ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน
ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ไม่ประสบความสำเร็จในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นการสู้รบในประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 17 ถึง 25 กันยายน ค.ศ. 1944 มันเป็นความคิดของจอมพลมอนต์โกเมอรีและการสนับสนุนอย่างมากมายของวินสตัน เชอร์ชิลและแฟรงกลิน รูสเวสต์ ปฏิบัติการการโดดร่มซึ่งถูกดำเนินโดยกองทัพขนส่งทางอากาศฝ่ายสัมพันธมิตรที่หนึ่ง(First Allied Airborne Army) กับปฏิบัติการทางบกโดยกองทัพน้อยที่ 30 ของกองทัพบกบริติชที่สอง เป้าหมายคือการสร้างส่วนที่ยื่นออกมาในระยะทางประมาณ 64 ไมล์ (103 กิโลเมตร) ในการเข้าสู่ดินแดนเยอรมัน โดยมีหัวสะพานในการข้ามแม่น้ำไรน์ การสร้างเพื่อเป็นเส้นทางการบุกครองของฝ่ายสัมพันธมิตรในการเข้าสู่เยอรมนีทางตอนเหนือ[4] สิ่งนี้จะบรรลุผลได้โดยการเข้ายึดสะพานทั้งเก้าแห่งด้วยกองกำลังทหารโดดร่มพร้อมกับกองกำลังทางบกที่เข้ามาสมทบอย่างรวดเร็วในการข้ามสะพาน ปฏิบัติการนี้ได้ประสบความสำเร็จในการปลดปล่อยเมืองไอนด์โฮเวน และไนเมเคินของเนเธอร์แลนด์พร้อมกับหลายเมืองเล็ก ๆ ได้สร้างส่วนที่ยื่นออกมาในระยะทางได้แค่เพียง 60 ไมล์ (97 กิโลเมตร) ในการเข้าสู่ดินแดนเยอรมัน ที่ตั้งฐานยิงจรวดวี-2 ที่จำกัด มันกลับล้มเหลว อย่างไรก็ตาม เพื่อเข้ายึดหัวสะพานข้ามแม่น้ำไรน์ โดยการรุกคืบได้หยุดชะงักลงที่แม่น้ำ
ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การรุกของฝ่ายสัมพันธมิตรจากปารีสถึงแม่น้ำไรน์ในช่วงแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
ทหารโดดร่มของฝ่ายสัมพันธมิตรได้โดดร่มกันทั่วเหนือน่านฟ้าเนเธอร์แลนด์, ในช่วงปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ไรช์เยอรมัน | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
| |||||||
กำลัง | |||||||
ทหาร 100,000 นาย[c] | |||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เสียชีวิต 15,326–17,200 นาย รถถังถูกทำลาย 88 คัน[d] สูญเสียเครื่องบินและเครื่องร่อน 377 ลำ[10][11] |
เสียชีวิต 3,300–8,000 นาย[12] รถถัง/ปืนใหญ่อัตตราจรถูกทำลาย 30 คัน เครื่องบินถูกทำลาย 159 ลำ[13] |
ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน ประกอบไปด้วยสองปฏิบัติการขนาดย่อย คือ
มาร์เก็ต : การจู่โจมของพลทหารโดดร่มเพื่อเข้ายึดครองสะพานที่สำคัญ
การ์เดน : การโจมตีทางบกที่เคลื่อนที่เร็วในการข้ามสะพานที่ยึดมาได้ เพื่อเป็นการสร้างส่วนที่ยื่นออกมา
การโจมตีครั้งนี้เป็นปฏิบัติการการโดดร่มที่ใหญ่ที่สุดจนถึงจุดนั้นในสงครามโลกครั้งที่สอง[e]
เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายพลไอเซนฮาว คือการโอบล้อมหัวใจหลักของเขตอุตสาหกรรมของเยอรมัน พื้นที่รูห์ ในรูปขบวนแบบก้ามปู ทางเหนือสุดของปากก้ามปูจะอ้อมไปทางเหนือสุดของแนวซีคฟรีท ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าสู่เยอรมนีได้โดยง่ายขึ้น โดยผ่านทางพื้นที่ราบทางตอนเหนือ ซึ่งจะทำให้สามารถทำสงครามได้เร็วขึ้น เป้าหมายหลักของปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนคือการสร้างปีกทางเหนือสุดที่พร้อมเคลื่อนที่ในการเข้าลึกสู่เยอรมนี กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรจะมุ่งไปทางเหนือจากเบลเยียม ระยะทาง 60 ไมล์ (97 กิโลเมตร) ผ่านเนเธอร์แลนด์ ข้ามแม่น้ำไรน์ และรวบรวมกำลังกันในทางตอนเหนือของเมืองอาร์เนมที่ชายแดนเนเธอร์แลนด์/เยอรมนี เพื่อเตรียมพร้อมที่จะปิดปากทางของวงล้อม[15]
ปฏิบัติการครั้งนี้จะต้องใช้กองกำลังทหารโดดร่มจำนวนมากมาย โดยมีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์คือเพื่อปกป้องสะพานและเพื่อให้หน่วยกองกำลังยานเกราะทางภาคพื้นดินได้รุกคืบไปอย่างรวดเร็วเพื่อรวมตัวกันในทางตอนเหนือของเมืองอาร์เนม ปฏิบัติการดังกล่าวจำเป็นจะต้องเข้ายึดสะพานโดยทหารโดดร่มในการข้ามแม่น้ำเมิซ แขนสองข้างของแม่น้ำไรน์(แม่น้ำวาลล์และแม่น้ำโลเออร์) พร้อมกับข้ามลำคลองและแควน้ำเล็ก ๆ หลายแห่ง อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้าม กองกำลังทหารโดดร่มขนาดใหญ่ กองกำลังทางภาคพื้นดินขนาดเบาโดยมีเพียงกองทัพน้อยหน่วยเดียวที่เคลื่อนทีไปทางเหนือของไอนด์โฮเวน กองทัพน้อยที่ 30 กองทัพน้อยที่ 30 ได้นำยานพาหนะจำนวน 5,000 คัน ที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์ทอดสะพานข้ามแม่น้ำและทหารช่างจำนวน 9,000 นาย[16]
ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ายึดสะพานหลายแห่ง ระหว่างเมืองไอนด์โฮเวน และไนเมเคิน ในช่วงเริ่มต้นของปฏิบัติการ การรุกคืบของกองกำลังทางภาคพื้นดินของกองทัพน้อยที่ 30 ภายใต้การนำโดยพลโท Brian Horrock นั้นล่าช้า เนื่องจากความล้มเหลวครั้งแรกของหน่วยทหารโดดร่มในการปกป้องสะพานที่ Son en Breugel และไนเมเคิน กองทัพเยอรมันได้ทำลายสะพานข้ามคลอง Wilhelmina ที่ Son ก่อนที่จะถูกเข้ายึดครองโดยกองพลส่งทางอากาศที่ 101 ของสหรัฐ และสะพานเบลีย์ที่ถูกทำขึ้นได้เพียงแค่บางส่วนซึ่งถูกสร้างขึ้นบนคลองโดยทหารช่างบริติช การรุกคืบของกองทัพน้อยที่ 30 นั้นล่าช้าไป 12 ชม. อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้ทำเวลา เดินทางมาถึงไนเมเคินตามเวลาที่กำหนด กองพลขนส่งทางอากาศที่ 82 ของสหรัฐ นั้นล้มเหลวในการเข้ายึดสะพานทางหลวงหลักในการข้ามแม่น้ำวาลล์ที่ไนเมเคิน ก่อนวันที่ 20 กันยายน ทำให้การรุกคืบล่าช้าไป 36 ชม. กองทัพน้อยที่ 30 ต้องเข้าไปยึดสะพานด้วยตัวพวกเขาเองก่อน แทนที่จะเร่งรีบข้ามสะพานที่ยึดมาเพื่อไปยังอาร์เนม ที่ซึ่งพลทหารโดดร่มบริติชยังคงยึดครองทางตอนเหนือสุดของสะพาน[17]
