ผู้ใช้:Ppennapa Pairam/กระบะทราย

ทฤษฏีดักลาส แมคเกรเกอร์ (Douglas McGregor)

ความเป็นมาและความสำคัญ แก้

( The maid Tools Editorial Team, 2560 ) มีการกล่าวว่าในทศวรรษที่ 1960 Douglas McGregor นักจิตวิทยา ชาวอเริกัน ได้มีการพัฒนาทฤษฏีที่มีความตรงกันข้ามขึ้นมา 2 เรื่อง ซึ่งทั้ง 2 เรื่องได้มีการอธิบายถึงความเชื่อของผู้บริหารเกี่ยวกับสิ่งที่สามารถกระตุ้นให้คนของพวกเขา มีผลต่อรูปแบบการบริหารจัดการ ซึ่ง 2 เรื่องที่ว่า คือ ทฤษฏีเอ็กซ์ (Theory X ) และทฤษฏีวาย (Theory Y) และทฤษฏีทั้งสองยังคงมีความสำคัญจวบจนถึงปัจจุบัน (วีรสิทธิ ชินวัตร ,2555) Douglas McGregor ผู้คิดค้นทฤษฎี X และทฤษฎี Y ได้ศึกษาวิธีการที่ผู้บริหารมองตัวเองสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทัศนะนี้ต้องการความคิดในการรับรู้ธรรมชาติของมนุษย์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดการทัศนะทางสังคม และศึกษาถึงแนวทางในการบริหารบุคคลภายในองค์กร โดยเสนอเรื่องการจูงใจ แมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y การบริหารงามตามแบบทฤษฏี ซึ่งมีอยู่ 2 ทฤษฏี คือ

การบริหารงานตามแบบทฤษฎีเอ็กซ์ (Theory X) แก้

ดังที่ (Douglas McGregor) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Human Ride Of Enterprise เป็นทฤษฏีการจัดการแบบเผด็จการหรือเรียกว่าการจัดการที่ยาก มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นการทำงานที่ไม่ค่อยมีแรงจูงใจ และพวกเขามักปฏิเสธการทำงาน แต่เป็นทฤษฎีการบริหารจัดการที่เน้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการบริหารงานตามทฤษฏีนี้เป็นการบริหารข้าราชการ สมมติฐาน X โดยเฉลี่ยของมนุษย์แล้วไม่ชอบและเกลียดการทำงานและชอบหลีกเลี่ยงการทำงาน - พวกเขาเหล่านั้นไม่ชอบการทำงาน ซึ่งในการทำงานส่วนใหญ่ต้องมีการดูแลควบคุมเพื่อให้เกิดการทำงานที่ดี - โดยเฉลี่ยแล้วมนุษย์ชอบถูกการกำกับดูแลต้องการความปลอดภัยแต่ไม่ชอบการรับผิดชอบ - ในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่ เกิดการลำบากในการจัดการการทำงานการลงโทษจะมีทั้งอ่อนโยนและควบคุมรัดกุมเพื่อให้การทำงานเกิดความประสบความสำเร็จ - ทฤษฎี X จะมีการจัดการที่จะไม่ให้โอกาสแก่พนักงานเพื่อการแก่ตัว แบบการสมัครงานตามแบบของทฤษฏี X ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ หรือเรียกง่ายๆว่าไม่เป็นที่นิยม แต่บางองค์กรหรือบางสถานที่ก็ยังคงใช้ตามแบบ ทฤษฏี X <ref> http://group.wunjun.com/valrom2012/topic/363210-11262>

การบริหารงานตามแบบทฤษฎีวาย (Theory Y) แก้

ดังที่ (Douglas McGregor) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Human Ride Of Enterprise เป็นทฤษฎีที่เน้นการบริหารจัดการที่มีส่วนร่วมของบุคคลภายในองค์กร แสดงความเป็นพุธธะมากว่าทฤษฏี X เพราะพวกเขาจะภาคภูมิใจในการทำงาน ซึ่งผู้จัดการจะนิยมใช้ ทฤษฎีวาย (Theory Y) ในการบริหารจัดการในการทำงานเพราะเห็นว่าผลงานที่ออกมานั้นจะมีประสิทธิภาพ

