ผู้ใช้:Chattarika Monthreedee/กระบะทราย

แม่แบบ:ทฤษฎีระบบตามแนวคิดการจัดการสมัยใหม่

ความหมายของทฤษฎี

แก้

“ ทฤษฎี ” หมายถึง กลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิดคำนิยาม และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น สามารถแยกแยะความหมายของทฤษฎีได้ 3 ประเด็น คือ ทฤษฎี คือ กลุ่มของข้อความที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของสิ่งต่าง ๆ ทฤษฎี คือ สิ่งช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรต่าง ๆ และเมื่อได้ปฏิบัติตามทฤษฎีแล้ว จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง ทฤษฎี คือ การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ โดยเจาะจงไปว่าตัวแปรใดสัมพันธ์กับตัวแปรใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

องค์ประกอบของทฤษฎี

แก้
  1. แนวความคิด (Concept)
  2. ข้อเสนอหรือข้อสมมติฐาน (Proposition or Hypothesis)
  3. เหตุการณ์ (Contingency) ที่มีกระบวนการพิสูจน์จากข้อเสนอหรือข้อสมมติฐาน

ความหมายของระบบ

แก้

“ระบบ” (System) มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทาง วิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน “ระบบ" (System) คือ กระบวนการต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้น และเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ ทฤษฎีระบบตามแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ ทฤษฎีระบบเป็นแนวคิดการจัดการซึ่งมององค์การว่าเป็นระบบตามหน้าที่ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยจะเป็นการกำหนดกระบวนการหรือขั้นตอนการทำงานของทั้งระบบให้สอดคล้องกันตั้งแต่เริ่มจนจบกระบวนการ เพื่อการบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกันในทุกระบบ ระบบนี้จะเริ่มต้นด้วยการนำเอาปัจจัยเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพซึ่งจะเปลี่ยนแปลงให้ปัจจัยหรือวัตถุดิบเหล่านั้นให้เป็นปัจจัยนำออก หลังจากนั้นปัจจัยนำออกก็จะถูกป้อนกลับสู่สภาพแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง [1]

การศึกษาทฤษฎีระบบ

แก้

สามารถแยกได้ 2 ประเภท คือ ทฤษฎีระบบปิด และทฤษฎีระบบเปิด

ทฤษฎีระบบปิด

แก้

ระบบปิดเป็นระบบที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอกน้อยที่สุดหรืออาจจะไม่มีเลย และระบบปิดนี้จะให้ความสนใจเฉพาะภายในระบบขององค์การเท่านั้น ขอบเขตการพิจารณาของระบบปิดมักจะกระทำอยู่แต่เพียงในระบบเท่านั้น[2] ทฤษฎีระบบปิด ตัวแบบระบบปิดเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อนักรัฐประศาสศาสตร์สมัยก่อนมากที่สุด ตัวแบบนี้มีชื่อเรียกอย่างอื่น เช่น ตัวแบบราชการ(bureaucratic) ตัวแบบชั้นการบังคับบัญชา(hierarchical) ตัวแบบที่เป็นทางการ (formal) ตัวแบบเหตุผล (rational) และตัวแบบจักรกล(mechanistic) Tom Burne และ G.M.Stalkes ได้ค้นคว้าและให้ลักษณะที่สำคัญขององค์การแบบปิดไว้ 12 ประการคือ

  1. มีงานประจำที่เกิดขึ้นในสภาวะที่คงที่
  2. ยึดหลักการทำงานตามความชำนาญเฉพาะด้านมีการแบ่งหน้าที่กันทำ
  3. เน้นวิธีการหรือแนวทางที่เหมะสมในการทำงาน
  4. ปัญหาความขัดแย้งในองค์การผู้ที่ตัดสินความขัดแย้งคือ ผู้บริหารระดับสูง
  5. เน้นความสำคัญของการมีความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นไปตามคำบรรยายลักษณะงานที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ
  6. บุคคลในองค์การจะต้องมีความสำนึกรับผิดชอบและจงรักภักดี
  7. รับรู้ว่าโครงสร้างขององค์การเป็นไปตามลำดับขั้นแบบปิรามิด
  8. มีเพียงผู้บริหารระดับสูงเท่านั้นที่รู้ทุกอย่าง
  9. ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์การมักจะเป็นแนวดิ่ง
  10. ลักษณะความสัมพันธ์จะเป็นแบบเจ้านายกับลูกน้องอย่างชัดเจน จะต้องเชื่อฟังในรูปแบบของคำสั่ง
  11. จะเน้นความสำคัญในเรื่องความซื่อสัตย์การจงรักภักดีและเชื่อฟังนาย
  12. สถานภาพของบุคคลจะถูกกำหนดโดยตำแหน่งอย่างเป็นทางการ จะถูกกำหนดโดยองค์การและตามชั้นยศ โดยตัวแบบระบบปิดนี้จะเป็นตัวแบบตามอุดมคติ คือเป็นสิ่งที่องค์กรพยายามจะให้เป็น ซึ้งในความเป็นจริงนั้นอาจจะทำได้เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น และยังมีอีกบางส่วนที่ยังทำไม่ได้ [3]

ทฤษฎีระบบเปิด

แก้

ระบบเปิดกำเนิดมาจากระบบปิด จุดเริ่มต้นของระบบเปิดมาจาก แซงต์ ซีมอง (Saint-Simon) และคองต์(Comte) คองต์ได้ทำนายเกี่ยวกับการบริหารงานในอนาคต จะเป็นงานที่อาศัยทักษะมากกว่าการสืบทอดจากสายโลหิต งานสมัยใหม่นั้นจะเป็นสากล(cosmopolitanism) ส่วนในความหมายของแซงค์ ซีมอง เป็นการพัฒนาอาชีพใหม่โดยหารใช้เทคโนโลยี โดยทั้งคองต์และแซงค์ พวกเขาเน้นคุณค่าขององค์การที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติตามที่จำเป็น[4] Tom Burne และ G.M.Stalkes ได้ค้นคว้าและให้ลักษณะที่สำคัญขององค์การแบบเปิดไว้ 12 ประการคือ