ที่จุดทางตอนเหนือของปฏิบัติการการโดดร่ม กองพลขนส่งทางอากาศที่ 1 ของบริติชได้เผชิญหน้ากับการต่อต้านอย่างรุนแรง ด้วยความล่าช้าในการเข้ายึดสะพานที่ไนเมเคินและการสร้างสะพานเบลีย์ที่ Son ทำให้กองทัพเยอรมันมีเวลา (กองพลยานเกราะที่ 9 แห่งเอ็สเอ็ส "โฮเอินชเตาเฟิน" และกองพลยานเกราะที่ 10 แห่งเอ็สเอ็ส "ฟรุนทซ์แบร์ค" ซึ่งอยู่ในพื้นที่อาร์เนม ในช่วงเริ่มต้นของการโดดร่ม) เพื่อจัดระเบียบในการโจมตีตอบโต้กลับของพวกเขา[18] กองกำลังขนาดเล็กของบริติชสามารถเข้ายึดทางเหนือสุดของสะพานถนนอาร์เนม การไม่ยอมใช้สะพานที่ไม่เสียหายต่อกองทัพเยอรมัน ภายหลังจากกองกำลังทางภาคพื้นดินล้มเหลวในช่วยเหลือทหารโดดร่มตามเวลา พวกเขาถูกบุกในวันที่ 21 กันยายน ในเวลาเดียวกัน เมื่อรถถังของกองทัพน้อยที่ 30 ได้เคลื่อนที่ผ่านสะพานไนเมเคิน ซึ่งช้าไป 36 ชม. ภายหลังจากยึดครองได้จากเยอรมัน ทหารโดดร่มของบริติชที่สะพานอาร์เนมก็ได้ยอมจำนน ซึ่งไม่สามารถยึดครองได้อีกต่อไป[19] ส่วนที่เหลือของกองพลขนส่งทางอากาศที่ 1 ของบริติชที่ติดอยู่ในวงล้อมขนาดเล็ก ๆ ทางตะวันตกของสะพานอาร์เนม ซึ่งได้ถูกอพยพ เมื่อวันที่ 25 กันยายน ภายหลังจากประสบความสูญเสียอย่างหนัก
ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ล้มเหลวในการข้ามแม่น้ำไรน์ แม่น้ำยังคงเป็นอุปสรรคต่อการรุกเข้าสู่เยอรมนี จนกระทั่งการรุกที่ Remagen, Oppenheim, และ Rees และ Wesel ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 ความล้มเหลวของมาร์เก็ตการ์เดน ในการตั้งหลักบนแม่น้ำไรน์ เป็นการดับความหวังของฝ่ายสัมพันธมิตรที่จะยุติสงครามภายในช่วงวันคริสต์มาส ค.ศ. 1944[20]
อ้างอิง
แก้- ↑ The Dutch forces most involved in Market Garden were the Royal Netherlands Motorized Infantry Brigade (attached to British XXX Corps) and the Dutch resistance.
- ↑ Warren 1956, p. 146.
- ↑ Westwall 1945.
- ↑ 4.0 4.1 Wilmot 1997, p. 525.
- ↑ Wilmot 1997, p. 523.
- ↑ Reynolds 2001, p. 173.
- ↑ Antony Beevor, 2020, Order of Battle: Operation Market Garden. (Access: 15 March 2020.)
- ↑ Reynolds 2001, pp. 100–01.
- ↑ MacDonald 1963, p. 199, and endnotes.
- ↑ MacDonald 1963, p. 199.
- ↑ "Operation Market Garden Netherlands 17–25 September 1944" (PDF). gov.uk/.
- ↑ Reynolds 2001, pp. 173–74; Badsey 1993, p. 85; Kershaw 2004, pp. 339–40.
- ↑ Staff 1945, p. 32.
- ↑ MacDonald 1963, p. 132.
- ↑ Memoirs of Field-Marshal Montgomery by Bernard Montgomery, Chapter 16 Battle for Arnhem
- ↑ The Battle for the Rhine 1944 by Robin Neillands, Chapter 4 The Road to Arnhem
- ↑ The Battle for the Rhine 1944 by Robin Neillands, Chapter 5 Nijmegen
- ↑ Middlebrook 1995, pp. 64–65
- ↑ The Battle for the Rhine 1944 by Robin Neillands, Chapter 5 Nijmegen
- ↑ Chant, Chris (1979). Airborne Operations. An Illustrated Encyclopedia of the Great Battles of Airborne Forces. Salamander books, p. 108 and 125. ISBN 978-0-86101-014-1
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน