สรรพสามิต หรือ ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีใด ๆ ต่อสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นซึ่งจะเรียกเก็บในขณะที่ได้ทำการผลิตมากกว่าการขาย ภาษีสรรพสามิตมักจะมีความเกี่ยวข้องกับภาษีศุลกากร(ซึ่งจะเรียกเก็บจากสินค้าที่มีอยู่ก่อนแล้ว เมื่อข้ามชายแดนที่ได้กำหนดไว้ในทิศทางเฉพาะทาง) ภาษีศุลกากรนั้นจะถูกเรียกเก็บจากสินค้าที่ได้กลายเป็นสินค้าที่พึงชำระภาษี ณ ที่ชายแดน ในขณะที่ภาษีสรรพสามิตจะเรียกเก็บจากสินค้าที่มีอยู่ภายในประเทศ

1871 U.S. Revenue stamp for 1/6 barrel of beer. Brewers would receive the stamp sheets, cut them into individual stamps, cancel them, and paste them over the bung of the beer barrel so when the barrel was tapped it would destroy the stamp.[1]

ภาษีสรรพสามิตถือว่าเป็นภาษีทางอ้อม ซึ่งหมายความว่าผู้ผลิตหรือผู้ขายที่ชำระภาษีให้กับรัฐบาล เป็นการคาดหวังว่าจะพยายามกู้คืนที่สูญเสียไปโดยการขึ้นราคาที่จ่ายโดยผู้ซื้อสินค้าในที่สุด ภาษีสรรพสามิตโดยทั่วไปแล้วจะมีการเรียกเก็บเพิ่มเติมในฐานะภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีการขายหรือภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยทั่วไป สรรพสามิตจะแยกความแต่งต่างจากภาษีขายหรือภาษีมูลค่าเพิ่มได้สามวิธี

  1. ภาษีสรรพสามิตโดยทั่วไปนั้นจะเป็นภาษีต่อหน่วย(Per unit tax) ซึ่งจะคิดต้นทุนเป็นจำนวนโดยเฉพาะสำหรับปริมาณหรือหน่วยของสินค้าที่ซื้อ ในขณะที่ภาษีการขายหรือภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บตามมูลค่าของสินค้า(Ad valorem tax) และเป็นสัดส่วนกับราคาสินค้า
  2. ภาษีสรรพสามิตโดยทั่วไปนั้นมักจะใช้กับวงที่จำกัดของผลิตภัณฑ์ และ
  3. ภาษีสรรพสามิตโดยทั่วไปนั้นจะมีน้ำหนักมาก โดยคิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าราคาขายปลีกของผลิตภัณฑ์ที่เป็นเป้าหมาย

ตัวอย่างทั่วไปของภาษีสรรพสามิต ได้แก่ ภาษีน้ำมันเบนซินและเชื้อเพลิงอื่น ๆ และภาษียาสูบ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(บางครั้งมักจะเรียกกันว่า ภาษีบาป)

ภาษีสรรพสามิตในประเทศไทย แก้

ประเทศไทยจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิต โดยออก พ.ร.บ. เพื่อควบคุมสินค้าหลักๆ เช่น สุรา ยาสูบ ไพ่ แบตเตอรี่ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน และ สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น น้ำหอม รถยนต์ เรือยอชต์ รวมทั้งสถานบริการ เช่น สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ[2]

อ้างอิง แก้

  1. "6 2/3c Beer revenue stamp proof single". Smithsonian National Postal Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-09. สืบค้นเมื่อ 30 September 2013.
  2. กูรูกูเกิล[ลิงก์เสีย]