สมมติฐาน Y - การควบคุมการลงโทษคนทำงานไม่ใช้วิธีการเดียวที่จะทำให้คนเหล่านั้นมุ่งมั่นและประสบผลสำเร็จ - การแสดงให้เห็นว่ามุ่งพัฒนาองค์กรถือเป็นสิ่งที่น่าพึ่งพอใจสำหรับการทำงาน - โดยเฉลี่ยของมนุษย์เรานั้น จะต้องเรียนรู้และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ไม่ใช้เรียนรู้เพียงภายในกรอบที่ถูกกำหนดขึ้น - ในการทำงานหากมีไหวพริบ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่เป็นเลิศจะช่วยในการแก้ไขการทำงานที่ดีเยี่ยมมากยิ่งขึ้น - เทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉลี่ยแล้วจะถูกใช้กับการทำงานเป็นบางส่วนเท่านั้น ซึ่งทฤษฎีทั้งสองของ Douglas McGregor เห็นได้ว่าเป็นทฤษฎีที่ค่อนข้างมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน แบบการสมัครงานตามแบบทฤษฏี Y ที่ได้รับการยอมรับและความนิยมกันอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่แค่แบบการสมัครงานที่ได้รับการยอมรับ แต่ยังรวมถึงหลักการต่างๆ ของทฤษฏี Y ที่องค์กรหรือสถานที่ต่างๆต่างให้การยอมรับเป็นอย่างมาก ทฤษฏี Y เหมาะสำหรับการทำงานในองค์กรหรือการบริการต่างๆที่ได้รับการอนุญาตประกอบการ แท้แต่การทำงานที่ใช้ความรู้ชั้นสูง ก็คงเหมาะกับการทำงานตามแบบของทฤษฏี Y

การใช้ทฤษฎี X Y ในการบริหารงาน แก้

         ( ผกาวดี สวัสดี , 2554 ) ซึ่งทฤษฏีการบิหารจัดการทั้ง 2 ทฤษฏีของ (Douglas McGregor) มีการบริหารจัดการคน 2 ประเภทนี้จำเป็นต้องใช้วิธีการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าลูกน้องเป็นคนที่มีลักษณะตามแบบทฤษฏีเอ็กซ์มากกว่าตามแบบทฤษฏีวาย ต้องมีการดูแลควบคุมอย่างใกล้ชิด ( Closed Control ) แต่ถ้าลูกน้องเป็นคนที่มีลักษณะตามแบบทฤษฏีวายมากกว่าตามแบบทฤษฏีเอ็กซ์ ต้องให้มีอิสระในการควบคุมดูแลตนเองและให้มีส่วนร่วมในการทำงาน ( Participation ) 

( The maid Tools Editorial Team, 2560 ) แม้ว่าข้อสันนิษฐานของ (Douglas McGregor) มีความเกียวกับสิ่งที่กระตุ้นให้คนในองค์กรของท่านมีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบมากที่สุด ซึ่งคุณสามารถเลือกทฤษฏีทั้ง 2 มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการองค์กร แต่ต้องคำนึงถึง 3 สิ่งใหญ่ๆ ดังนี้ 1. โครงสร้างองค์กรของท่าน 2. ประเภทของงานที่คนในองค์กรทำ 3. ระดับทักษะในการทำงาน

ทฤษฎีการบริหารงานตามแบบทฤษฎีแซด (Theory Z) แก้

รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก ได้กล่าวไว้ว่า “การศึกษาทฤษฎีจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการควบคุมกำกับพฤติกรรมของมนุษย์ การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และภาวะผู้นำ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้บริหาร” ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก ได้นำเสนอการบริหารแบบทฤษฎีแซด (Theory Z) ทฤษฏีแซด (Theory Z) เป็นทฤษฎีที่ถูกคิดค้นโดยคุณวิลเลียม โอชิ (William Ouchi) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ผสมผสานระหว่างญี่ปุ่นและอเมริกัน ซึ่งเป็นการบริหารแบบความคิดนอกกรอบ <ref> https://www.gotoknow.org/posts/99135> ซึ่งถือได้ว่าเป็นทฤษฎีร่วมสมัย ใช้ในการจัดการเชิงสถานการณ์ (Contingency Theory Of Management) ที่มุ่งเน้นการปรับปรุงพฤติกรรม การจัดการตามสถานการณ์เฉพาะอย่างขององค์กร ซึ่งแนวคิดกรจัดการนี้จะประกอบด้วยเทคโนโลยีสภาพแวดล้อมภายนอก และบุคคลขององค์กร (สุภาวดี ธีระกร ,2553) <ref> http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Man/Supawadee_T.pdf> ( Smritri Chand ) ทั้งนี้ทฤษฎี Z จะสื่อถึงองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบขนาดใหญ่ 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ความไว้วางใจ ความละเอียดอ่อน และความสนิทสนม สมมติฐานทฤษฎี Z หรือทฤษฏีการจัดการเชิงลึกของ William G. Ouchi เป็นทฤษฏีที่สามารถให้คำปรึกษาแก่คนอื่นๆได้และคนที่จะให้คำปรึกษาต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ สามารถแนะนำเพื่อเพิ่มพูนประโยชน์ ซึ่งทำให้การจัดการในรูปแบบของทฤษฏี Z มีการจัดการที่ง่ายมากยิ่งขึ้น ( JEANNE DININNI, 2560 ) และการเข้าใจคนอื่นต้องอาศัยการไตร่ตรอง .. การทำให้คนอื่นเข้าใจ ต้องอาศัยความกล้าหาญ ( กรมสุขภาพจิต, 2546 ) - ความไว้วางใจถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ - การว่าจ้างในระยะยาว ถือเป็นการสร้างความผูกพันระหว่างองค์กรกับพนักงาน เพื่อให้พนักงานเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร - การมีส่วนร่วมของพนักงานถือเป็นการสร้างความมุ่งมั่นของพนักงานเพื่อเสริมสร้างความกระตือรือร้นแก่พนักงาน - มีความร่วมมือของพนักงาน และมีระบบการจัดการภายในเพื่อควบคุมการทำงาน - เน้นการพึ่งพาซึ่งกันและกันของพนักงาน ในส่วนของการบริหารงานส่วนใหญ่ผู้บริหารมักจะใช้ ทฤษฎีเอ็กซ์และทฤษฎีวายร่วมกันเพราะในการบริหารส่วนใหญ่มักมีความสำเร็จและเป้าหมายในการทำงานดียวกัน แต่การที่เลือกใช้ทฤษฎีต่างๆนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความสำเร็จและการบริหารจัดการภายในองค์กรนั้นๆ สำหรับการทำงานใหม่ อาจจะใช้ทฤษฎีเอ็กซ์ เพื่อบริหารจัดการให้งานต่างๆที่รับผิดชอบเกิดผลกระทบน้อยที่สุด แต่การบริหารจัดการตามแบบทฤษฎีเอ็กซ์นั้นมักจะมีความกดดันและการปฏิบัติที่เคร่งครัดเป็นอย่างมาก

ความแตกต่างระหว่าง ทฤษฏีเอ็กซ์ ทฤษฏีวาย และทฤษฏีแซด แก้

( The maid Tools Editorial Team, 2560 ) กล่าวไว้ว่า เป็นธรรมชาติที่มีการเปรียบเทียบทฤษฎีแซด ของ William G. Ouchi เพื่อมาเปรียบเทียบกับทฤษฏีเอ็กซ์และทฤษฏีวายของ (Douglas McGregor) ดังนี้ ทฤษฏีเอ็กซ์ กล่าวว่าในการทำงานพนักงานทุกคนไม่ชอบการทำงานอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งต้องใช้การล่อลวงเพื่อให้เกิดการทำงาน และการควบคุมการทงานต้องมีในทุกระดับการทำงาน ดังที่ว่า องค์กรที่ใช้การบริหารงานตามแบบทฤษฏีเอ็กซ์ มีความเกี่ยวกับระบบการทำงานราชการอย่างเห็นได้ชัด ทฤษฏีวาย กล่าวว่าทฤษฏีวายเป็นทฤษฏีการบริหารจัดการที่มีการนึกถึงมนุษยธรรมเป็นอย่างมาก ส่วนพนักงานเห็นว่าการทำงานเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวัน พวกเขามีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์อย่างมากในการแก้ไขปัญหา รับผิดชอบและทำงานอย่างดีที่สุดด้วยตัวของตนเอง ทฤษฏีแซด กล่าวว่าบางครั้งก็ถือว่าเป็นการบริหารจัดการที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างทฤษฏีเอ็กซ์ และทฤษฏีวาย แต่ทฤษฏีแซดจะมีความคลายคลึงกับทฤษฏีวายมากกว่า คือทฤษฏีแซดจะมีการสนับสนุนรูปแบบการจัดการและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมความมุ่งมั่นให้มีการจ้างงานระยะยาว และความมั่นคงในการทำงาน และการควบคุมที่ไม่ใช่การบังคับอย่างทฤษฏีเอ็กซ์ ซึงทฤษฏีแซดจะนึกถึงความสุขและความเป็นอยู่ของพนักงานอย่างดี

          ซึ่งการอ้างว่าทฤษฏีแซด( Theory Z) ไม่ได้อยู่กับการบริหารจัดการตามทฤษฏีเอ็กซ์( Theory X ) และทฤษฏีวาย(Theory Y) ก็มีความเป็นไปได้สูงเช่นเดียวกัน