เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล
เกิด10 กันยายน พ.ศ. 2539 (27 ปี)
มีชื่อเสียงจากนักกิจกรรมเสรีภาพในโรงเรียน และการปฎิรูปการศึกษา

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล (เกิด 10 กันยายน 2539; ชื่อเล่น แฟรงก์) เป็นนักกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา ผู้ประพันธ์และผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม เขาก่อตั้งสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทยและกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท[1] ซึ่งทั้งสองกลุ่มมุ่งปฏิรูปการศึกษาไทย การเคลื่อนไหวช่วงแรก ๆ ของเขาเป็นการมุ่งเน้นเรื่องทรงนักเรียน ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษา รวมถึงวิจารณ์พิธีกรรมหน้าเสาธงในโรงเรียน และการยกเลิกเกณท์ทหาร [2] คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเคยเสนอ "รางวลัสิทธิมนุษยชน" ประเภทเด็กและเยาวชนจากบทบาทการรณรงค์เคลื่อนไหวเรื่องสิทธิ์มนุษยชนในโรงเรียนให้เขา แต่เขาปฏิเสธ[3] [4]

ปัจจุบันกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขายังเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดสันติประชาธรรม[5]

ประวัติ แก้

เนติวิทย์เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2539 เขาเป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัวเจ้าของร้านขายของชำ[5] เกิดและเติบโตในจังหวัดสมุทรปราการ ศึกษาจบในระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เขาเป็นผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรมตั้งแต่อายุ 18 ปี[6]

เขาได้รับความสนใจระดับชาติในเดือนมกราคม 2556 หลังออกรายการโทรทัศน์ช่วงไพรม์ไทม์ ในด้านการศึกษา เขาเสนอให้ลดชั่วโมงเรียนและการบ้าน และเปลี่ยนหลักสูตรให้เน้นความสำคัญของภาษา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เขาบอกว่าเขากลับต้องท่องจำความยาวของแม่น้ำในทวีปแอฟริกา เขาไม่อยากให้นักเรียนนักศึกษามีพิมพ์เดียวโดยเฉพาะพิมพ์ที่ทำตามคำสั่ง[7]

ต้นปี 2557 เขาเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านรัฐประหารและคณะรัฐประหาร ในเดือนพฤษภาคม 2558 เขาถูกควบคุมตัวช่วงสั้น ๆ เมื่อเข้าร่วมการจัดงานไว้อาลัยประชาธิปไตยในกรุงเทพมหานครและจังหวัดขอนแก่น[5]

เขากำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยให้เหตุผลว่าเลือกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เป็นอนุรักษนิยมมากกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เป็นเสรีนิยมว่าตนไม่อยากอยู่ท่ามกลางคนที่คิดแบบเดียวกัน ต่อมาเขาให้สัมภาษณ์ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นอนุรักษนิยมมากอย่างที่เขาว่ากัน[6] เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 เมื่อเขาได้รับเข้าศึกษาในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาถูกอาจารย์คนหนึ่งวิจารณ์หน้าตา และอีกหลายคนกล่าวว่าชีวิตในมหาวิทยาลัยอาจยากลำบาก[2][8]

การเคลื่อนไหว ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แก้

ในเดือนกรกฎาคม 2559 เนติวิทย์และเพื่อนจำนวนแปดคน ไม่ยอมหมอบกราบต่อหน้าพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยอ้างเหตุผลว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ยกเลิกธรรมเนียมดังกล่าวเอง และเดินออกจากพิธีหลังกล่าวคำปฏิญาณต่อมหาวิทยาลัยและเดินไปโค้งคำนับต่อหน้าพระบรมราชานุสรณ์แทน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้บางคนกล่าวว่าจะช่วยจุดประกายการอภิปรายเกี่ยวกับพิธีนี้ ส่วนบางคน เช่น หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ว่า ต้องการให้ช่วยขจัด "มะเร็ง" ออกจากมหาวิทยาลัย[9] ทางด้านพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เหตุการณ์นี้จะทำให้ชื่อเสียงของสถาบันเสื่อมเสีย[10] เนติวิทย์ตอบโต้โดยโพสต์เฟซบุ๊กว่า ฝ่ายประยุทธ์เองที่ทำให้ชื่อเสียงของประเทศเสื่อมเสียจากรัฐประหารเมื่อปี 2557 และการจำกัดสิทธิมนุษยชน และว่า เขาควรเคารพกฎหมายบ้านเมือง[10]

ในปี 2560 เนติวิทย์และสมาชิกสภานิสิตฯ อีกเจ็ดคนเดินออกจากพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเบื้องหน้าพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังคำนับแล้ว หลังจากนั้นปรากฏภาพอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้หนึ่งล็อกคอนักศึกษา[11] มหาวิทยาลัยฯ ตั้งคณะกรรมการและเรีรยกตัวนักศึกษามาสัมภาษณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมองว่าการประท้วงดังกล่าวเป็นการเมือง และว่าจัดพื้นที่ต่างหากสำหรับผู้ไม่เห็นด้วยแล้ว และการกระทำของนักศึกษาดังกล่าวไม่เหมาะสม[12] รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสั่งตัดคะแนนความประพฤติของนักศึกษา ทำให้เนติวิทย์ขาดโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมหรือลงสมัครในตำแหน่งต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย[13] ทำให้เนติวิทย์พ้นจากตำแหน่งประธานสภานิสิตฯ[14][15] เขาได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวจากต่างประเทศ ในเดือนมกราคม 2561 ผู้ได้รับรางวัลโนเบลเจ็ดคนร้องทุกข์ต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอุทธรณ์ให้เนติวิทย์และวิจารณ์มหาวิทยาลัย[16]

