ผู้ใช้:นางสาววรรณภา/กระบะทราย

การคลังสาธารณะประเทศไทย แก้

ประเทศไทย มีพื้นที่ 514,000 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงชื่อ กรุงเทพมหานคร มีประชากร 69,519,000 คน กำลังแรงงาน จำนวน 36.42 ล้านคน ผู้มีงานทำ 35.68 ล้านคน ซึ่งประกอบคนที่ทำงานในภาคเกษตรกรรมร้อยละ 39.45 และทำงานนอกภาคเกษตรกรรมร้อยละ 60.55 มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ศาสนาที่นับถือส่วนมากเป็นพุทธร้อยละ 95.6 อิสลามร้อยละ 4.6 คริสต์ร้อยละ 0.7 และอื่นๆร้อยละ 0.1 ภาษาราชการที่ใช้คือ ภาษาไทย[1]

โครงสร้างอำนาจรัฐของประเทศไทย แก้

รัฐ หมายถึง ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ อันประกอบด้วยดินแดนที่มีขอบเขตแน่นอน มีประชากรอาศัยอยู่ในจำนวนที่เหมาะสม โดยมีรัฐบาลปกครองและมีอำนาจอธิปไตยของตัวเอง ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ใช้รูปแบบรัฐเดี่ยว (Unitary state) ยึดหลักการแยกอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการออกจากกัน

  • อํานาจนิติบัญญัติ รัฐสภา ทําหน้าที่ตรากฎหมายขึ้นใช้ในประเทศ
  • อํานาจบริหาร คณะรัฐมนตรี (รัฐบาล) ทําหน้าที่บริหารประเทศ
  • อํานาจตุลาการ ศาล ทําหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี

ความสัมพันธ์กันระหว่างอํานาจทั้ง 3 คือจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยที่รัฐธรรมนูญจะให้ความสัมพันธ์ของอํานาจทั้งสามสมดุลกันควบคุมซึ่งกันและกันและไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของอำนาจใดอำนาจหนึ่ง เนื่องจากการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภาคณะรัฐมนตรีและศาลจึงเป็นไปตามหลักการของประชาธิปไตย แบบรัฐสภา [2]

รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลประเทศไทย และหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายการเงินของประเทศไทย แก้

หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลประเทศไทย แก้

กระทรวงการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์องรัฐ และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง

พันธกิจตามกฎหมายของกระทรวงการคลัง

  • เสนอแนะและกำหนด นโยบายการคลังและระบบการเงิน, นโยบายภาษี, นโยบายรายจ่ายและหนี้สาธารณะ
  • บริหารการจัดเก็บภาษี, บริหารรายรับรายจ่ายและหนี้สาธารณะ,บริหารพัสดุภาครัฐ ที่ราชพัสดุ เหรียญกษาปณ์ รัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์, บริหารทรัพย์สินอื่นๆของรัฐ[3]

หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายการเงินของประเทศไทย แก้

ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการเงินภายใต้อำนาจตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 สถาบันการเงินที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับดูแล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ไทย ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ สาขาของธนาคารต่างประเทศ สำนักงานผู้แทนธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทบริหารสินทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (non-bank) บางประเภท ได้แก่ ธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ

บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย

  1. ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร
  2. กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน
  3. บริหารจัดการสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
  4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล
  5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
  6. จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน
  7. กำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
  8. บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมทั้งบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา
  9. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน[4]

โครงสร้างระบบภาษีของไทย แก้

ผู้เสียภาษีหรือหน่วยภาษี หมายถึง บุคคลที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

  1. หลักแหล่งเงินได้ เช่น บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
  2. หลักถิ่นที่อยู่ เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่
  3. หลักสัญชาติ เช่น คนต่างด้าวเสียภาษีรายหัวที่เรียกว่าค่าธรรมเนียมคนต่างด้าว
  4. หลักการบิริโภค เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต อากรแสตมป์

ฐานภาษี หมายถึง ฐานภาษี คูณ อัตราภาษี จะได้จำนวนภาษีมี 4 ฐาน

  1. ฐานเงินได้ เช่น เงินได้พึงประมาณสุทธิบุคคลธรรมดา กำไรทางภาษีนิติบุคคล
  2. ฐานการบริโภค เช่น รายรับก่อนหักรายจ่าย รายได้ที่ใช้เป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจ ภาษีสรรพสามิต อากรศุลกากร
  3. ฐานทรัพย์สิน เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีรถยนต์ ภาษีบำรุงท้องที่ทรัพย์สิน
  4. ฐานสิทธิพิเศษในการประกอบกิจการ เช่น สัมปทานภาครัฐ สุรา รังนก ปิโตรเลียม

