ปลาโรซีบิตเทอร์ลิง
ปลาโรซีบิตเทอร์ลิง | |
---|---|
ชนิด R. o. ocellatus ตัวผู้ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cyprinidae |
สกุล: | Rhodeus |
สปีชีส์: | R. ocellatus |
ชื่อทวินาม | |
Rhodeus ocellatus (Kner, 1866) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาโรซีบิตเทอร์ลิง (อังกฤษ: rosy bitterling; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhodeus ocellatus) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
เป็นปลาขนาดเล็ก โตเต็มที่มีขนาดประมาณ 10–11 เซนติเมตร อายุขัยโดยเฉลี่ย 4–5 ปี อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำประเภทไหลช้า เช่น บึง, ทะเลสาบน้ำจืด และแม่น้ำลำคลอง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทั้งจีน, ญี่ปุ่น, คาบสมุทรเกาหลี จนถึงเวียดนามตอนเหนือ ปัจจุบันจำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ R. o. kurumeus หรือเรียกว่า R. o. smithi และ R. o. ocellatus พบในจีน, ไต้หวัน และญี่ปุ่น โดยแต่เดิมนั้นเชื่อว่าเป็นปลาพื้นเมืองที่พบเฉพาะไต้หวันเท่านั้น แต่หลังจากศตรรษที่ 18 แล้ว ได้แพร่กระจายพันธุ์ออกสู่ที่ต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออก[1][2]
มีพฤติกรรมการผสมพันธุ์วางไข่ที่แปลก คือ ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายหาหอยกาบน้ำจืดที่มีสุขภาพดี และปลาตัวเมียจะขยายอวัยวะวางไข่ด้วยการสอดท่อวางไข่ลงไปในโพรงกาบหอยและฝากไข่ไว้ในนั้น จากนั้นปลาตัวผู้จะตามเข้าไปฉีดสเปิร์ม หอยกาบจะสูบฉีดน้ำดึงเอาสเปิร์มจากปลาตัวผู้เข้าไปในตัวเองจนเกิดการปฏิสนธิ เมื่อหอยดึงเอาน้ำและออกซิเจนฟักไข่จนลูกปลาฟักออกเป็นตัวแล้วจึงว่ายออกมา โดยเฉลี่ยแล้วไข่ปลาจะยังฟักและได้รับการปกป้องภายในหอยกาบราวหนึ่งเดือน ลูกปลาจึงจะว่ายออกมา โดยที่หอยเองก็ได้ประโยชน์จากการนี้เพราะว่าได้ฝากไข่ติดไปกับตัวลูกปลาเพื่อกระจายและขยายพันธุ์ต่อด้วย
เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามตามตู้ปลาที่ปูพื้นด้วยกรวดขนาดเล็กและทราย โดยผู้เลี้ยงอาจจะใส่หอยกาบน้ำจืดลงไปด้วยเพื่อให้ปลาวางไข่ เป็นปลาที่กินอาหารได้หลากหลายทั้ง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง, ปรสิต, ตัวอ่อนแมลงน้ำ, ลูกน้ำ, ไรแดง รวมถึงพืชชนิดต่าง ๆ ในแถบยุโรปนิยมเลี้ยงกันในบ่อปลาคาร์ป เพื่อให้ช่วยกำจัดปรสิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนอนสมอ และยังใช้กำจัดลูกน้ำ ซึ่งเป็นตัวอ่อนของยุง เป็นการควบคุมโรคระบาดที่เกิดจากยุงได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้แล้ว ปลาโรซีบิตเทอร์ลิงยังใช้ในการทดสอบการตั้งครรภ์ของสตรีได้อีกด้วย โดยนำเอาปัสสาวะของผู้ทดสอบหยดลงในน้ำใกล้กับปลาตัวเมีย หากเป็นปัสสาวะของสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในยูเรียในน้ำปัสสาวะจะทำให้ท่อวางไข่ของปลาตัวเมียยื่นออกมา[3]
คลังภาพ
แก้-
ชนิดย่อย R. o. kurumeus
-
ชนิดย่อย R. o. kurumeus ตัวผู้ (♂)
-
ชนิดย่อย R. o. kurumeus ในแหล่งน้ำธรรมชาติ
-
ชนิดย่อย R. o. ocellatus ตัวเมีย (♀) ที่เมืองฮะมะมะสึ จังหวัดชิซุโอะกะ
อ้างอิง
แก้- ↑ Nagata, Y., T. Tetsukawa, T. Kobayashi and K. Numachi. 1996. Genetic markers distinguishing between the two subspecies of the rosy bitterling, Rhodeus ocellatus(Cyprinidae). Japan. J. Ichthyol. 43: 117-124
- ↑ Kimura, S., and Nagata, Y. 1992. Scientific name of Nippon baratanago, Japanese bitterling of the genus Rhodeus. Japan.J.Ichthyol. 38: 425-429
- ↑ หน้า 82-86, Rosy Bitterling "ลูกน้อย (ใน) หอยกาบ" โดย สุริศา ซอมาดี. "Mini Fish". นิตยสาร Aquarium Biz Vol.5 issue 57: March 2015
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Conservation of Nippon Baratanago and its Environment เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ニッポンバラタナゴの保護と環境保全 (ญี่ปุ่น)
- Photo of Nippon Baratanago เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 日本バラタナゴ専門 (ญี่ปุ่น)
- Photo of Tairiku Baratanago เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน タイリクバラタナゴ専門] (ญี่ปุ่น)
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Rhodeus ocellatus ที่วิกิสปีชีส์