ปัฏฏทกัลลุ
ปัฏทกัล หรือ ปัฏฏทกัลลุ หรือ รักตปุระ เป็นหมู่เทวสถานในศาสนาฮินดูและไชนะสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 7 และ 8 ในตอนเหนือของรัฐกรณาฏกะ บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำมาลประภา ในอำเภอพคลโกฏ หมู่เทวสถานนี้ได้รับสถานะแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก[1][2] ตั้งอยู่ราว 14 ไมล์ (23 กิโลเมตร) จากพทามี และราว 6 ไมล์ (9.7 กิโลเมตร) จากไอโหเล ซึ่งล้วนเป็นศูนย์กลางสำคัญของจลุกยะ[3][4] ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของกรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย (ASI)[5]
ปัฏฏทกัลลุ | |
ที่ตั้ง | อำเภอพคลโกฏ, รัฐกรณาฏกะ, ประเทศอินเดีย |
---|---|
พิกัด | 15°57′05″N 75°48′53″E / 15.95139°N 75.81472°E |
ประเภท | วัฒนธรรม |
เกณฑ์ | iii, iv |
ขึ้นเมื่อ | 1987 (11th session) |
เลขอ้างอิง | 239 |
รัฐ | ประเทศอินเดีย |
ภูมิภาค | เอเชียแปซิฟิก |
ยูเนสโกระบุว่าหมู่โบราณสถานนี้เป็น "การผสมผสานอย่างลงตัวของรูปแบบสถาปัตยกรรมอินเดียเหนือและใต้" และเป็นผลงานชิ้นเอกของ "ศิลปะสรรหา" (eclectic art) ที่จุดสูงสุด[2] หมู่มนเทียรฮินดูที่นี่สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะ รวมถึงปรากฏลักษณะเทววิทยาและตำนานแบบลัทธิไวษณพ และ ลัทธิศักติ เช่นเดียวกัน งานแกะสลักปรากฏเรื่องราวจากพระเวทและปุราณะ รวมถึง รามายณะ, มหาภารตะ, ภควตาปุราณะ, ปัญจตันตระ และ กิราตารชุนียะ[2][6] เทวสถานที่ประณีตที่สุดในบรรดาทั้งหมดปรากฏงานแกะสลักที่ผสมผสานแบบอินเดียเหนือและอินเดียใต้อย่างลงตัว เช่นในปาปนาถมนเทียร (Papanatha) และวิรูปักษมนเทียร (Virupaksha)[7][8] วิรูปักษมนเทียรในปัจจุบันยังคงเป็นเทวสถานที่มีการบูชาและประกอบพิธีเป็นปกติอยู่[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อArch
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Group of Monuments at Pattadakal, UNESCO; See also Advisory Body Evaluation (ICOMOS), UNESCO
- ↑ World Heritage Sites - Pattadakal - More Detail, Archaeological Survey of India, Government of India (2012)
- ↑ Michell 2017, pp. 12–19, 110–114.
- ↑ World Heritage Sites - Pattadakal; Group of Monuments at Pattadakal (1987), Karnataka; ASI, Government of India
- ↑ Michell 2017, pp. 110–131.
- ↑ Cathleen Cummings 2014, pp. 1–7.
- ↑ Lippe 1967.
- ↑ Virupaksha Temple เก็บถาวร 1 พฤศจิกายน 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ASI India (2011)
บรรณานุกรม
แก้- Vinayak Bharne; Krupali Krusche (2014). Rediscovering the Hindu Temple: The Sacred Architecture and Urbanism of India. Cambridge Scholars. ISBN 978-1-4438-6734-4.
- Cathleen Cummings (2014). Decoding a Hindu Temple: Royalty and Religion in the Iconographic Program of the Virupaksha Temple, Pattadakal. South Asian Studies. ISBN 978-0-9834472-6-9.
- Heather Elgood (2000). Hinduism and the Religious Arts. Bloomsbury Academic. ISBN 978-0-304-70739-3.
- Adam Hardy (1995). Indian Temple Architecture: Form and Transformation : the Karṇāṭa Drāviḍa Tradition, 7th to 13th Centuries. Abhinav. ISBN 978-81-7017-312-0.
- Stella Kramrisch (1993). The Hindu Temple. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-0224-7.
- Lippe, Aschwin (1967). "Some Sculptural Motifs on Early Calukya Temples". Artibus Asiae. 29 (1). doi:10.2307/3250288.
- George Michell (1977). The Hindu Temple: An Introduction to Its Meaning and Forms. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-53230-1.
- George Michell (2002). Pattadakal. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-565651-0.
- Michell, George l (2014). Temple Architecture and Art of the Early Chalukyas: Badami, Mahakuta, Aihole, Pattadakal. Niyogi Books. ISBN 978-93-83098-33-0.
- Michell, George (2017). Badami, Aihole, Pattadakal. Jaico (Reprinted, Orig Year: 2011). ISBN 978-81-8495-600-9.
- Michael W. Meister; Madhusudan A. Dhaky (1996). Encyclopaedia of Indian Temple Architecture. American Institute of Indian Studies. ISBN 978-81-86526-00-2.
- Upinder Singh (2008). A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century. Pearson Education. ISBN 978-81-317-1677-9.