ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทเมืองต่ำ เป็นหนึ่งในกลุ่มปราสาทมรรคโค เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าสร้างขึ้น เพื่อถวายพระศิวะ ตั้งอยู่บริเวณตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ปราสาทเมืองต่ำ | |
---|---|
Prasat Muang Tam | |
ปราสาทเมืองต่ำ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | ปราสาทหิน |
สถาปัตยกรรม | บาปวน คลัง |
เมือง | อำเภอประโคนชัย, จังหวัดบุรีรัมย์ |
ประเทศ | ประเทศไทย |
เริ่มสร้าง | ราวพุทธศตวรรษที่ 16 |
และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระเครื่อง ที่เรียกว่า "พระสมเด็จจิตรลดา"
ปราสาทเมืองต่ำ เป็นศาสนาสถาน ศิลปะขอมแบบบาปวน ปะปนศิลปะแบบคลัง อายุประมาณ พ.ศ. 1551-1630 หรือราวพุทธศตวรรษที่ 16-17[2]
ณ ปัจจุบัน ยังไม่สามารถระบุได้ว่า ใครเป็นผู้สร้างเทวสถานแห่งนี้ แต่จากสันนิษฐานว่า ปราสาทหลังนี้ น่าจะสร้างโดย พราหมณ์ยัชญวราหะ ผู้ที่สร้างปราสาทบันทายศรี เนื่องจากปราสาทเมืองต่ำ ถูกสร้างในเวลาใกล้เคียงกับปราสาทบันทายศรี และมีการวางผังปราสาท และการวางกลุ่มอาคารที่คล้ายคลึงกัน จึงอาจเป็นไปได้ว่า ปราสาทเมืองต่ำ อาจสร้างโดยพราหมณ์ยัชญวราหะ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5
ประวัติ
แก้ปราสาทเมืองต่ำสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ใน ศิลปะแบบคลัง และ ศิลปะบาปวนตอนต้น และลดความสำคัญลงไปในราวพุทธศตวรรษที่ 18 และถูกทิ้งร้างในที่สุด จนเมื่อราวปี พ.ศ. 2490 จึงเริ่มมีการอพยพเข้ามาของชาวบ้าน มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้อีกครั้งหนึ่ง
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
แก้ปราสาทเมืองต่ำน่าจะเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย แม้จะพบภาพสลักส่วนมากที่ ล้วนเป็นภาพเกี่ยวกับการอวตารของพระนารายณ์ อีกทั้งเป็นปราสาทน้ำล้อม ซึ่งเป็นลักษณะของไวษณพนิกาย แต่มีการค้นพบศิวลึงค์และฐานโยนีในปราสาทประธานและภาพสลักขององค์พระศิวะและพระอุมาสามารถสรุปได้ว่าสถานที่แห่งนี้สร้างเพื่อถวายแด่องค์พระศิวะ ปราสาทเมืองต่ำมีปรางค์ประธานห้าองค์บนฐานเดียวกัน เช่นเดียวกับปราสาทศีขรภูมิ
องค์ประกอบภายในปราสาทเมืองต่ำ
แก้สระน้ำระเบียงคด
แก้สระน้ำ 4 สระ ล้อมรอบระเบียงคดมีลักษณะเป็นรูปตัวแอล (L) ก่อสร้างด้วยศิลาแลงเป็นขั้นบันไดลงไปถึงก้นสระ ขอบสระด้านบนแกะสลักด้วยหินทรายเป็นลำตัวนาค ที่มุมสระสลักเป็นนาค 5 เศียร สระน้ำทั้ง 4 สระนี้ ใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
ภาพสลักดอกบัวแปดกลีบ
แก้บริเวณพื้นกลางห้องภายในซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก มีการสลักเป็นลายเส้นรูปดอกบัว 8 กลีบ ซึ่งอาจหมายถึงจุดกำหนดในการตั้งจิต อธิษฐานบูชาเทพเจ้า หรือหมายถึงการจำลองแผนผังของจักรวาล อันประกอบด้วยทิศสำคัญทั้ง 8 ทิศ
ระเบียงคดและซุ้มประตู
แก้ระเบียงคด เป็นแนวกำแพงชั้นในของโบราณสถาน ก่อสร้างด้วยหินทรายเชื่อมต่อกันโดยรอบ ล้อมรอบกลุ่มปราสาทอิฐ ภายในห้องกว้าง ประมาณ 2 เมตร พื้นปูด้วยศิลลาแลง ที่บริเวณกึ่งกลางของระเบียบคดทุกด้าน ก่อสร้างเป็นซุ้มประตูในแนวเดียวกันกับซุ้มประตูของกำแพงแก้ว
ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ
แก้ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ ก่อสร้างด้วยอิฐ เดิมมีลวดลายปูนปั้นประดับ ทับหลังทำจากหินทรายสลักภาพพระศิวะคู่กับพระอุมาประทับนั่งเหนือ โคนนทิ เรียกภาพตอนนี้ว่า "อุมามเหศวร"
ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือ
แก้ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือ ก่อสร้างด้วยอิฐ เดิมเคยมีลวดลายปูนปั้นประดับ ทับหลังทำจากหินทรายสลักภาพพระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ เพื่อปกป้อง คนเลี้ยงวัวและฝูงวัวให้พ้นภัยจากพายุฝน
ปราสาทแถวหลังองค์ทิศใต้
แก้ปราสาทแถวหลังองค์ทิศใต้ ก่อสร้างด้วยอิฐ เดิมมีลวดลายปูนปั้นประดับ ทับหลังทำจากหินทรายสลักภาพเทพเจ้าประทับนั่งเหนือหงส์ สันนิษฐานว่าเทพเจ้านี้หมายถึงพระวรุณเทพผู้รักษาทิศตะวันตก
