ปลาฉลามครีบดำ
ปลาฉลามครีบดำ | |
---|---|
ปลาฉลามครีบดำที่เกาะกวม | |
ปลาฉลามครีบดำขณะเข้ามาหากินในชายหาดที่มีน้ำตื้น ๆ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
อันดับ: | Carcharhiniformes |
วงศ์: | Carcharhinidae |
สกุล: | Carcharhinus |
สปีชีส์: | C. melanopterus |
ชื่อทวินาม | |
Carcharhinus melanopterus (Quoy & Gaimard, 1824) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของฉลามครีบดำ (สีน้ำเงิน) | |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อพ้อง
|
ปลาฉลามครีบดำ หรือ ปลาฉลามหูดำ (อังกฤษ: Blacktip reef shark; ชื่อวิทยาศาสตร์: Carcharhinus melanopterus) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเพรียวยาว ปากกว้าง มีแถบดำที่ครีบหลัง ครีบไขมัน ครีบก้น และครีบหางตอนล่าง เป็นที่มาของชื่อ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยไม่ดุร้ายเมื่อเทียบกับปลาฉลามชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณใกล้ชายฝั่ง และอาจเข้ามาในบริเวณน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำ โดยสามารถเข้ามาหากินใกล้ชายฝั่ง แม้กระทั่งในพื้นที่ ๆ มีน้ำสูงเพียง 1 ฟุต[2] เป็นปลาหากินในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวพักผ่อนตามแนวปะการัง โดยจะหากินอยู่ในระดับน้ำความลึกไม่เกิน 100 เมตร[3] ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ตัวเมียตั้งท้องนาน 18 เดือน ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 2-4 ตัว เมื่อโตขึ้นมาแล้วสีดำตรงที่ครีบหลังจะหายไป คงเหลือไว้แต่ตรงครีบอกและครีบส่วนอื่น
ปลาฉลามครีบดำ นับเป็นปลาฉลามชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในทะเล และเป็นต้นแบบของปลาฉลามในสกุลปลาฉลามปะการัง[4] มีนิสัยเชื่องคน สามารถว่ายเข้ามาขออาหารได้จากมือ เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้ที่นิยมการดำน้ำ พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นิยมใช้บริโภคโดยเฉพาะปรุงเป็นหูฉลาม เมนูอาหารจีนราคาแพง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้วย[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ Heupel, M. (2005). Carcharhinus melanopterus. In: IUCN 2005. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on September 15, 2009.
- ↑ [https://web.archive.org/web/20091123215057/http://www.ruktv.com/%E0%B8%94%E0%B8%B9-%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2-17-11-52/ เก็บถาวร 2009-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รายการแดนสนธยา ตอน สวรรค์แปซิคฟิคใต้ ออกอากาศวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ทางช่อง 9]
- ↑ "ฝูงฉลามหูดำนับสิบ ว่ายหากินทะเลกระบี่". ไทยรัฐ. 15 October 2015. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.
- ↑ Carrier, J.C., J.A. Musick and M.R. Heithaus (2004). Biology of Sharks and Their Relatives. CRC Press. p. 52. ISBN 084931514X.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "ปลาฉลามหูดำ หรือฉลามครีบดำ". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Carcharhinus melanopterus ที่วิกิสปีชีส์