลนด์ตะวันออก (East Midlands)
1.8 ภาคมิดแลนส์ตะวันตก (West Midlands)
1.9 ภาคยอร์กเชอร์และแม่น้ำฮัมเบอร์ (Yorkshire and the Humber)
แต่ละภาคเป็นเขตการเลือกตั้งและเขตการปกครองของรัฐบาล แต่อำนาจปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นขององค์การส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เคาน์ตี ดิสตริก และเปอะรีช (Parish) ยกเว้นมหานครลอนดอนที่มีฐานะเป็นองค์การส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
นอกจากนครลอนดอนและปริมณฑล (Greater London) และหมู่เกาะซิลลีย์ (Isles of scilly) อังกฤษแบ่งเคาน์ตีออกเป็น 83 เคาน์ตี[4] แบ่งออกเป็นเคาน์ตีของมหานคร 6 เคาน์ตี และเคาน์ตีที่ไม่ใช่เขตนครหลวงอีก 77 เคาน์ตี ซึ่งหนึ่งเคาน์ตีสามารถแบ่งออกเป็นดิสตริกเดียวหรือหลายดิสตริกก็ได้ และเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552 เคาน์ตีก็ได้ตั้งสภาเคาน์ตีขึ้นมา
ดิสตริกของประเทศอังกฤษ มีทั้งหมด 326 ดิสตริก[5] แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1.โบรของมหานคร (Metropolitan Borough) 36 ดิสตริก 2.โบรของลอนดอน (London Borough) 32 ดิสตริก 3.ดิสตริกที่ไม่ใช่ของมหานคร (Non-metropolitan District) 201 ดิสตริก และ 4.หน่วยงานเอกเทศ (Unitary Authority) 55 ดิสตริก และนครลอนดอนและปริมณฑล กับหมู่เกาะซิลลีย์ ลักษณะสำคัญของดิสตริกที่ 4 ประเภท มีดังนี้[6][7]
1. โบรของมหานคร แต่ก่อนเป็นหน่วยงานย่อยของสภาเคาน์ตี แต่เมื่อสภาเคาน์ตีถูกยุบไปเมื่อ ค.ศ. 1986 โบรของมหานครจึงมีฐานะคล้ายกับหน่วยงานเอกเทศ เพราะอำนาจส่วนใหญ่ของสภาเคาน์ตีถูกโอนมาให้โบรของมหานคร
2. โบรของลอนดอน โบรของลอนดอนเป็นการปกครองส่วนย่อยของเขตปกครองนครลอนดอนและปริมณฑล ในปี ค.ศ. 1986 ได้มีการยกเลิกสภานครลอนดอนและปริมณฑลไปทำให้โบรของลอนดอนมีสถานะคล้ายกับหน่วยงานเอกเทศ แต่ในปี ค.ศ. 2000 ได้มีการตั้งหน่วยงานนครลอนดอนและปริมณฑลขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้อำนาจและความรับผิดชอบของโบรเปลี่ยนอีกรอบ
3. ดิสตริกที่ไม่ใช่ของมหานคร เป็นการปกครองที่มีโครงสร้าง 2 ระดับ คือ เคาน์ตีกับดิสตริก มีการแบ่งอำนาจกันระหว่างสภาเคาน์ตีกับสภาดิสตริก โดยสภาเคาน์ตีมีหน้าที่รับผิดชอบมากกว่าสภาดิสตริก
4. หน่วยงานเอกเทศ เป็นโครงสร้างการปกครองระดับเดียว รับผิดชอบการบริการท้องถิ่นทั้งหมดที่อยู่ในเขตพื้นที่ ทำหน้าที่เป็นทั้งเคาน์ตีและดิสตริก ปกติจะครอบคลุมเมืองขนาดใหญ่ที่คิดว่าจะบริหารให้มีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพกว่าโครงสร้างการปกครอง 2 ระดับ แบบโบรของลอนดอน และดิสตริกที่ไม่ใช่ของมหานคร
เปอะรีช[8] เป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เล็กที่สุดของประเทศอังกฤษ อยู่ภายใต้สภาดิสตริกและสภาเคาน์ตี หรืออยู่ภายใต้หน่วยงานเอกเทศ เป็นโครงสร้างระดับเดียว เป็นหน่วยงานที่มาจากการเลือกตั้งและมีอำนาจขึ้นภาษีได้ สภาเปอะรีช รู้จักกันในชื่อ “เปอะรีชพลเมือง” (Civil parish) เปอะรีชพลเมืองสามารถมีขนาดตั้งแต่เมืองใหญ่ที่มีประชากรราว 80,000 คน หรือจะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีประชากรเพียง 100 คนก็ได้ หรือในบางกรณีเปอะรีชสามารถเป็นเมืองที่ได้รับสถานะความเป็นเมืองจากพระมหากษัตริย์ก็ได้ จะเห็นได้ว่า เปอะรีชพลเมืองอาจจะเป็น เมือง หมู่บ้าน เนเบอร์ฮูด (neighbourhood) หรือ ชุมชน โดยมติของสภาเปอะรีช (parish council) เปอะรีชมีอยู่ในพื้นที่ประมาณร้อยละ 35 ของประชากรชาวอังกฤษ และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2015 มีเปอะรีชทั้งหมด 10,449 แห่งในประเทศอังกฤษ
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางและท้องถิ่นของสหราชอาณาจักร