ปรางค์ประธาน
แก้ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ตรงกลางเยื้องมาข้างหน้าเล็กน้อย ระหว่างปรางค์บริวารทั้งสองมีขนาดใหญ่กว่าปรางค์บริวารอีก 4 องค์ ทับหลังเป็นหินทราย
ปัจจุบันปรางค์ประธานได้ถล่มลงมาแล้วคงเหลือเฉพาะฐานที่ก่อด้วยศิลาแลง ลักษณะอาคารใช้อิฐเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก พบเพียงฐานเป็นศิลาแลง และหน้าบันซึ่งสลักจากหินทราย เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะปาปวน สันนิษฐานว่าตัวปราสาทเป็นปราสาทหินทราย นอกจากนี้ยังได้พบหลักฐานลวดลายปูนปั้นประดับ ซึ่งสร้างถวายพระศิวะเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพราะได้มีการขุดพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นรูปเคารพแทนองค์พระศิวะ และพบทับหลังสลักพระศิวะ ในปาง "กัลยาณะสุนทะระมูรติ" ส่วนบนของทับหลังจำหลักภาพฤๅษีนั่งประนมมือเป็นแถว จำนวน 7 ตน
กลุ่มปราสาทอิฐ
แก้เป็นอาคารสำคัญที่สุด ตั้งอยู่ตรงกลางของตัวปราสาทเมืองต่ำ ใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพและประกอบพิธีบวงสรวงเทพเจ้าประกอบด้วยปราสาทอิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันองค์ปราสาทก่อด้วยอิฐเรียงเป็น 2 แถว แถวหน้า 3 องค์ และแถวหลัง 2 องค์ กลุ่มปราสาทอิฐ 5 องค์นี้แสดงสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุศูนย์กลางจักรวาลปราสาทประธาน ส่วนตรงกลางคือส่วนปรางค์ประธาน ซึ่งได้ปรักหักพังเหลือเพียงฐาน
บรรณาลัย
แก้บรรณาลัย 2 หลัง ก่อสร้างด้วยอิฐ อยู่บริเวณด้านหน้าของกลุ่มปราสาทอิฐ ข้างละ 1 หลัง ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขและประตูทางเข้าด้านทิศตะวันตกด้านเดียว ส่วนผนังหลังคาพังลงหมดเหลือเพียงกรอบประตูและทับหลัง จากรูปแบบของอาคารเป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ ตำราทางศาสนา หรืออาจเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปเคารพ
ปราสาทประกอบ
แก้ปราสาทประกอบอีก 4 หลังเป็นปราสาทอิฐ ปัจจุบันได้รับการบูรณะในสภาพสมบูรณ์ และมีหน้าบันด้านหน้าอยู่ครบ โดยปราสาทแถวหลังองค์ทิศใต้ มีหน้าบันเป็นภาพพระวรุณเทพประทับเหนือหงษ์ ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือเป็นภาพพระกฤษณะ (ร่างอวตารของพระวิษณุ) ยกภูเขาโควรรธนะ ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศใต้เป็นภาพพระอินทร์ ปางมหาราชลีลาสนะ (นั่งชันเข่า) ประทับเหนือหน้ากาล ส่วนปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ เป็นภาพพระศิวะคู่พระอุมา ประทับบนโคนนทิในปาง อุมามเหศวร
ภาพมุมกว้างส่วนใน
แก้ทะเลเมืองต่ำ
แก้ทะเลเมืองต่ำ หรือ "สระบาราย" ตั้งอยู่ที่บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก เป็นสระน้ำขนาดใหญ่ที่ขุดขึ้นมาในสมัยเดียวกันกับตอนสร้างปราสาท อยู่ห่างจากตัวปราสาทเมืองต่ำไปทางทิศเหนือราว 200 เมตร สร้างขึ้นเพื่อการอุปโภค การชลประทานของชุมชน มีขนาดกว้างประมาณ 510 เมตร ยาวประมาณ 1,090 เมตร ลึกประมาณ 3 เมตร ก่อขอบสระด้วยศิลาแลง 3 ชั้น บนขอบสระด้านยาว คือ ด้านทิศเหนือและทิศใต้มีท่าน้ำเป็นชานกว้าง ขนาดกว้างประมาณ 6.90 เมตร ยาว 17 เมตร ปูพื้นด้วยศิลาแลงลาดลงไปยังฝั่งน้ำ ซึ่งก่อบันไดท่าน้ำเป็นทางลงสระรวม 5 ขั้น ท่าน้ำทั้ง 2 ฝั่งนี้อยู่ในแนวตรงกันประมาณกึ่งกลางของขอบสระ[3]
รูปภาพ
แก้-
บารายขนาดกลาง ล้อมรอบปราสาททุกทิศทาง
-
ปราสาทแถวหลังทิศใต้ (ซ้าย) และปราสาทแถวหลังทิศเหนือ (ขวา)
-
หน้าบันปรางค์ประธาน
-
ส่วนในของปราสาทเมืองต่ำและสระบัว
อ้างอิง
แก้- ↑ ประมวลภาพปราสาทเมืองต่ำ
- ↑ กรมศิลปากร, กองโบราณคดี, ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 2 จังหวัดบุรีรัมย์ กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2536
- ↑ กรมศิลปากร, สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9, ปราสาทเมืองต่ำ, กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2540.