ปลากบ (อังกฤษ: frog fish) เป็นปลาในตะกูลปลาตกเบ็ดพบได้ทั่วไปในมหาสมุทรเขตร้อนยกเว้นทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มันเป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะสั้นตัวหนาและมีครีบและสีตัวที่ใช้ในการพลางตัวได้ดีและบางชนิดสามารถเปลียนสีได้

ปกติอาศัยอยู่บริเวณพื้นทะเลที่มีสาหร่ายซาร์กัสซัม ทำให้มีอีกชื่อนึงว่าปลาซาร์กัสซัม พวกมันจะมีสิ่งมีชีวิตอื่นขึ้นตามลำตัวจึงทำให้สามารถพรางตัวได้ดี มันยังเคลื่อนที่ช้า ๆ หรือการล่อเหยือเพื่อจะได้พรางตัวได้อย่างแนบเนียนและเมื่อมีเหยือเข้ามาใกล้พวกมันก็จะพุ่งกระโจนเข้าหาเหยือและงับอย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาเพียง 6 มิลลิวินาทีเท่านั้น[2]

จากหลักฐานทางฟอสซิลพบว่าพวกมันเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยไมโอซีน

ถิ่นที่อยู่ แก้

ปลากบจะอาศัยอยู่บริเวณเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดียและทะเลแดงอุณหภูมิของน้ำที่พวกมันอาศัยอยู่จะมีอุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซลเซียส

พวกมันสามารถพบได้มากบริเวณอะโซร์ส มาเดรา กานาเรียส และบริเวณชายฝั่งของสหรัฐ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศแอฟริกาใต้ รวมถึงประเทศเม็กซิโก[3][4]

พวกมันมีสายพันธุ์ที่แพร่หลายมากที่สุดคือที่บริเวณภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ตรงประเทศอินโดนีเซียซึ่งสามารถพบสายพันธุ์ของปลากบที่แตกต่างกันได้ถึง 9 ชนิดโดยปกติปลากบจะอาศัยอยู่บนพื้นมหาสมุทรรอบแนวปะการังทั่วไปที่ความลึกประมาณ 100 เมตร (330 ฟุต)

และยังมีบางชนิดที่อาศัยอยู่บริเวณน้ำกร่อยหรือบริเวณปากแม่น้ำ[5]ที่มีสาหร่ายซาร์กัสซัมเจริญเติบโตอยู่ทำให้มันถูกเรียกอีกชื่อนึงว่าปลาซาร์กัสซัม[6]

ลักษณะ แก้

 
ปลากบสายพันธุ์striated frogfishทีมีลักษณะเหมือนปะการังและมีคันยึดที่คล้ายหนอนทะเล
 
ปลากบที่ ประเทศฟิลิปปินส์

ปลากบนั้นมีลักษณะลำตัวที่หนามีความยาวตั้งแต่ 2.5-38 ซม. (0.98-14.96 นิ้ว)มันมีขากรรไกรที่ใหญ่[7]มีกระดูสันหลังระหว่าง 18 และ 23ซี่ และปากของพวกมันมีฟันที่ชี้ขึ้นไปข้างบน พวกมันมีสีที่สดใสหลายสีเช่นสีขาว, สีเหลือง, สีแดง, สีเขียวหรือสีดำ[3]หรือสีที่มีความประสมประสานกันจนออกมาคล้ายสีสภาพแวดล้อมที่พวกมันอยู่

ปลากบนั้นจะมีลักษณะคันเบ็ดilliciumและติ่งเนื้อมีปลายคันเบ็ดescaไม่เหมือนกันก็เพราะเนื่องจากเอาไวใช้ทำหน้าที่ต่างกันและยังสามารถใช้ในการแบ่งแยกสายพันธุ์ได้อีกด้วย[8]อาหารส่วนใหญ่ของปลากบก็คือกุ้ง,โพลีคีทาและหนอนทะเลบางจำพวก[9]

