ผู้ใช้:Nattayut.L/ทดลองเขียน
ฉวีวรรณ พันธุ | |
---|---|
ไฟล์:ฉวีวรรณ ดำเนิน.jpg ฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง หมอลำ | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | ฉวีวรรณ พันธุ |
เกิด | 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 |
ที่เกิด | จังหวัดอุบลราชธานี , ไทย |
แนวเพลง | หมอลำ |
อาชีพ | หมอลำ , นักประพันธ์กลอนลำ |
ศิลปินแห่งชาติ | สาขาศิลปะการแสดง |
ฉวีวรรณ พันธุ (เกิด 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2488) เป็นหมอลำชาวไทย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการขับร้องหมอลำ จนได้รับฉายา "ราชินีหมอลำ" คนแรกของประเทศไทย ต่อมา ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษที่วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นอาจารย์พิเศษที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น อีกทั้งยังได้รับเกียรติใด้ดำรงตำแหน่งกรรมการตัดสินการประกวดเกี่ยวกับการแสดงวัฒนธรรมของภาคอีสาน[1]
ฉวีรรณ พันธุ ได้รับการแต่งตั้งเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (หมอลำ) ในปี พ.ศ.2536
ประวัติ
แก้ฉวีวรรณ ดำเนิน หรือ ฉวีวรรณ พันธุ เกิดที่บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 6 ต.สร้างคอน้อย อ.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2488 ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของ นายชาลี ดำเนิน และ นางแก้ว ดำเนิน อาชีพทำนา ฉวีวรรณสมรสกับ นายโกมินทร์ พันธุ มีบุตรและธิดา 2 คน ฉวีวรรณจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองไหล ต.สร้างคอน้อย อ.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี และปริญญาเอก ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา นาฏยศิลป์ จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบัน ฉวีวรรณ อาศัยอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด [1]
ฉวีวรรณ มีความสามารถสูงทั้งด้านการแต่ง กลอนลำ การคิดท่วงทำนองหมอลำกลอน เขียนกลอนลำ ประดิษฐ์ท่าลำและบทร้องชุดแม่อีสาน ผลงานที่โดดเด่นที่สุด คือ การแสดงชุดดึงครกดึงสาก ประกอบกับเป็นบุคคลที่มีน้ำเสียงไพเราะ มีพลังทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเพชรน้ำหนึ่งของแดนอีสานและได้รับการกล่าวขานด้วยความชื่นชมจากประชาชน ว่าเป็น "ราชินีหมอลำ" ซึ่งเป็นราชินีหมอลำคนแรกของประเทศไทย[2] อีกทั้งยังเคยเป็นนางเอกหมอลำคณะรังสิมันต์ คู่กับ ทองคำ เพ็งดี คู่พระคู่นาง ที่โด่งดังมากในยุคประมาณปี พ.ศ.2508 - พ.ศ.2513 โดยเฉพาะเรื่อง สีทนมะโนราห์ โดยมีลูกศิษย์ เช่น บานเย็น รากแก่น และ อังคนางค์ คุณไชย ที่ได้รับการยกย่องเป็นราชินีหมอลำเช่นเดียวกัน
เกียรติประวัติ
แก้- โล่ชนะเลิศการประกวดหมอลำงานเจ้าพ่อพระยาแล จังหวัดชัยภูมิ (พ.ศ.2514)
- ชนะเลิศการประกวดหมอลำทุ่งศรีเมืองอุดรธานี (พ.ศ. 2522)
- เกียรติบัตรจากศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น กรุงโตเกียว ชุดรำแม่บทอีสาน 48 ท่า (พ.ศ.2527)
- โล่ศิลปินดีเด่นของภาคอีสานจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เปรม ติณสูลานนท์ (พ.ศ.2528)
- โล่เกียรติคุณตณะส่งเสริมประสานงานเยาวชนแห่งชาติ รางวัลดีเด่นในการผลิตสื่อมวลชชนดีเด่น เพื่อเยาวชนประเภทสื่อชาวบ้าน (พ.ศ.2529)
- โล่เกียรติคุณจากสาธารณสุข โครงการอีสานไม่กินปลาดิบ (พ.ศ.2532-2535)
- ถ้วยเกียรติยศการประกวดหมอลำ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน (พ.ศ.2533)
- เกียรติบัติจาก C.L.OF.F. งานมหกรรมวัฒนธรรมพื้นบ้านเอเซีย ครั้งที่ 3 ในประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ.2535)
- ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) เมื่อปี (พ.ศ.2536)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 ประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ ฉวีวรรณ ดำเนิน สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ.2564
- ↑ ฉวีวรรณ ดำเนิน ราชินีหมอลำ รายได้ 10 บาท/คืน สู่หลักหมื่น เบ้าหลอมบานเย็น รากแก่น สืบค้นเมื่อ 1 ธันว่าคม พ.ศ.2564