ฐานภาษี หมายถึง อัตราร้อยละในการคำนวณหาจำนวนภาษี คูณ ฐานภาษี

  1. อัตราคงที่ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยทั่วไปร้อยละ 30 องกำไรทางภาษี
  2. อัตราเพิ่มขึ้นหรืออัตราก้าวหน้า เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  3. อัตราลดลงหรืออัตราถอยหลัง เช่น อัตราภาษีบำรุงท้องที่จะลดลงเมื่อราคากลางต่อกำไรสูงขึ้น

วิธีการชำระภาษี หมายถึง เมื่อคำนวณภาษีได้แล้วสามารถชำระได้ 4 วิธี

  1. การประเมินตนเอง เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ วิธีนี้เหมาะกับภาษีอากรที่มีฐานก้าว ผู้เสียภาษีจำนวนมาก คำนวณภาษีอากรไม่ยุ่งยาก
  2. การประเมินโดยเจ้าพนักงาน เช่น ภาษีสรรพสามิต อากรศุลกากร ภาษีโรงเรือนและที่ดิน การยื่นแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าพนักงาน ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีทันทีเมื่อเจ้าพนักงานประเมิน วิธีนี้เหมาะกับฐานภาษีที่แคบ ผู้เสียภาษีจำนวนน้อย การคำนวณยุ่งยาก ซึ่งอาจมีการคำนวณภาษีภายหลัง
  3. การหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นการเครดิตภาษีของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
  4. การชำระภาษีล่วงหน้า เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีโดยการประมาณกำไรเพื่อเสียภาษี

วิธีการหาข้อยุติในจำนวนภาษี หรือวิธีขจัดข้อโต้แย้งทางภาษีอากร

ขั้นที่ 1 การประเมินของเจ้าหน้าที่พนักงานภาษีอากร

กรณีที่ 1 ภาษีอากรจากการประเมินตนเอง เมื่อเจ้าพนักงานภาษีอากรเพิ่ม ถ้าผู้เสียภาษีไม่คัดค้านเป็นอันยุติลง แต่ถ้าผู้เสียภาษีคัดค้านจะนำไปสู่ขั้นที่ 2

กรณีที่ 2 ภาษีอากรจากการประเมินโดยเจ้าพนักงาน เมื่อเจ้าพนักงานภาษีอากรเพิ่ม ถ้าผู้เสียภาษีไม่คัดค้านเป็นอันยุติลง แต่ถ้าผู้เสียภาษีคัดค้านจะนำไปสู่ขั้นที่ 2

ขั้นที่ 2 การวินิจฉัยองหน่วยอุทธรณ์ของฝ่ายบริหาร คือ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรืออธิบดีหน่วยงานจัดเก็บภาษี มีคำวินิจฉัยชี้ขาดออกมา หากผู้เสียภาษีไม่พอใจให้ดำเนินการขั้นที่ 3

ขั้นที่ 3 การพิจารณาคดีในศาล คือ ศาลภาษีอากรและศาลฎีกา รัฐไม่มีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลภาษีอากร แต่มีสิทธินำขึ้นศาลฎีกาได้ กฎหมายภาษีอากรอาจกำหนดให้ใช้วิธีอนุญาตตุลาการโดยไม่ผ่านศาลก็ได้

การบังคับทางภาษี

  1. โทษทางอาญา มีทั้งโทษจำและปรับ
  2. โทษทางแพ่ง-เบี้ยปรับ การไม่เสียภาษีอากรหรือเสียน้อยกว่าที่ควรเสีย ต้องโทษปรับเงินเพิ่ม 1 หรือ 2 เท่า ศาลมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับนี้ได้
  3. โทษทางแพ่ง-เงินเพิ่ม ไม่ชำระเงินภายในการกำหนดเวลา เสียดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน ศาลไม่มีอำนาจที่จะงดหรือลดเงินเพิ่มนี้ได้
  4. โทษทางแพ่ง-ยึด อายัดและขายทอดตลาด ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดที่เหลือคืนได้

ภาษีที่จัดเก็บในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม แก้

ภาษีทางตรง ประกอบด้วย

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

อัตราการเสียภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา

  • รายได้ตั้งแต่ 0-300,000 อัตราภาษีร้อยละ 5
  • รายได้ตั้งแต่ 300,001-500,000 อัตราภาษีร้อยละ 10
  • รายได้ตั้งแต่ 500,001-750,000 อัตราภาษีร้อยละ 15
  • รายได้ตั้งแต่ 750,001-1,000,000 อัตราภาษีร้อยละ 20
  • รายได้ตั้งแต่ 1,000,001-2,000,000 อัตราภาษีร้อยละ 25
  • รายได้ตั้งแต่ 2,000,001-5,000,000 อัตราภาษีร้อยละ 30
  • รายได้ตั้งแต่ 5,000,001 ขึ้นไป อัตราภาษีร้อยละ 35

2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
  • บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
  • กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ และนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
  • กิจการร่วมค้า
  • มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้
  • นิติบุคคลที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง

อัตราการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • รายได้ไม่เกิน 300,000 อัตราการเสียภาษี ยกเว้น
  • รายได้ตั้งแต่ 300,001 แต่ไม่เกิน 3,000,000 อัตราการเสียภาษีร้อยละ 15
  • รายได้ตั้งแต่ 3,000,000 ขึ้นไป อัตราการเสียภาษีร้อยละ 20

ภาษีทางอ้อม ประกอบด้วย

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บจากผู้บริโภคคนสุดท้ายเป็นภาษีทางอ้อมสามารถผลักภาระภาษีได้
  2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ จัดเก็บจากผู้บริโภคคนสุดท้าย เป็นภาษีทางอ้อมสามารถผลักภาระภาษีได้ เป็นกิจการที่ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธนาคาร ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ ประกันชีวิต การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้ากำไรการรับจำนำ
  3. อากรแสตมป์ การเก็บภาษีอากรจากการกระทำตราสารบางประเภทที่มีการลงลายมือชื่อตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนด[5][6][7]

การบริหารรายจ่ายภาครัฐ แก้

เมื่อฝ่ายบริหารได้จัดทำแผนงบประมาณและได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว จะเป็นนั้นตอนการนำแผนงบประมาณปฏิบัติ หรือเรียกว่า การบริหารงบประมาณรายจ่าย ซึ่งจรัส สุวรรณมาลา(2546) กล่าวว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในวงจรงบประมาณภาครัฐ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนมากที่สุด มีกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติข้อเกี่ยวข้องจำนวนมาก ใช้ระยะเวลายาวนานทั้งในระหว่างปีงบประมาณและเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณแล้วก็จำเป็นจะต้องมีการติดตามและประเมินผลโครงการ และเป็นกระบวนการที่มีปัญหาในเชิงปฏิบัติการมากที่สุด เช่น ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง ปัญหาการเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง ปัญหาความหย่อนยานในการทำงาน หรือปัญหาการรั่วไหลของงบประมาณ เป็นต้น

การบริหารงบประมาณรายจ่ายมีหลักการและขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้

  1. การจัดทำงบประมาณ
  2. การอนุมัติงบประมาณ
  3. การบริหารงบประมาณ
  4. การควบคุมและตรวจสอบติดตามประเมินผล

หน่วยงานที่มีหน้าที่เสนอร่างงบประมาณ แก้

หน่วยงานที่มีหน้าที่เสนอร่างงบประมาณคือ คณะรัฐมนตรี เป็นกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ ซึ่งจัดตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการใช้กฎหมายในการบริหาร การเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ และร่างพระราชบัญญัติอื่น ๆ และการรายงานทั้งเรื่องภายในและภายนอกประเทศ ต่อสภาไทย

หน่วยงานที่เป็นผู้อนุมัติงบประมาณ แก้

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีของรัฐสภา ซึ่งจะแยกพิจารณา เป็น 3 วาระ ดังนี้

  • วาระที่ 1 จะรับหลักการแห่งพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีหรือไม่ ถ้ารับก็ดำเนินการตามวาระ ที่ 2 ต่อไป
  • วาระที่ 2 เมื่อรับหลักการในวาระที่ 1 แล้ว วาระที่ 2 รัฐสภาก็จะตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นแปรบัญญัติ (พิจารณาแก้ไข) คณะกรรมาธิการจะประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภา และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลพิจารณาแก้ไขตัดทอนร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
  • วาระที่ 3 เมื่อพิจารณาแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว คณะกรรมาธิการจะเสนอว่า พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายต่อรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบที่จะตราเป็นพระราชบัญญัติเพื่อบังคับใช้ต่อไป[8][9][10]

