ปาล์มน้ำมัน

ชนิดของปาล์ม
ปาล์มน้ำมัน
African Oil Palm (Elaeis guineensis)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Arecales
วงศ์: Arecaceae
สกุล: Elaeis
Jacq.
Species

Elaeis guineensis
Elaeis oleifera
Elaeis odora

ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชตระกูลปาล์ม ในวงศ์ Arecaceae ชื่อสามัญ Oil palm, African oil palm หรือ Macaw-fat[1] เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูงประมาณ 10-20 เมตร เส้นรอบวงประมาณ 170-180 เซนติเมตร ลำต้นสีน้ำตาล ผิวลำต้นขรุขระคล้ายต้นตาล ใบประกอบแบบขนนก การเรียงตัวของเส้นใบขนานตามความยาวใบ ใบรูปแถบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบจักซี่ฟันเลื่อย ใบเรียงแบบเรียงสลับ ด้านบนแผ่นใบมีขนหยาบแข็ง ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียวเข้ม ใบอ่อนสีเขียว ใบแก่สีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 100-120 เซนติเมตร ดอกช่อเชิงลดมีกาบ กลีบดอกในตาดอกเรียงจรดกัน ดอกสมมาตรตามรัศมี วงกลีบดอกเชื่อมติดกันรูปดอกเข็ม กลีบดอกสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ เกสรตัวผู้ 6 อัน เกสรตัวเมีย 3 อัน

ผลปาล์มน้ำมันมีลักษณะเป็นรูปเรียวรีหรือรูปไข่ออกผลเป็นทะลาย มีขนาดกว้าง 3 เซนติเมตร และยาว 5 เซนติเมตร มีน้ำหนักผลละ 10-15 กรัม เปลือกผิวนอกของผลปาล์มเป็นสีเขียวหรือดำเมื่อผลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงเมื่อผลแก่และสุก ภายใต้เปลือกเป็นเมล็ด ผลสุกเมื่อนำไปทุบสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการก่อไฟ (Fire starter)[2]

น้ำมันปาล์มสามารถนำมาแปรรูปทำเป็นทั้งในรูปแบบของน้ำมันพืชที่ใช้ในการประกอบอาหาร และใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน ครีมและเนยเทียม เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทน ไบโอดีเซล รวมถึงเป็นส่วนผสมในเพื่อช่วยลดการใช้น้ำมันดีเซล เพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ อีกทั้งยังจะช่วยลดปัญหาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย และยังสามารถแปรรูปเป็น สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ต่างๆ และอาหารสัตว์ ด้วย ใบมาบดเป็นอาหารสัตว์ กะลาปาล์มเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิง ทะลายปาล์มใช้เพาะเห็ด และกระทั่งการปลูกลงดินไปแล้วก็ช่วยในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีก [3]

การปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทย แก้

ในประเทศไทยมีการปลูกทั้งทางภาคใต้และภาคตะวันออก พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เป็นปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา โดยเฉพาะที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงปี 2547 - 2550 มีการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่นาร้าง โดยกรมพัฒนาที่ดิน มีการขุดร่องให้ฟรี ให้พันธุ์และปุ๋ย โดยให้เหตุผลในการส่งเสริมการปลูกเนื่องจากเป็นปาล์มที่ให้นำ้มันใช้ได้ทั้งการบริโภคและใช้เป็นไบโอดีเซลได้โดยประเทศที่ปลูกปาล์มนำ้มันได้แก่ อินโดนีเซีย 50 ล้านไร่ มาเลเซีย 35 ล้านไร่ ส่วนไทย 5.5 ล้านไร่ปัจจุบันภาครัฐของไทยมีเป้าหมายจะปลูกปาล์มให้ได้ทั้งสิ้น 10 ล้านไร่ภายในปี 2572 จากพื้นที่มีศักยภาพ ทั้งสิ้น 20 ล้านไร่

