ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ (เกิด 5 กันยายน พ.ศ. 2482) ราชบัณฑิตและนักวิจัยไทยอาวุโสที่มีผลงานเด่นด้านพลังงานและพลังงานทางเลือก ทั้งทางด้านวิชาการและการเข้าร่วมเป็นคณะทำงานในคณะกรรมการด้านนโยบายพลังงานหลายชุด นอกจากนี้ยังมีผลงานด้านการจัดการการศึกษาและการวิจัยอีกด้วย เป็นอดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยชินวัตร
ประวัติ
แก้นายปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2482 ที่กรุงเทพฯ เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 5 คนของนายส่งและนางละม่อม วิบูลย์สวัสดิ์ สมรสแล้วกับนางกาญจนี วิบูลย์สวัสดิ์ มีบุตรหญิง 2 คน สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญคือ วิศวกรรมเครื่องกลและเทคโนโลยีพลังงาน
การศึกษา
แก้- พ.ศ. 2509 Ph.D. (วิศวกรรมศาสตร์) ยูนิเวอร์ซิตี้คอลเลจ ลอนดอน
- พ.ศ. 2505 DIC (Thermal Processes) อิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน
- พ.ศ. 2502 วท.บ. (วิศวกรรมศาสตร์) เกียรตินิยม อิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
การทำงาน
แก้- อธิการบดี มหาวิทยาลัยชินวัตร
- ผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศาสตราจารย์ สาขาเทคโนโลยีพลังงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- รองอธิการบดีวิชาการและกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- คณบดี คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- รองศาสตราจารย์ สาขาเทคโนโลยีพลังงาน สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ผู้ก่อตั้งภาควิชา)
- หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หน้าที่พิเศษอื่น
แก้- ประธานอนุกรรมการติดตามประเมินผลกองทุนอนุรักษ์พลังงาน
- กรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
- กรรมการคณะทำงานด้านการบริหารการจัดการอุดมศึกษา ยุทธศาสตร์การปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สาขาเทคโนโลยีพลังงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- กรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (กม.)
- ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
- ประธานคณะกรรมการวิศวกรรมศาสตร์ 2
- กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
ผลงานการบริหาร
แก้- พ.ศ. 2511 - จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- พ.ศ. 2517 - จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- พ.ศ. 2522 - จัดตั้งคณะพลังงานและวัสดุ และสายวิชาเทคโนโลยีพลังงาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- พ.ศ. 2532 - สายวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผลงานทางวิชาการ
แก้วารสารระดับนานาชาติ/ภูมิภาค
แก้- Nansaarng, S. and Srichandr, P., 2006, "Characterization of As-cast Titanium Aluminide on Ti-Al and Ti-Al-Nb Systems", WSEAS Transactions on Heat and Mass Transfer, Vol. 1, No. 4, April, pp. 493-499.
- Wibulswas, P., Chirachakhrit, Keochung, U., and Tiansuwan, J., 1999, "Combustion of Blends Between Plant Oils and Diesel Oil", Renewable Energy Vol. 16, pp. 1097-1101.
- P. Wibulswas, S. Chirachakhrit, U. Keochung, J. Tiansuwan, 1998, "Combustion of Blends Between Plant Oils and Diesel Oil", World Renewable Energy Congress: Renewable Energy 16, Pergamon, pp. 1097-1101.
วารสารระดับประเทศ
แก้- P. Wibulswas, 1998, "Sustainable Energy Development For Thailand", Songklanakarin J. Science and Technology, Volume 30th Anniversary of Prince of Songkla University, Thailand, pp. 88-96.
รายงานการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ
แก้- Wibulswas, P. and Khummongkol, P., 1998, "Renewable Energy for Mitigating Greenhouse Gases : Case Study of Thailand", Paper Present at Conference on New and Renewable Energy Resources: Pole Vaulting Opportunities Towards Sustainable Energy Development, June 25, Philippines.
- Wibulswas, P., Chirachakhrit, S., Keochung, U. and Tiansuwan, J., 1998, "Combustion of Blends between Plant Oils and Diesel Oil", World Renewable Energy Congress, September, Florence, Italy, pp. 1098-1101.
รายงานการประชุมทางวิชาการระดับประเทศ
แก้- ธิบดินทร์ แสงสว่าง, จิรวรรณ เตียรถ์สุวรรณ และปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์, 2546, "การทำนายสมรรถนะของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลผสมน้ำมันปาล์มโดยใช้ทฤษฎีการถ่ายเทมวล", การประชุมวิชาการเรื่องการถ่ายเทความร้อนและมวลในอุปกรณ์ด้านความร้อน, 24-25 มีนาคม, ศูนย์อบรมแม่เมาะ กฟผ., จ.ลำปาง, หน้า 72-76.
รางวัลหรือปริญญากิตติมศักดิ์ที่ได้รับ
แก้- พ.ศ. 2537 - รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเภทบุคคล จาก มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย
- พ.ศ. 2549 - รางวัลเกียรติยศ PTIT Distinguished Fellow ประจำปี 2549-2550 จาก สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย[1]
- พ.ศ. 2536 - วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ TAST NEWSLETTER, Number 17 เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2 มิ.ย. 2549
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2021-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๘๓, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติ ศ.ดร.ปรีดา วิบูลสวัสดิ์ เก็บถาวร 2008-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่เว็บไซต์สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์