  1. จะไม่มีการทำงานแบบประจำในสภาวะที่ไม่มั่นคง (Unstable)
  2. นำความรู้เฉพาะด้านมาประยุกต์ใช้ในงานประจำธรรมดาและงานต่างๆในองค์กร ซึ่งจะแตกต่างจากระบบปิดที่มองว่าแต่ละงานมีความเชี่ยวชาญเป็นของตัวเอง
  3. เน้นความสำคัญของเป้าหมายหรือการทำงานให้สำเร็จ(ends) มากกว่าวิธีการ(means)
  4. ความขัดแย้งในองค์การจะแก้ไขโดยการปรับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน
  5. เน้นความสำคัญของการกระจายความรับผิดชอบ ไม่เน้นหน้าที่สนใจการแก้ปัญหาขององค์การมากกว่าคำบรรยายงานที่เป็นทางการ
  6. บุคคลในองค์การจะต้องมีความรับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่อองค์การมากกว่าตัวบุคคล
  7. โครงสร้างขององค์การจะไม่แน่นอน เป็นโครงสร้างที่ไหลลื่น คล้ายรูปอะมีบา
  8. ทุกคนจะรู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับองค์การของตนเอง แต่ไม่มีใครรู้ทั้งหมดแม้กระทั่งผู้บริหาร
  9. ทุกคนในองค์การมีความสัมพันธ์กันแบบแนวนอน คือทุกคนสามารถติดต่อกันได้
  10. ลักษณะความสัมพันธ์จะเป็นแบบเพื่อนร่วมงานไม่ได้เป็นแบบผู้บังคับบัญชา จะเป็นการแนะนำโดยตรงมากกว่าเป็นคำสั่ง
  11. เน้นความสำเร็จของงาน
  12. สถานภาพและชื่อเสียงขององค์การที่แพร่สู่ภายนอก จะถูกกำหนดโดยความสามารถทางวิชาชีพมากกว่าฐานะตำแหน่งในองค์การ[5]

องค์ประกอบเชิงระบบ

แก้

องค์การในเชิงระบบ(system analysis) จะประกอบด้วยตัวแปรต่างๆมากมาย ในแนวความคิดเชิงระบบจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ 5 ส่วน

  1. สิ่งนำเข้า(Input)
  2. กระบวนการ (Process)
  3. สิ่งส่งออก (Output)
  4. ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
  5. สภาพแวดล้อม (Enivironment)[6]

คุณสมบัติที่สำคัญของทฤษฎีระบบ

แก้

คุณสมบัติที่สำคัญของทฤษฎีระบบ

  1. ระบบใหญ่ไม่ใช่ระบบย่อย ไม่สามารถเข้าใจจากการศึกษาทีละส่วนประกอบได้
  2. ระบบจะมีโครงสร้างซ้อนกัน(Hierarchy) เช่น คนประกอบด้วยส่วนย่อยคือเซลที่รวมกันเป็นระบบ
  3. การจะเข้าใจระบบนั้นจะต้องมองปัจจัยแวดล้อมด้วย ไม่สามารถมองเป็นเส้นตรงได้โดยเฉพาะระบบเปิด ต้องมองอย่างเชื่อมโยงกัน
  4. ต้องเข้าใจความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์(Feedback)จะต้องเข้าใจถึงปัจจัยต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
  5. วิธีการคิดแบบโครงสร้างเป็นการมองเห็นกรอบที่เข้มแข็ง ยากที่จะเปลี่ยนแปลง ส่วนแบบกระบวนการนั้นทำให้เรามองเห็นจุดอ่อน มีช่องทางความสัมพันธ์ที่เราสามารถเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้

การนำเอาทฤษฎีมาใช้ในองค์การ

แก้

ในการศึกษาการบริหารได้มีการนำเอาทฤษฎีระบบมาใช้ในการทำงานขององค์การ โดยทฤษฎีระบบจะมองว่าการทำงานขององค์การนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอก องค์การจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แนวความคิดทฤษฎีระบบสามารถนำมาปรับใช้กับเรื่องต่างๆได้มากมายตั้งแต่การทำงานของสิ่งมีชีวิต เครื่องจักร จนถึงการทำงานขององค์การและระบบการเมือง แนวความคิดการศึกษาองค์การในฐานะระบบปิด ที่มุ่งศึกาการทำงานขององค์การโดยพิจารณาการนำเข้าและปัจจัยนำออกขององค์การ ระบบที่มององค์การในระบบเปิดที่การทำงานนั้นจะต้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสภาพแวดล้อมย้อยต่างๆ การทำงานต้องมีความสัมพันธ์กันกับเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานขององค์การ[7]

  1. วิเชียร วิทยอุดม. 2550. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ:ธนธัชการพิมพ์
  2. สมพงษ์ เกษมสิน. 2517. การบริหาร. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนพาณิชย์
  3. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์. อุบลราชธานี:บพิธการพิมพ์
  4. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. 2554. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์. อุบลราชธานี:บพิธการพิมพ์
  5. วิเชียร วิทยอุดม. 2550. ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ:ธนธัชการพิมพ์
  6. พะยอม วงศ์สารศรี. 2538. องค์การและการจัดการ.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สุภา
  7. วันชัย มีชาติ. 2549. การบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย