บเนเมนาเช (ฮีบรู: בני מנשה, "บุตรของมนัสเสห์") คือกลุ่มชาติพันธุ์ของรัฐมณีปุระและมิโซรัม ซึ่งเป็นดินแดนแถบรัฐเจ็ดสาวน้อยของประเทศอินเดีย เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษ 20 ชนเผ่าชีน ทาโด และมิโซ อ้างว่าพวกตนสืบสันดานจากชาวยิวเผ่ามนัสเสห์ หนึ่งในสิบเผ่าของอิสราเอลที่สาบสูญและหันไปเข้ารีตศาสนายูดาห์[2] หลังจากนั้นอีไลยาฮู อาวีชาอิล (Eliyahu Avichail) รับบีจากกลุ่มชาเวอิสราเอล (שבי ישראל, "ชาวอิสราเอลคืนถิ่น") เรียกชนกลุ่มนี้ว่า "บเนเมนาเช" เพื่ออิงการสืบเชื้อสายจากเผ่ามนัสเสห์[3] ขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเชื้อสายเดียวกันกับชนกลุ่มนี้ในพื้นที่ต่าง ๆ อื่นทั่วรัฐเจ็ดสาวน้อยกว่า 3.7 ล้านคน มิได้เรียกร้องว่าสืบสันดานมาจากเผ่ามนัสเสห์

บเนเมนาเช
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 อินเดีย7,000 คน[1]
 อิสราเอล3,000 คน[1]
ภาษา
ศาสนา
ยูดาห์

ก่อนคณะแบปทิสต์ชาวเวลส์และมิชชันนารีสายธรรมอักษรนิยม (Evangelicalism) เข้าไปเผยแผ่ศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เผ่าชีน ทาโด และมิโซ เป็นพวกวิญญาณนิยม และมีการล่าหัวมนุษย์เพื่อบูชาตามความเชื่อดั้งเดิม[4] เดิมชาวบเนเมนาเชส่วนใหญ่เคยเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ ทว่า ค.ศ. 1951 หนึ่งในหัวหน้าเผ่าของพวกเขา อ้างว่าฝันเห็นถิ่นฐานของบรรพชนคือแผ่นดินอิสราเอล[5] ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ประชากรบางส่วนเริ่มเชื่อแนวคิดที่ว่าพวกตนสืบสันดานจากชาวยิว แต่ก็ยังเชื่อว่าพระเยซูเป็นเมสสิยาห์ ต่อมาใน ค.ศ. 1970 มีประชากรบางส่วนเริ่มศึกษาและเข้ารีตศาสนายูดาห์ เพราะเชื่อว่าเป็นการกลับไปนับถือศาสนาดั้งเดิมของบรรพชน

จากการตรวจสอบดีเอ็นเอชายบเนเมนาเชร้อยคนใน ค.ศ. 2003–2004 พบว่าทั้งหมดไม่มีเชื้อสายตะวันออกกลางเลย ส่วนการศึกษาที่กัลกัตตาเมื่อ ค.ศ. 2005 พบว่าประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศหญิงจำนวนเล็กน้อยมีเชื้อสายตะวันออกกลาง และคาดว่าอาจเป็นผลพวงจากการแต่งงานของบรรพบุรุษที่เป็นชาวยิวอพยพที่ผ่านมานานกว่าพันปี[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Reback, Gedalyah. "3,000th Bnei Menashe touches down in Israel". Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 2018-12-27.
  2. Weil, Shalva. "Double Conversion among the 'Children of Menasseh'" in Georg Pfeffer and Deepak K. Behera (eds) Contemporary Society Tribal Studies, New Delhi: Concept, pp. 84–102. 1996 Weil, Shalva. "Lost Israelites from North-East India: Re-Traditionalisation and Conversion among the Shinlung from the Indo-Burmese Borderlands", The Anthropologist, 2004. 6(3): 219–233.
  3. Fishbane, Matthew (19 February 2015). "Becoming Moses". Tablet Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-03. สืบค้นเมื่อ 2 May 2016.
  4. 4.0 4.1 Asya Pereltsvaig (Jun 9, 2010), Controversies surrounding Bnei Menashe, Languages of the World
  5. https://www.npr.org/templates/story/story.php?storyId=127241410