บ้านหัวเขาตั้งอยู่ในตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำไหลผ่าน มีภูเขาล้อมรอบ อาชีพหลักของชาวบ้านหัวเขาส่วนใหญ่คือเกษตรกร มีการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัย กันแบบญาติพี่น้อง มีการปกครองแบบองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) หมู่บ้านหัวเขาประกอบไปด้วยหมู่ที่1,2,6และ10 ชาวบ้านหัวเขานับถือศาสนาพุทธ มีวัดหัวเขาเป็นศูนย์รวมจิตใจ

ประวัติชุมชน

แก้

ใน อดีตมีบุคคลกลุ่มหนึ่งอพยพมาจากทางด้านทิศตะวันของหมู่ห่างจากบ้านบ่อกรุเพียง เล็กน้อย เดิมเรียกหมู่บ้านนั้นว่า หมู่บ้านดอนกระเบื้อง เมืองสามชั้น บุคคลดังกล่าวได้ร่อนเร่มาพบพื้นที่ที่อุดมสมบรูณ์ มีแม่น้ำไหลผ่าน มีภูเขาล้อมรอบ จึงชวนกันตั้งถิ่นฐาน แล้วขนานนามว่า บ้านหุบเขา ต่อมาคำว่า บ้านหุบเขานั้นมีการเพี้ยนไป เป็นหัวเขา จึงเรียกว่าบ้านหัวเขา จนถึงปัจจุบัน

ประเพณี และวัฒนธรรม

แก้

หมู่บ้านหัวเขาจะมีประเพณีตักบาตรเทโวเป็นประเพณีที่จัดขึ้นทุกปี ในช่วงวันออกพรรษา ประเพณีตักบาตรเทโววัดหัวเขาถือเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่มีชื่อเสียงใน อำเภอเดิมบางนางบวชก็ว่าได้

สัญลักษณ์ชุมชน

แก้

วัดหัวเขามีมณฑปตั้งอยู่บนเขา โดยมณฑปนี้สร้างขึ้นในสมัยที่หลวงปู่อิ่มเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งว่าจ้างช่างฝีมือมาจากเมืองหลวง(สมัยรัชกาลที่5) โดยมณฑปนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันกับอารามหลวงของกรุงเทพฯ ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่5 ภายในมณฑปประดิษสถานพระพุทธรูปไว้สักการบูชา เมื่อถึงวันวันออกพรรษาของทุกปี จะมีงานตักบาตรเทโว โดยมีการจำลองเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ พร้อมทั้งเหล่าเทวดาและนางฟ้า เดินลงจากมณฑปบนเขา เป็นประจำทุกปี

ภูมิศาสตร์

แก้

ลักษณะภูมิประเทศในเขตตำบลหัวเขา เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา มีภูเขาขนาดเล็กหลายแห่ง ลักษณะ ภูมิอากาศโดยทั่วไป มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มจากเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือน พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มจากเดือน พฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม และ ฤดูหนาว เริ่มจากเดือน ตุลาคม ถึงเดือน กุมภาพันธ์

อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16 – 39 องศาเซลเซียส

สภาพที่ตั้งและภูมิประเทศ

แก้

เป็นที่ราบลุ่ม มีภูเขาล้อมรอบ มีแม่น้ำไหลผ่าน หมู่บ้านหัวเขา ตั้งอยู่ในตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


การคมนาคม

แก้

มีถนนทางหลวง หมายเลข3350(สายท่าช้าง-ด่านช้าง)ตัดผ่านด้านหน้าและด้านข้างหมู่บ้านบริเวณหมู่ที่1และหมู่ที่6 รถเมล์โดยสารที่ผ่านได้แก่ สายท่าช้าง-ด่านช้าง ภายในหมู่บ้านเป็นถนนซีเมนต์ ระยะจากอำเภอเดิมบางนางบวช มายังตำบลหัวเขา 6.0 กิโลเมตร ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลกระเสียว อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลเขาพระ และตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวชจังหวัดสุพรรณบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหัวนา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


ทรัพยากร

แก้

ไม้ ที่ชาวบ้านนำมาสร้างบ้าน มักจะเป็นไม้ที่เป็นไม้ของบ้านเก่า บ้านในหมู่บ้านหัวเขาจะใช้ต้นไม้ที่ได้จากการไปขุดจากบนเขา ที่อยู่บริเวณหมู่บ้านมาใช้แทนการสร้างรั้วประเภทต่างๆ ด้านอาหารเช่น กุ้ง หอย ปู ปลาเป็นต้น มักจะเป็นการหาเองตามท้องทุ่ง เนื้องจากท้องนาบริเวณนั้น ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ จึงมีแหล่งอาหารให้ชาวบ้านได้ใช้ดำรงชีวิต

ประชากร

แก้

หมู่บ้านหัวเขามีจำนวนประชาการ 1,778 คน 664 ครัวเรือน

ภาษา

แก้

เป็นภาษาถิ่นใช้ในการสื่อสาร (ภาษาสุพรรณ)

ศาสนา

แก้

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักของชุมชน

บุคคลที่มีชื่อเสียงในชุมชน

แก้

หลวงปู่อิ่ม พระครูไพโรจน์-ธรรมคุณ(หลวงพ่อสุบิน)

เศรษฐกิจ

แก้

ประชากรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเขา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 80 ซึ่งเป็นอาชีพลัก รองลงมา คือ อาชีพรับจ้าง ข้าราชการ อาชีพเสริม การทำอุตสาหกรรมครัวเรือน


ประเภทอุตสาหกรรมครัวเรือน, การเกษตร

แก้

การเกษตร ได้แก่ การทำนา ทำไร่ มีการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อการเกษตร ประเภทอุตสาหกรรมครัวเรือน เช่น กลุ่มอาชีพจักสาน ผลิตภัณฑ์ผักตบชวา กลุ่มสตรีผลิตมุ้งหมอน กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มผลิตน้ำพริกเผา


[Google site กลุ่มหัวเรา]