การพรางตัว แก้

ลักษณะของปลากบนั้นทำให้พวกมันสามารถใช้ในการพรางตัวตามสถานที่นั้น ๆ เพื่อการล่าเหยือได้จากการสำรวจและศึกษาพฤติกรรมของปลากบจากรูปร่างและสีของพวกมันนั้นพบว่าพวกมันทำตัวให้เหมือนหินหนือปะการัง และสิ่งอื่น ๆ เช่นในปี 2005 ได้มีการ strogated frogfish ซึ่งอาศัยอยู่ในแหล่งสาหร่ายซาร์กัสซัมและส่าหร่ายทะเลอื่น ๆ [10] มันได้มีการประรูปร่างและสีของมันจนกลมกลืนกับกลุ่มสาหร่ายซาร์กัสซัมเหล่านั้น

อีกทั้งบางตัวนั้นยังมีการปกคลุมด้วยส่าหร่ายจึงทำให้ล่าเหยือได้อีกทั้งเมื่อมีนักล่ามามันก็ไม่ต้องกังวลเนื่องจากมันอำพรางตัวจนนักล่าไม่สามารถสังเกตได้

สำหรับปลากบที่ไม่มีเกล็ดและไม่มีการพลางตัวซึ่งเป็นสิ่งป้องกันตัวจากผู้ล่า จึงทำให้พวกมันทำตัวเหมือนปลาปักเป่าด้วยการดูดน้ำให้ตัวใหญ่เมื่อรู้สึกโดนคุกคาม[11]จากการสังเกตเมือพวกมันอยู่ในตู้ปลาแล้วพวกมันถูกเอาออกจากจุดซ่อนตัวพวกมันก็จะถูกโจมตีด้วยปลาการ์ตูนด้วย

ปลากบบางตัวสามารถเปลียนสีได้[3]โดยทั่วไปมันจะมีสีขาว, สีเหลือง, สีแดง, สีเขียวหรือสีดำเมือมันอยู่ในที่ซ่อนตัวพวกมันก็จะเริ่มเปลียนสีภายในไม่กี่วันถึงหลายสัปดาห์ส่วนวิธีหรือสิ่งที่ทำให้มันเปลียนสีได้นั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด[3]

การเคลื่อนไหว แก้

โดยปกติพวกมันไม่ได้เคลือนไหวบ่อยมากนักเพราะมันชอบรอเหยือให้เข้ามาหามากกว่าแต่เมือเวลาพวกมันเคลือนไหวพวกมันจะใช้ครีบของมันเดินบนพื้นเหมือนปลาตีนโดยใช้ครีบทั้งสี่ของมัน[9][12]และใช้ครีบหางในการดันตัวเองไปข้างหน้าหรือทิศทางที่พวกมันต้องการจะไป[7]พวกมันจะเดินเหมือสัตว์สี่ขาโดยการขยับครีบหน้าอกไปข้างหน้าและข้างหลังโดยการย้ายน้ำหนักไปที่ครีบท้องสะโพกขณะเคลื่อนตัวไปข้างหน้า[12]และบางชนิดยังสามารถปีนขึ้นไปบนสาหร่ายได้อีกด้วย[3]

การล่า แก้

ปลากบนั้นส่วนมากกินกุ้ง, ปลาเล็กและอื่น ๆ โดยมันจะรอให้เหยือเข้ามาใกล้ตัวจากนั้นเมือเหยือเข้ามาใกล้มันก็จะเปิดฉากเข้าจู่โจมด้วยการหุบเหยือด้วยความเร็วถึง6 มิลลิวินาที[13]และน้ำก็จะไหลออกจากเหงือกแล้วแหยือก็จะไหลลงไปสู่หลอดอาหารปิดด้วยกล้ามเนื้อพิเศษเพื่อไม่ให้เหยื่อหลบหนีและนอกเหนือจากการขยายปากของพวกมันได้แล้วปลากบยังสามารถขยายท้องและกระเพาะของพวกมันได้ถึงทำให้มันกินเหยือที่มีขนาดใหญ่ถึง2เท่าของตัวมันคล้ายปลาตกเบ็ดสายพันธุ์อื่น ๆ [9]

การถ่ายทำแบบช้า ๆ แสดงให้เห็นว่าการหุบเหยื่อของมันนั้นใช้เวลาเพียงหกมิลลิวินาทีซึ่งเร็วจนสัตว์ตัวอื่น ๆ ไม่สามารถมองเห็นได้[14]

การสืบพันธุ์ แก้

พฤติกรรมการสืบพันธุ์ของปลากบในตอนนี้ยังไม่ได้มีการตรวจสอบและศึกษาอย่างเต็มที่เพราะมีการสังเกตการณ์ในตู้ปลาและตามธรรมชาติน้อยมาก แต่ก็มีการศึกษาโดยเพศเมียจะวางไข่จากนั้นเพศผู้ก็จะเข้ามาชีดน้ำเชื้อใส่[8] ไข่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 มิลลิเมตร (0.020-0.039 นิ้ว)[8][15] และยึดติดอยู่กับมวลอวบอ้วนหรือริบบัวยาวซึ่งมีขนาดยาวไม่เกิน 1.6 เมตรและยาว 16 ซม. (6.5 นิ้ว) ซึ่งใยบัวยาวเหล่านี้สามารถรวมถึงไข่ได้ถึง 180,000 ฟอง[8][16]

ฟอสซิล แก้

แทบไม่มีซากดึกดำบรรพ์ของปลากบ แต่ก็มีการค้นพบตะกอนในช่วงสมัยอีโอซีนที่มีความสูง 3 เซนติเมตร โดยซากดึกดำบรรพ์มีชื่อว่า Histionotophorus bassani แต่ในเวลาต่อมาถือว่าอยู่ในความใกล้ชิดกับ ปลามือมากกว่า

อนุกรมวิธาน แก้

ปลากบเป็นปลาในตะกูลปลาตกเบ็ดชื่อทางวิทยาศาสตร์คือAntennariidae

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Arnold, R.J., Harcourt, R. & Pietsch, T.W. (2014). "A New Genus and Species of the Frogfish Family Antennariidae (Teleostei: Lophiiformes: Antennarioidei) from New South Wales, Australia, with a Diagnosis and Key to the Genera of the Histiophryninae". Copeia. 2014 (3): 534–539. doi:10.1643/ci-13-155.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Striated Frogfish เก็บถาวร 2012-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Florida Museum of Natural History
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Antennariidae: Frogfishes เก็บถาวร 2021-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Tree of Life Web Project
  4. Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2006). "Antennariidae" ในฐานข้อมูลปลา. ฉบับ เมษายน 2006
  5. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2009). "Antennarius biocellatus" in FishBase. Sep 2009 version.
  6. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2009). "Histrio histrio" in FishBase. Sep 2009 version.
  7. 7.0 7.1 Bray, Dianne. "Family ANTENNARIIDAE". Fishes of Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-19. สืบค้นเมื่อ 6 October 2014.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Diving with Frogfish Dive the World 2009
  9. 9.0 9.1 9.2 Frogfish Factsheet Shedd Aquarium Explore by Animal 2009
  10. Lloyd, Robin Crawling fish accepted as new species MSNBC.com
  11. Lloyd, Robin Crawling fish accepted as new species MSNBC.com
  12. 12.0 12.1 Bertelsen, E.; Pietsch, T.W. (1998). Paxton, J.R.; Eschmeyer, W.N. (บ.ก.). Encyclopedia of Fishes. San Diego: Academic Press. pp. 138–139. ISBN 0-12-547665-5.
  13. Striated Frogfish เก็บถาวร 2012-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Florida Museum of Natural History
  14. Striated Frogfish เก็บถาวร 2012-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Florida Museum of Natural History
  15. Frogfish spawn on Valentine's Day[ลิงก์เสีย] National Sea Life Center, Birmingham
  16. Frogfish spawn on Valentine's Day[ลิงก์เสีย] National Sea Life Center, Birmingham

แหล่งข้อมูลอื่น แก้