วันที่ 25 มกราคม 2561 เนติวิทย์เข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ในกาประท้วงต่อต้าน คสช. ที่จัดโดยกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย วันที่ 29 มกราคม คสช. ฟ้องเขาและนักกิจกรรมอีกหกคนว่าเป็นผู้นำการประท้วง[17] และกล่าวหาว่าเขาละเมิดพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558[18] ต่อมา ศาลปล่อยตัวเขากับนักเคลื่อนไหวโดยไม่มีเงื่อนไข[19]

การคุกคาม แก้

ในช่วงพฤษภาคม 2559 เนติวิทย์ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจรวม 7 นาย ได้ไปที่บ้านตนตามทะเบียนบ้านที่สมุทรปราการ และได้พบพูดคุยกับพ่อของเนติวิทย์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ระบุว่าผู้บังคับบัญชาสั่งให้มาตรวจสอบว่าเป็นผู้มีอิทธิพล โดยก่อนหน้านี้ หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย มาที่บ้านดังกล่าวก่อนหน้านี้แล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนั้นเนติวิทย์อยู่ด้วย และช่วงหลังรัฐประหารใหม่ๆ ครูที่โรงเรียนเคยแจ้งเคยมีเจ้าหน้าที่มาที่โรงเรียนตนด้วย แต่ขณะนั้นเนติวิทย์ไปอยู่ที่ประเทศอินเดีย[20] ในช่วงพฤษภาคม 2560 หลังจากที่เนติวิทย์ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภานิสิตจุฬา มีวัยรุ่น 2 คนขับมอเตอร์ไซต์ในคณะรัฐศาสตร์ จุฬจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณหน้าอาคารสำราญราษฎร์บริรักษ์ ก็ถามหาเนติวิทย์จากคนในละแวกนั้น และพูดจาข่มขู่ใส่ก่อนที่ขับรถหนีออกไป[21][22]

ผลงาน แก้

หนังสือ แก้

  • ประวัติศาสตร์ที่อยากอธิบาย (2558)
  • นักเรียนเลวในระบบการศึกษาแสนดี (2559)


อ้างอิง แก้

  1. "Fall into line, youngsters" (Bangkok Post, 20 July 2014).
  2. 2.0 2.1 เปิดใจ "เนติวิทย์" อึดอัด แต่ไร้ทางเลือก
  3. 'เนติวิทย์' ขอปฏิเสธรับรางวัลจากคณะกรรมการสิทธิฯ
  4. Under That Villain Mask : สอบปากคำ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ในวันที่ยังถูกมองเป็น ‘ตัวร้าย’
  5. 5.0 5.1 5.2 Meet the Youthful Face of Resistance to Thailand's Junta
  6. 6.0 6.1 Thorn in the Pillar: Freshman Makes Enemies Upsetting Tradition. Allies Too.
  7. In Thailand’s Schools, Vestiges of Military Rule
  8. สัมภาษณ์: ‘เนติวิทย์’ ว่าที่นิสิตหัวก้าวหน้า ในมหาวิทยาลัยอนุรักษ์นิยม
  9. Netiwit's monument gesture fires up Internet
  10. 10.0 10.1 PM scolds student activist for plan to change university’s prostration custom
  11. "Chula initiation rite does not go smoothly". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 24 November 2017.
  12. "CU denies forcing students to prostrate in the rain in oath-taking ritual - Thai PBS English News". Englishnews.thaipbs.or.th. 3 August 2017. สืบค้นเมื่อ 10 November 2017.
  13. เนติวิทย์-พวก 8 คนร้องศาลปกครองถอนคำสั่งจุฬาฯตัดคะแนนความประพฤติ-เยียวยาคนละหมื่น
  14. http://www.khaosodenglish.com/news/crimecourtscalamity/calamity/2017/08/07/chula-retracts-statement-sliming-student-yet-bad-taste-lingers/
  15. http://www.bangkokpost.com/news/general/1316491/netiwit-removed-from-student-council
  16. "Statement from Nobel Prize laureates to Chulalongkorn University - Prachatai". prachatai.com/english. สืบค้นเมื่อ 15 January 2018.
  17. https://www.reuters.com/article/us-thailand-politics/thirty-five-thai-activists-report-to-police-after-junta-protest-idUSKBN1FS0FL
  18. https://www.hrw.org/news/2018/02/02/thailand-39-democracy-activists-charged
  19. https://www.bangkokpost.com/news/politics/1409678/mbk39-walk-free-during-investigation
  20. ทหาร-ตร. เยี่ยมบ้านเนติวิทย์ ตรวจสอบว่าเป็นผู้มีอิทธิพลหรือไม่
  21. 2 ชายลึกลับขับมอเตอร์ไซค์ บุกข่มขู่ “เนติวิทย์” ถึงในจุฬา
  22. ระทึก! 2 วัยรุ่นขี่จยย.เข้าจุฬาฯ ถามหาตัว ‘เนติวิทย์’ เจ้าตัวรุดแจ้งความ หวั่นไม่ปลอดภัย