บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะหลักสูตรสหสาขา ซึ่งเป็นหลักสูตรที่หลายคณะร่วมกันจัดการเรียนการสอน

บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Graduate School of Chulalongkorn University
พระเกี้ยว
สถาปนา1 สิงหาคม พ.ศ. 2505; 61 ปีก่อน (2505-08-01)
คณบดีรศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรรัตน์
ที่อยู่
อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) ซอยจุฬาลงกรณ์ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
สีสีบานเย็น
มาสคอต
-
เว็บไซต์grad.chula.ac.th

ประวัติ แก้

บัณฑิตวิทยาลัยได้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการตาม "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2505" มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสอน และการวิจัยในสาขาต่าง ๆ ในระดับบัณฑิตศึกษาตลอดจนทำหน้าที่เป็นหน่วยงานควบคุมมาตรฐานด้านวิชาการ ประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานของภาควิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา

ในปีการศึกษา 2546 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 321 หลักสูตร จำแนกเป็นหลักสูตรปริญญาเอก 75 หลักสูตร ปริญญาโท 189 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 27 หลักสูตร และ ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง 30 หลักสูตร

หลักสูตร แก้

บัณฑิตวิทยาลัย รับผิดชอบหลักสูตรสหสาขา(หลักสูตรที่เปิดร่วมกันหลาย ๆ คณะ) ทั้งหมด 28 หลักสูตร ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้

หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต แก้

  • หลักสูตรสหสาขาวิชาธุรกิจแฟชั่น (Graduate Diploma Program in Fashion Business) (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรระดับปริญญาโท แก้

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สหสาขาวิชาวิจัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ (Master of Science Program in Research for Health Development)
  • สหสาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม (Master of Science Program in Engineering Management)
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
  • สหสาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สหสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (Master of Arts Program in Southeast Asian Studies)
  • สหสาขาวิชายุโรปศึกษา (Master of Arts Program in European Studies)
  • สหสาขาวิชาเกาหลีศึกษา (Master of Arts Program in Korean Studies)
  • สหสาขาวิชารัสเซียศึกษา (Master of Arts Program in Russian Studies)
  • สหสาขาวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (Master of Arts Program in English as an International Language)
  • สหสาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม (Master of Arts Program in Cultural Management)
  • สหสาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (Master of Arts Program in Human and Social Development)
  • สหสาขาวิชาสิ่งแวดล้อม การพัฒนา และความยั่งยืน (Master of Arts Program in Environment, Development and Sustainability)
  • สหสาขาวิชาดนตรีบำบัด (Master of Arts in Music Therapy)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช

หลักสูตรระดับปริญญาเอก แก้

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  • สหสาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
  • สหสาขาวิชาทันตชีววัสดุศาสตร์
  • สหสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • สหสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • สหสาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์
  • สหสาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
  • สหสาขาวิชาเภสัชวิทยา
  • สหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สหสาขาวิชาวิทยาศาสตร์นาโนและเทคโนโลยี (Doctor of Philosophy Program in Nanoscience and Technology)
  • สหสาขาวิชาวิจัยเพื่อพัฒนาสุขภาพ (Doctor of Philosophy Program in Research for Health Development)
  • สหสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (Doctor of Philosophy Program in Logistics Management)
หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สหสาขาวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (Doctor of Philosophy Program in English as an International Language)
  • สหสาขาวิชาสิ่งแวดล้อม การพัฒนา และความยั่งยืน (Doctor of Philosophy Program in Environment, Development and Sustainability)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้