ปี 2564 การผลิตและการบริโภคน้ำมันปาล์มทั่วโลกมีปริมาณ 72.9 ล้านตัน และ 73.5 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 36.3% และ 36.5% ของปริมาณการผลิตและการบริโภคน้ำมันจากพืชทุกชนิดตามลำดับ แหล่งผลิตน้ำมันปาล์มที่สำคัญอยู่ในภูมิภาคอาเซียน โดยประเทศผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ที่มีบทบาทกำหนดทิศทางราคาในตลาดโลก คือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย มีผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 43.5 ล้านตัน และ 17.9 ล้านตัน ตามลำดับ ด้วยสัดส่วนรวมกัน 83.9% ของผลผลิตโลก และมีสัดส่วนส่งออกรวมกัน 89.2% ของปริมาณส่งออกน้ำมันปาล์มในตลาดโลก ส่วนประเทศผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มที่สำคัญ ได้แก่ อินเดีย (สัดส่วน 17.7% ของปริมาณนำเข้ารวมในตลาดโลก) จีน (14.3%) สหภาพยุโรป (13.0%) และปากีสถาน (7.2%) ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2560-2564) ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบจากทั่วโลก (เพื่อบริโภคและผลิตเป็นเชื้อเพลิง) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.8% ต่อปี ขณะที่ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.8% ต่อปี โดยมีน้ำมันปาล์มดิบคงเหลือสะสมอยู่ที่ 12.9 ล้านตัน ณ ปี 2564[4]

ปาล์มน้ำมันแต่ละต้นจะกำหนดปริมาณการให้ช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกตัวเมีย ล่วงหน้า 3 เดือน โดยขึ้น กับปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มน้ำมันนั้น ๆ ได้รับ เช่น หากต้นปาล์มได้รับน้ำ ในปริมาณที่เหมาะสมในวันนี้ต้นปาล์มก็จะกำหนดให้ลำต้นออกช่อดอกตัวเมียมากกว่าช่อดอกตัวผู้ ในทางกลับกัน หากต้นปาล์มนั้น ๆได้รับน้ำ ในปริมาณที่ไม่เพียงพอในวันนี้ต้นปาล์มก็จะกำหนดให้ลำต้นออกช่อดอกตัวผู้มากกว่าช่อดอกตัวเมีย ซึ่งช่อดอกทั้ง ตัวผู้และตัวเมียที่ถูกกำหนดล่วงหน้านี้จะไปผลิออกเป็นช่อดอกในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดังนั้น ปาล์มที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว จะให้ผลผลิตตามปริมาณน้ำฝนที่ได้รับ ยิ่งถ้าพื้นที่ที่ปลูกปาล์มน้ำมันมีช่วงฝนแล้ง หรือขาดน้ำ หลายเดือน ปาล์มนั้น ๆ ก็จะให้ช่อดอกตัวผู้ในปริมาณมาก หรือแทบไม่ให้ช่อดอกตัวเมียเลย ต้นปาล์มจะมีลักษณะสูงเร็ว เพราะไม่ต้องสูญเสียธาตุอาหารในการออกลูกออกผลปาล์มน้ำมันที่ขาดน้ำ เป็นระยะเวลาหลายเดือน จะให้แต่ช่อดอกตัวผู้ หรือแทบจะไม่ให้ช่อดอกตัวเมียเลย แม้ว่าเราจะให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างเต็มที่กับต้นปาล์มในเวลาต่อมา ก็ไม่สามารถแก้ไขให้ต้นปาล์มออกช่อดอกตัวเมียมากขึ้นได้ เพราะปริมาณการออกช่อดอกตัวเมียได้ถูกกำหนดไว้แล้วเมื่อ 3 เดือนที่แล้วตามปริมาณน้ำที่ต้นปาล์มน้ำมันต้นดังกล่าวได้รับแต่การให้น้ำให้ปุ๋ยอย่างเต็มที่กับต้นปาล์มในเวลาต่อมาจะไปมีผลให้ต้นปาล์มออกช่อดอกตัวเมียมากขึ้น ในอีก 3 เดือนข้างหน้าอย่างไรก็ตามหากช่อดอกตัวเมียที่ออกมา กระทบกับช่วงฤดูแล้งหรือภาวะต้นปาล์มขาดน้ำ ช่อดอกตัวเมียดังกล่าวก็อาจจะฝ่อไม่ให้ผลเพื่อลดการสูญเสียน้ำ

อายุปลูกลงดิน 1 ½ - 3 ½ ปี: ต้นปาล์มจะเริ่มออกดอกให้ลผลิต มีผลปาล์มออกดกรอบต้น เนื่องจากต้นปาล์มได้น้ำจากแปลงเพาะต้นกล้า ในช่วงอายุปลูกประมาณ 2 ½ ขึ้นไป การกำหนดปริมาณช่อดอกตัวผู้-ตัวเมีย จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มได้รับบนแปลงปลูกนั้นๆ(น้ำจากฝนและการรดน้ำ)

อายุปลูกลงดินประมาณ 3 ½ ปี เป็นช่วงปาล์มขาดคอ ต้นปาล์มจะให้ช่อดอกตัวผู้ในปริมาณมากเป็นระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือนขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและการได้รับน้ำในแปลงปลูกนั้นๆ

อายุปลูกลงดิน 4 – 7 ปี ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีจะเริ่มให้ผลผลิตมากขึ้น ๆเรื่อย ถ้าเกษตรกรมีการให้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกอย่างถูกต้องรวมทั้งถ้ามีการให้น้ำได้ตลอดทั้งปีปริมาณน้ำหนักทะลายปาล์มเป็นตันต่อไร่ต่อปีที่รับประกันเอาไว้โดยผู้ผลิตแต่ละแหล่งสามารถที่จะรับประกันได้ที่อายุต้นปาล์ม 8 ปี อายุปลูก 8 ปีขึ้นไป ปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ถ้าเกษตรกรมีการให้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกอย่างถูกต้องและถ้ามีการให้น้ำได้ตลอดทั้งปีปริมาณน้ำ หนักทะลายปาล์มเป็นตันต่อไร่ต่อปี ต้องได้ตามปริมาณที่แต่ละแหล่งผลิตรับประกันด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากวิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มที่ต้นสูงมากไม่สามารถใช้เสียมแทงปาล์มได้ต้องใช้เคียวตัดทางใบล่างออกก่อนแล้วจึงจะสามารถใช้เคียวตัดทะลายปาล์มลงมาได้ด้วยวิธีดังกล่าวจะทำให้ต้นปาล์มมีทางใบน้อยลงเสมือนมีขนาดโรงครัวปรุงอาหารเล็กลงทำให้ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตน้อยลงตามไปด้วย

การให้นํ้ากับต้นปาล์มนํ้ามันในปริมาณที่เหมาะสม

จากการศึกษาทางวิชาการเสนอไว้ว่า ปาล์มน้ำมันแต่ละต้นต้องการน้ำวันละ 200 ลิตรซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับเกษตรกรที่จะต้องจัดหาน้ำปริมาณดังกล่าว เพื่อใช้รดให้กับต้นปาล์มน้ำมันอูติพันธุ์พืชเสนอให้ใช้วิธีสังเกตยอดต้นปาล์มที่มียอดแหลม ไม่คลี่ออก คล้ายหอก หากปรากฏว่าปาล์มน้ำมันต้นใดมียอดแหลม ไม่คลี่ คล้ายหอก สูงในระดับใกล้เคียงกัน มากกว่า 2 ยอดหอกแสดงว่าปาล์มน้ำมันต้นดังกล่าวขาดน้ำแล้ว ต้องให้น้ำแก่ต้นปาล์มนั้นๆมากขึ้นลักษณะการให้น้ำ ด้วยท่อพีอีพันรอบลำต้นปาล์มและใส่หัวฉีดขนาดเล็กจำนวน 3 หัว พ่นน้ำหันออกจากลำต้นทำให้ไม่เกะกะและเสียหายจากการเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันลักษณะของยอดปาล์มที่แหลม ไม่คลี่ใบออก คล้ายหอกหากมียอดหอกดังกล่าว ที่มีความสูงระดับใกล้เคียงกันมากกว่า 2 ยอด แสดงว่าปาล์มอยู่ในภาวะขาดน้ำหรือได้รับน้ำไม่เพียงพอต้องเพิ่มการให้น้ำ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Elaeis". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ 12 December 2017.
  2. https://www.rakbankerd.com/agriculture/infographic-view.php?id=14
  3. http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=67386
  4. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/agriculture/palm-oil/IO/Oil-palm-industry-2022-2024

แหล่งข้อมูลอื่น แก้