ประเทศบังกลาเทศในโอลิมปิก

คลอละมอลอละทลอลิบลอลายยบลโอลอะดคลอลามม(ปลอละทลเอลดบลอละงกลอละลอลาทลเอลด)

ประเทศบังกลาเทศ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทุกครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 โดยบังคลาเทศแข่งขันเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียก่อนปี ค.ศ. 1947 และปากีสถานก่อนปี ค.ศ. 1972 ประเทศบังกลาเทศไม่เคยได้รับเหรียญรางวัลในโอลิมปิกฤดูร้อนและไม่เคยแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว

ในปี ค.ศ. 2016 สิทดิเกอร์ เราะห์มาน กลายเป็นชาวบังคลาเทศคนแรกที่ผ่านเข้ารอบการแข่งขันกอล์ฟโอลิมปิก[1] และบังกลาเทศส่งนักกีฬา 7 คนไปแข่งขันมากกว่าปีอื่น ๆ ประเทศบังกลาเทศได้ส่งตัวแทนอื่น ๆ ไปแข่งขันด้วยกระบวนการไวด์การ์ด[2] บังกลาเทศมีประชากรประมาณ 170 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกที่ไม่เคยได้รับเหรียญโอลิมปิก[3]

วาลี อุลละห์ หัวหน้าสมาคมกีฬาโอลิมปิกแห่งบังคลาเทศกล่าวว่าเศรษฐกิจที่อ่อนแอของบังคลาเทศมีสาเหตุมาจากผลงานด้านกีฬาที่ย่ำแย่

สรุปเหรียญรางวัล แก้

โอลิมปิกฤดูร้อน แก้

ปีการแข่งขัน นักกีฬา ทอง เงิน ทองแดง รวม อันดับ
1900–1936 ส่วนหนึ่งของ   อินเดีย
1948–1968 ส่วนหนึ่งของ   ปากีสถาน (PAK)
  มิวนิก 1972 ไม่ได้เข้าร่วม
  มอนทรีอัล 1976
  มอสโก 1980
  ลอสแอนเจลิส 1984 1 0 0 0 0
  โซล 1988 6 0 0 0 0
  บาร์เซโลนา 1992 6 0 0 0 0
  แอตแลนตา 1996 4 0 0 0 0
  ซิดนีย์ 2000 5 0 0 0 0
  เอเธนส์ 2004 4 0 0 0 0
  ปักกิ่ง 2008 5 0 0 0 0
  ลอนดอน 2012 5 0 0 0 0
  รีโอเดจาเนโร 2016 7 0 0 0 0
  โตเกียว 2020 6 0 0 0 0
  ปารีส 2024 อนาคต
  ลอสแอนเจลิส 2028
  บริสเบน 2032
รวม 0 0 0 0

อ้างอิง แก้

  1. "Golfer Siddikur Rahman becomes first Bangladesh player to qualify for Olympics". 13 July 2016. สืบค้นเมื่อ 10 August 2017.
  2. "Bangladesh's Preparation for Beijing Olympics in Full Swing" เก็บถาวร 2019-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Xinhua. June 15, 2008.
  3. "The 10 Most Populous Countries To Never Win An Olympic Medal". BuzzFeed Community. สืบค้นเมื่อ 22 February 2016.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้