ปัญหาสำคัญในการบริหารรายจ่ายสาธารณะของไทย แก้

ปัญหากระบวนการจัดทำงบประมาณ แก้

  1. กฎหมาย ระเบียบข้อบังคบและมติคณะรัฐมนตรีไม่สอดคล้องกัน
  2. ขอบเขตงบประมาณไม่ครอบคลุมเงินทั้งหมด ขาดกระบวนการและกลไกบริหารการคลังมหาภาคของรัฐไม่สามารถบริหารเงินเข้าระบบได้อย่างแท้จริง
  3. เจ้าหน้าที่งบประมาณที่ทำหน้าจัดทำงบประมาณก็มีข้อมูลจำกัดเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการใช้ทรัพยากรของแผนงาน
  4. ขาดการนำเสนอภาพรวมของฐานะการเงินของภาครัฐ
  5. ขาดผลการประเมินผลของการใช้จ่ายเงินในโครงการและแผนงานต่างๆ สำหรับใช้ในการตัดสินใจในเชิงนโยบาย

ปัญหาการบริหารงบประมาณ แก้

  1. ความล่าช้า สาเหตุมาจากมีกฎระเบียบต่างๆมากมายเพื่อป้องกันการทุจริต
  2. บุคคลากร มีปัญหาในด้านปริมาณและคุณภาพของแต่ละหน่วยงานมีไม่เท่าเทียมกัน
  3. การบริหารงานงบประมาณเป็นแบบรวมอำนาจ และมีการควบคุมการจัดสรรงบประมาณอ่างเข้มงวด ขาดความยืดหยุ่น ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

ปัญหาในการติดตามและประเมินผล แก้

  1. ขาดความร่วมมือในการติดตามและประเมินผล
  2. เจ้าหน้าที่ที่จะไปติดตามและประเมินผลมีไม่เพียงพอ
  3. ระยะเวลาการจัดทำและพิจารณาน้อย ทำให้การพิจารณาให้ละเอียดและรอบคอบเป็นไปได้ยาก[11][12]

อ้างอิง แก้

  1. ข้อมูลพื้นฐานประเทศไทย. กองประสานการลงทุน. 9 ม.ค. 2013 สืบค้นจาก http://th.aectourismthai.com/tourismhub/932 สืบค้นเมื่อ 1 เม.ย 2560
  2. นิติศาสตร์ ม.รามคำแหง รุ่นที่ 2 สืบค้นจาก http://rulawkk26.blogspot.com/ สืบค้นเมื่อ 1 เม.ย 2560
  3. กระทรวงการคลัง. สืบค้นจาก http://jameconomics.weebly.com/361036073610363436073649362136323627360936573634360736373656.html สืบค้นเมื่อ 1 เม.ย 2560
  4. ธนาคารแห่งประเทศไทย.สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/RolesAndHistory/Pages/RolesAndResponsibility.aspx สืบค้นเมื่อ 1 เม.ย 2560
  5. สมชัย ฤชุพันธ์. 2526 เศรษฐทัศน์ว่าด้วยภาษีอากรในเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  6. ฐานเศรษฐกิจ, น.ส.พ. ภาษีมูลค่าเพิ่ม. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับพิเศษครบรอบ 11 ปี (มกราคม 2535).
  7. กรมสรรพากร. ประมวลรัษฎากร ฉบับอิเล็กทรอนิกส์. (30 ธ.ค. 2559)
  8. ประยุทธ์ สวัสดิ์เรียวกุล “การจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์” สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี, 25 มกราคม 2547
  9. ดร.ณรงค์ สัจพันธ์โรจน์ “การจัดทำอนุมัติและการบริหารงบประมาณแผ่นดิน ทฤษฎีและปฏิบัติ” บพิธการพิมพ์.:กรุงเทพ 2538
  10. เอนก เธียรถาวร และคณะ. ๒๕๓๕. หนังสือเรียนสังคมศึกษา รายวิชา ส ๐๖๒ การเงิน การธนาคาร และการคลัง . กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช
  11. ร.ศ.นคร ยิ้มศิริวัฒนะ. 2548 “การคลังรัฐบาล” คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  12. อรัญ ธรรมโน, ดร. 2517. การคลัง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมสรรพสามิต