กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 112 แก้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี แก้

กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 112
ประจำการ1 มี.ค. 2562 – ปัจจุบัน
ประเทศ  ไทย
ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์ไทย
เหล่า  กองทัพบกไทย
กำลังรบกองพัน
ขึ้นกับกองทัพบก
กองบัญชาการเกาะจันทร์, ต.เกาะจันทร์ ชลบุรี
เว็บไซต์https://www.facebook.com/HomeofStryker1123
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพันโท ป้องรัฐ แย้มงามเรียบ

กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 112 (อังกฤษ 3rd Battalion, 112th Infantry Regiment)

ของกองทัพบกไทย

กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 112 ย้ายบ้านใหม่จากฉะเชิงเทรา สู่อำเภอเกาะจันทร์ ชลบุรี บนพื้นที่ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย เริ่มทำงานวันแรก 1 มีนาคม ผันตัวจากหน่วยกำลังสำรอง กลายเป็น “กรมยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์”

ประวัติ แก้

“ กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 112 “

" Home of Strykers 112SRCT “

" 3rd Battalion, 112th Infantry Regiment "

กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 112 เป็นหน่วยจัดตั้งขึ้นตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ 35/62 ลง 21 มิ.ย.62 โดยกำลังพลเริ่มต้น มีนายทหาร 11 นาย นายสิบ 92 นาย ( รวม ส.กง. 2 นาย )

พลทหาร 100 นาย รวมทั้งหมด 303 นาย คิดเป็น 33% ของอัตรา พัน.ร.เบา ลด 1 ซึ่งยังไม่มีอาคารที่ตั้งโดยสมบูรณ์

ประกอบกับหน่วยยังไม่ได้รับงบประมาณและวัสดุสำนักงาน สถานที่ตั้งได้ใช้ใต้อาคาร ร้อย.บก.ร.112 พัน.1

เป็นสถานที่ตั้งชั่วคราวและกำลังพลที่มาบรรจุ มาจากหลายหน่วย มารวมกัน จึงจำเป็นต้องจัดระบบกำลังพลให้ปฎิบัติงานตรงตามหน้าที่

และเหมาะสมกับงานให้มากที่สุด เพื่อเป็นรากฐานในการปฏิบัติงานของหน่วยในอนาคต


ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดนโยบายและวิสัยทัศน์เพื่อเป้นกรอบการปฎิบัติงานและการปฎิบัติของกองกำลังพล เพื่อให้กำลังพลได้เข้าใจในเจตนารมณ์และความมุ่งหมายของ ผบ.ร.112 พัน.3 ในการกำหนดทิศทางของหน่วย โดยได้นำนโยบายของผู้บังคับบัญชาตามลำดับและวิสัยทัศน์กองทัพบก มาเป็นสารตั้งต้นของนโยบายและวิสัยทัศน์นี้ เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติของหน่วยอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ของ ร.112 พัน.3 ดังนี้

" มีวินัย มีศักยภาพ มีความทันสมัย เป็นที่เชื่อมั่นและศรัทธาของประชาชน เป็นหนึ่งในกองพันทหารราบชั้นนำของกองทัพบก "


ฉะนั้นแล้วให้นำนโยบายและวิสัยทัศน์นี้เป็นสารตั้งต้นและเป็นการวางรากฐานไปสู่ความสมบูรณ์ของหน่วย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กำลังพลทุกนายจะรับทราบแนวทางและเจตนารมณ์ของ ผบ.ร.112 พัน.3 พร้อมทั้งปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยให้หน่วยอำนวยการศึกษานโยบายที่เกี่ยวข้องกับสายงานตนเองนำไปสู่การปฎิบัติ โดยนำไปวิเคราะห์เป็นกิจกิ่งงานที่จะต้องให้กำลังพลปฎิบัติ ให้เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

เมื่อ 25 ก.พ.64

พ.อ.เอกอนันต์ เหมะบุตร ผบ.ร.112 พร้อมด้วย คณะ ผู้บังคับบัญชา นายทหาร นายสิบ ร.112 และ นขต.ร.112 ได้กระทำพิธีอำลาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า และทำการเคลื่อนย้ายหน่วยจาก ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า จ.ฉะเชิงเทรา ไปยังที่ตั้งปกติถาวร ณ ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย ( บชร.1 ) ต.ท่าบุญมี อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี ในการนี้ ผบ.ร.112 ได้นำกำลังพลเดินทางเข้าที่ตั้งแห่งใหม่ พร้อมทั้งให้โอวาทกับกำลังพล และมอบนโยบายในการปฏิบัติงาน และรับภารกิจจากหน่วยเหนืออย่างเต็มขีดความสามารถเพื่อเป็นกำลังรบหลักของกองทัพบกในอนาคต

1 มีนาคม 2564 จะเป็นวันแรกที่ กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 112 เริ่มปฏิบัติงานใน “บ้านหลังใหม่”ในพื้นที่ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย กองบัญชาการช่วยรบที่ 1 ตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี ซึ่งถือว่าเป็นที่ตั้งปกติถาวร

โดยได้ทำพิธีอำลาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายใน ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า กองพลทหารราบที่ 11 สี่แยกคอมเพล็กซ์ ตำบลบางตีนเป็ด อำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อนจะทำการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปประจำหน่วย ธงชัยเฉลิมพล กำลังพลและยุทโธปกรณ์ไปยังที่ตั้งใหม่

โดยซุ้มประตูทางเข้าก่อสร้างใหม่เอี่ยม อยู่บริเวณถนนเกาะโพธิ์-เกาะจันทร์ เยื้องโรงพยาบาลเกาะจันทร์ ซุ้มด้านในระบุข้อความว่า “Home of Strykers”และด้านหลังระบุว่า “One Team One Fight Strykers”บ่งบอกว่าที่นี่คือ “กรมยานเกราะล้อยางสไตรเกอร์”

โดยสั่งซื้อยานเกราะล้อยางยี่ห้อ สไตรเกอร์ (Strykers) พร้อมระบบอาวุธและการบริการทางเทคนิค จากประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านโครงการความช่วยเหลือทางการทหาร (FMS)

สถานที่ตั้ง แก้

กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 112 แก้

ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย ตำบล เกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จ.ชลบุรี รหัสไปรษณีย์ 20240 แก้

เดิมเป็นพื้นที่สาธารณะในตำบลท่าบุญมี อำเภอพนัสนิคม ใช้เลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่กว้างขวาง

โดยพบว่ากองทัพบกเลือกพื้นที่แห่งนี้ เป็นที่ตั้งปกติถาวร ให้กองบัญชาการช่วยรบที่ 1 มาตั้งแต่ปี 2529 ก่อนที่กระทรวงมหาดไทยจะแบ่งพื้นที่การปกครอง แยกมาเป็น “อำเภอเกาะจันทร์” เมื่อปี 2540 เป็นต้นมา

แม้จะอยู่ห่างจากตัวเมืองชลบุรีเกือบ 60 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอพนัสนิคม 20 กิโลเมตร แต่ก็อยู่ใกล้ถนนสาย 331 พนมสารคาม-สัตหีบ หรือ “ถนนสายยุทธศาสตร์” ระยะทาง 157 กิโลเมตร

เคยเป็นเส้นทางกองทัพสหรัฐฯ ขนอาวุธยุทโธปกรณ์จากท่าเรือจุกเสม็ด และสนามบินอู่ตะเภา ไปยังฐานทัพอเมริกันจังหวัดนครราชสีมา ในสมัยสงครามอินโดจีน

ปัจจุบันถนนสาย 331 พนมสารคาม-สัตหีบ เปลี่ยนโฉมจากเส้นทางยุทธศาสตร์ทางการทหาร กลายมาเป็นเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เพราะเต็มไปด้วยนิคมอุตสาหกรรมและชุมชนเป็นระยะ

ด้านหน้าเป็นถนนสี่เลนแบบสวนทาง ปูพื้นคอนกรีตอย่างดี มีรถประจำทาง สาย 1633 ชลบุรี-พนัสนิคม-เกาะโพธิ์-ปรกฟ้า ซึ่งเป็นรถพัดลมวิ่งผ่านเป็นประจำ แถมยังมี “รถตู้เกาะโพธิ์”จากสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ ไปยังตัวอำเภอเกาะจันทร์โดยตรง