บลีช (อัลบั้ม)
บลีช (อังกฤษ: Bleach) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดแรกของวงดนตรีร็อคอเมริกัน เนอร์วานา วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1989 โดยค่ายเพลง Sub Pop โดยอัลบั้มบลีชนี้อัดในห้องอัด Reciprocal Recording ในซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1988 ถึง มกราคม ค.ศ. 1989
Bleach | ||||
---|---|---|---|---|
![]() | ||||
สตูดิโออัลบั้มโดย | ||||
วางตลาด | 15 มิถุนายน ค.ศ. 1989 | |||
บันทึกเสียง | ธันวาคม ค.ศ. 1988 – มกราคม 1989 ที่ห้องอัด Reciprocal Recording ในซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน | |||
แนวเพลง | กรันจ์ | |||
ความยาว | 42:37 | |||
ค่ายเพลง | Sub Pop | |||
โปรดิวเซอร์ | แจ็ค เอ็นดิโน | |||
ลำดับอัลบั้มของเนอร์วาน่า | ||||
|
อัลบั้มบลีชได้รับการวิจารณ์ในเชิงบวก แต่อัลบั้มก็ไม่ได้ขึ้นชาร์จในอเมริกา อัลบั้มได้ถูกวางจำหน่ายในระดับนานาชาติโดยค่ายเพลง Geffen Record เมื่อปี ค.ศ. 1992 หลังจากที่อัลบั้มสตูดิโอชุดที่สองของเนอร์วานาประสบความสำเร็จ Nevermind (ค.ศ. 1991) โดยเพิ่มเพลง Big Cheese และ Downer การวางจำหน่ายอีกครั้งส่งผลให้อัลบั้มขึ้นอยู่ในลำดับที่ 89 ในบิลบอร์ด 200 และติดลำดับที่ 33 ในชาร์จอัลบั้มอังกฤษ และติดลำดับที่ 34 ในชาร์จอัลบั้มออสเตรเลีย ในปี 2009 ค่ายเพลง Sub Pop ได้วางจำหน่ายอีกครั้งเพื่อฉลองครบรอบ 20 ปีของอัลบั้มบลีช อีกทั้งอัลบั้มครบรอบ 20 ปีนี้ยังมีบันทึกการแสดงสดของเนอร์วานาในพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน ในช่วงประมาณปี 1990 หลังจากที่อัลบั้มบลีชได้วางจำหน่ายเมื่อช่วงปี 1989 บลีชขายได้ 1.7 ล้านอัลบั้มในอเมริกาเพียงแห่งเดียว[1]
การบันทึกเสียง
แก้หลังการปล่อยซิงเกิลเปิดตัว Love Buzz โดยค่ายเพลง Sub Pop ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1988 วงเนอร์วานาหมั่นฝึกซ้อมอยู่สองถึงสามสัปดาห์สำหรับการเตรียมความพร้อมสำหรับอัลบั้มสตูดิโอของพวกเขา แม้ว่าทางต้นสังกัด Sub Pop ต้องการขอแค่ EP[2] โดยอัลบั้มชุดนี้ได้อัดในห้องอัดเสียง Reciprocal Recording Studios ในซีแอตเทิล โดยโปรดิวเซอร์ แจ็ค เอ็นดิโน
เนอร์วานาเริ่มอัดเพลงเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1988 ใช้เวลาประมาณห้าชั่วโมง[3] และทางวงก็ได้อัดเพลงอีกเมื่อวันที่ 29–31 ธันวาคม และอัดอีกครั้งระหว่าง 14–24 มกราคม[4]
รายชื่อเพลง
แก้เพลงทั้งหมดถูกแต่งโดย เคิร์ต โคเบน ยกเว้นที่ระบุไว้
|
|
บุคลากรหลัก
แก้- เคิร์ท โคเบน – ร้องนำ, กีตาร์ (เครดิตเป็น "Kurdt Kobain"[9])
- คริสต์ โนโวเซลิช – กีตาร์เบส (เครดิตเป็น "Chris Novoselic"[9])
- แชด แชนนิง – กลอง
- Dale Crover – เล่นกลอง ในเพลง "Floyd the Barber", "Paper Cuts", และ "Downer"
- แอรอน เบิร์คฮาร์ - กีตาร์ (เครคิต, ไม่ได้ร่วมทำการแสดง[10])
- แจ็ค เอ็นดิโน – โปรดิวเซอร์
- Tracy Marander – ถ่ายภาพ
- Charles Peterson – ถ่ายภาพ
- Lisa Orth – ออกแบบ
- Jane Higgins – ดำเนินการ
อ้างอิง
แก้- ↑ "Sub Pop Records: 1988-2008" (PDF). Sub Pop Records. 2008. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2010.
- ↑ Azerrad, 1994. p. 85–89
- ↑ Azerrad, 1994. p. 90
- ↑ Gaar, Gillian G. "Verse Chorus Verse: The Recording History of Nirvana". Goldmine. 14 กุมภาพันธ์ 1997.
- ↑ Lisa Orth (1989). Bleach. Nirvana. Sub Pop Records – โดยทาง CD.
- ↑ "Bleach | Nirvana | Album" เก็บถาวร 2 เมษายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. MTV. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2010.
- ↑ Breihan, Tom (14 สิงหาคม 2008). "Sub Pop to Reissue Nirvana's Bleach". Pitchfork Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 สิงหาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2008.
- ↑ "Previously Unreleased Live NIRVANA Song From 'Bleach' Reissue Posted Online". Blabbermouth.net. 2 ตุลาคม 2009. เก็บถาวร 12 พฤษภาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ 9.0 9.1 True, 2007. p. 124
- ↑ Azerrad, 1994. p. 91
บรรณานุกรม
แก้- Azerrad, Michael. Come as You Are: The Story of Nirvana. Doubleday, 1993. ISBN 0-385-47199-8.
- Berkenstadt, Jim; Cross, Charles. Nevermind: Nirvana. Music Sales Group, 2003. ISBN 0-8256-7286-4.
- Cross, Charles. Heavier Than Heaven: A Biography of Kurt Cobain. Hyperion, 2001. ISBN 0-7868-8402-9.
- Sandford, Christopher. Kurt Cobain. Da Capo Press, 2004. ISBN 0-7867-1369-0.
- True, Everett. Nirvana – The True Story. Omnibus Press, 2006. ISBN 1-84449-640-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Bleach ที่ดิสคอกส์
- Live Nirvana Sessions History – Bleach
- Live Nirvana Companion to Official Releases – Bleach