แก้การปกครองส่วนท้องถิ่นของสหราชอาณาจักรมีหัวใจสำคัญคือความเป็นอิสระของการบริหารและการกำหนดนโยบาย ความคิดที่ต่อสู้กันมาตลอด 2 ความคิด คือ ท้องถิ่นนิยม (Localist) กับส่วนกลางนิยม (Centralist) แนวคิดที่นิยมท้องถิ่นเดิมปรากฏในพระราชบัญญัติบรรษัทเทศบาล (Municipal Corporations Act 1835) ปี ค.ศ. 1835 ซึ่งให้อิสระอย่างมากแก่โบร ส่วนแนวคิดที่นิยมส่วนกลาง เดิมปรากฏอยู่ในการปฏิรูปกฎหมายแก้ปัญหาความยากจน (Poor Law Reform Act) ซึ่งได้ตั้งองค์การแก้ไขปัญหาความยากจน โดยรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง เช่น การสร้างบ้านให้คนจนอยู่ทั่วประเทศ การถกเถียงกันระหว่างแนวคิดสองแนวคิดนี้ได้ดำเนินมาตลอด แต่ในทางปฏิบัติรัฐบาลกลางจะเพิ่มอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น
การปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้เป็นหน่วยงานที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่เกิดขึ้นโดยพระราชบัญญัติของรัฐสภา การกำหนดนโยบายส่วนใหญ่ถูกกำหนดจากรัฐบาลกลาง องค์การส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ซาบซึ้งที่ได้รับทรัพยากรจากรัฐบาลกลาง จึงรู้สึกสัมพันธ์กับรัฐบาลกลาง ดังนั้นเมื่อรัฐบาลกลางสามารถควบคุมองค์การส่วนท้องถิ่นได้ตามที่ปรารถนา ดังเห็นได้จากรัฐบาลได้ยุบสภาเคาน์ตีของมหานคร และสภานครลอนดอน เมื่อปี ค.ศ. 1985 หลังจากที่ขัดแย้งกับรัฐบาลกลางมานานประเด็นสำคัญคือเรื่งการเงินเป็นส่วนใหญ่
ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นจึงเป็นประเด็นสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่นของสหราชอาณาจักรในวันนี้ อย่างไรก็ตามองค์การส่วนท้องถิ่นในสหราชอาณาจักรก็พยามยามสร้างความอำนาจต่อรองกับรัฐบาลกลาง โดยการรวมตัวกันเป็นสมาคม สมาคมนี้เป็นตัวแทนที่คอยเสนอปัญหาของสมาชิกให้รัฐบาลทราบ เช่น เสนอการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญที่จะนำเข้าสู่สภา
- ↑ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. ไม่ปรากฏปีพี่พิมพ์. ประเทศสหราชอาณาจักร. สืบค้นจาก http://www.local.moi.go.th/document%204.pdf. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560
- ↑ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (2016). List of local governments in the United Kingdom. สืบค้นจาก https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_local_governments_in_the_United_Kingdom. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560
- ↑ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (2017). Regions of England. สืบค้นจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Regions_of_England. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560.
- ↑ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (2017). Counties of England. สืบค้นจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Counties_of_England. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560
- ↑ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (2016). สืบค้นจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Districts_of_England. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560
- ↑ เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2555). แนวคิดและทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น. 70 ถนนราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 : บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด
- ↑ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (2016). สืบค้นจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Districts_of_England. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560
- ↑ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (2017). Civil parish. สืบค้นจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Civil_parish. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560