บาลด์วินที่ 6 เคานต์แห่งฟลานเดอส์
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บาลด์วินที่ 6 เคานต์แห่งฟลานเดอส์ (อังกฤษ: Baldwin VI of Flanders, ฝรั่งเศส: Baldwin de Mons) ้เป็นขุนนางชาวแฟรงก์ ปกครองเป็นเคานต์แห่งเอโนลต์ (ด้วยสิทธิ์ของภรรยา) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1051 ถึง ค.ศ. 1070 (ในชื่อ บาลด์วินที่ 1) และสืบทอดตำแหน่งต่อจากบิดาเป็นเคานต์แห่งฟลานเดอส์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1067 ถึง 1070
ประวัติ
แก้บาลด์วินเป็นบุตรชายคนโตของบาลด์วินที่ 5 เคานต์แห่งฟลานเดอส์กับอาเดลาแห่งฝรั่งเศส พระธิดาของพระเจ้ารอแบต์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส[1] กับกงสต็องส์แห่งอาร์ลส์[2] ทั้งยังเป็นพี่ชายของมาทิลดาแห่งฟลานเดอส์ พระราชินีคู่สมรสแห่งอังกฤษและพระมเหสีของพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต กษัตริย์แห่งอังกฤษ[3]
เคานต์แห่งเอโนลต์
แก้บิดาของเขาจับเขาแต่งงานแบบคลุมถุงชนกับริชิลด์ เคานเตสแห่งเอโนลต์[4] โดยใช้กองกำลังติดอาวุธข่มขู่ริชิลด์ที่เป็นภรรยาม่ายของแฮร์มันแห่งมงส์และทายาทหญิงแห่งเอโนลต์[4] เนื่องด้วยเอโนลต์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การแต่งงานโดยไม่ปรึกษาครั้งนี้จึงสร้างความขุ่นเคืองแก่จักรพรรดิเฮนรีที่ 3 พระองค์เดินทางมาทำสงครามกับสองพ่อลูกบาลด์วินแต่ไม่สำเร็จ[4] ระหว่างปี ค.ศ. 1050 ถึง 1054 ล็อมแบต์ที่ 2 เคานต์แห่งล็องยืนหยัดต่อสู้กับจักรพรรดิเฮนรีที่ 3 เคียงข้างบาลด์วิน เขาเป็นหนึ่งในข้าราชบริพารแถวหน้าของบาลด์วิน[5] ล็อมแบต์ถูกสังหารที่สมรภูมิลีลล์ในปี ค.ศ. 1054[6] การต่อสู้ครั้งอื่นๆ กับจักรพรรดิเฮนรีที่ 3 มีกลุ่มลอร์ดแห่งอาโลสต์มาร่วมต่อสู้ให้กับเคานต์แห่งฟลานเดอส์ทั้งสอง[7]
ริชิลด์คิดว่าบุตรชายจากการแต่งงานครั้งแรกของตน โรเฌร์ ไม่เหมาะสมที่จะเคานต์แห่งเอโนลต์คนต่อไป[1] บาลด์วินกับริชิลด์จึงจับเขาไปเป็นบิชอปแห่งชาล็องส์[1] เปิดทางให้บุตรชายจากการแต่งงานครั้งที่สอง บาลด์วิน ขึ้นเป็นเคานต์แห่งเอโนลต์แทน บุตรสาวของเธอที่เกิดจากการแต่งงานครั้งแรกกลายเป็นแม่ชี[1] บาลด์วินได้เคานตีเอโนลต์ส่วนที่เหลือเป็นที่ดินศักดินาส่วนหนึ่งและซื้ออีกส่วนหนึ่งมาเป็นที่ดินส่วนตัว การซื้อมาเป็นที่ดินส่วนตัวเป็นการเป็นเจ้าของที่ดินโดยสมบูรณ์[8] เจ้าของไม่ต้องรับใช้เจ้านายในลำดับที่สูงกว่าของที่แดนนั้นๆ[8] พวกเขามีสิทธิ์ที่จะขายต่อที่ดินเมื่อไหร่ก็ได้[8]
การเสียชีวิต
แก้บาลด์วินเสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1070 การเสียชีวิตเร็วของเขาทำให้ฟลานเดอส์และเอโนลต์ตกไปอยู่ในมือของบุตรชายวัยเยาว์ อาร์นูล์ฟที่ 3 โดยมีริชิลด์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน[9] อาร์นูล์ฟที่ 3 ถูกฆ่าในปีต่อมาที่สมรภูมิคาสเซล[10] ริชิลด์จึงช่วยให้บุตรชายคนรองลงมาของบาลด์วินได้เป็นบาลด์วินที่ 2 แห่งเอโนลต์[3] แต่ไม่นานตำแหน่งเคานต์ก็ถูกแย่งชิงไปโดยน้องชายของบาลด์วิน รอแบต์ชาวฟรีเซียน ที่กลายเป็นเคานต์รอแบต์ที่ 1 แห่งฟลานเดอส์[11]
บาลด์วินสร้างอารามฮาสนงขึ้นมาใหม่และยกทรัพย์สินส่วนตัวเป็นของขวัญแก่อารามเป็นการสนับสนุน[1] เขาส่งพระไปอยู่ที่นั่นและใช้มันเป็นที่ฝังศพของตนเอง[12]
ครอบครัว
แก้บาลด์วินกับริชิลด์มีบุตรด้วยกัน คือ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Gilbert of Mons, Chronicle of Hainaut, Trans. Laura Napran (Woodbridge: The Boydell Press, 2005), p. 4
- ↑ Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: Verlag von J. A. Stargardt, 1984), Tafel 187
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: J. A. Stargardt, 1984), Tafel 5
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Renée Nip, 'The Political Relations Between England and Flanders (1066–1128)', Anglo-Norman Studies 21: Proceedings of the Battle Conference 1998, ed. Christopher Harper-Bill (Woodbridge: The Boydell Press, 1989), p. 147.
- ↑ K. S. B. Keats-Rohan, Domesday People, A Prosopography of Persons Occurring in English Documents 1066-1166 (Woodbridge: The Boydell Press, 1999), p. 196
- ↑ John Carl Andressohn, The ancestry and life of Godfrey of Bouillon (Ayer Publishing, 1972), p. 20
- ↑ Heather J. Tanner, Families, Friends, and Allies: Boulogne and Politics in Northern France and England, c.879–1160 (Leiden: Koninklijke Brill NV, 2004), pp. 87–88
- ↑ 8.0 8.1 8.2 M. Guizot François, History of the Origin of Representative Government in Europe, Vol. 20, trans. Andrew R. Scoble (London: Henry G. Bohn, 1861), p. 106
- ↑ Renée Nip, 'The Political Relations between England and Flanders (1066–1128)', Anglo-Norman Studies 21: Proceedings of the Battle Conference 1998, Ed. Christopher Harper-Bill (Woodbridge: The Boydell Press, 1999), p. 154
- ↑ Renée Nip, 'The Political Relations between England and Flanders (1066–1128)', Anglo-Norman Studies 21: Proceedings of the Battle Conference 1998, Ed. Christopher Harper-Bill (Woodbridge: The Boydell Press, 1999), p. 155
- ↑ Gilbert of Mons, Chronicle of Hainaut, Trans. Laura Napran (Woodbridge: The Boydell Press, 2005), p. 6
- ↑ Herman (of Tournai), The Restoration of the Monastery of Saint Martin of Tournai, Ed. Lynn Harry Nelson (Catholic University of America Press, 1996), p. 27