บริตป็อป
บริตป็อป (อังกฤษ: Britpop) เป็นแนวเพลงย่อยของป็อปร็อกและออลเทอร์นาทิฟร็อกที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของอังกฤษช่วงกลางยุค 1990 ในเพลงจะเน้นความเป็นอังกฤษ ท่าทางและสว่างไสวแบบเพลงป็อป ที่ต้องการแสดงปฏิกิริยาต่อเพลงแนวกรันจ์จากอเมริกาและชูเกซซิงจากอังกฤษ[1][2][3][4] วงบริตป็อปที่ประสบความสำเร็จและรู้จักกันมากที่สุดคือ โอเอซิส, เบลอ, พัลป์, และ สเวด[5] ถึงแม้ว่าบริตป็อปจะถูกมองว่าเป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดมากกว่าทางวัฒนธรรมในการอ้างถึงแนวดนตรี[6] แต่มีวงบริตป็อปได้อิทธิพลจากดนตรีอื่นเช่นองค์ประกอบจากเพลงป็อปอังกฤษในยุค 1960 แกลมร็อกและพังก์ร็อกในยุค 1970 และอินดี้ป็อปในยุค 1980 แม้กระทั่งทัศนคติและเครื่องแต่งกายที่ได้อิทธิพลจากมอร์ริสซีย์นักร้องนำวงเดอะสมิธส์ที่ได้ทำให้นึกถึงบริเตน บริตป็อปมุ่งเน้นวงดนตรีจากพวกเพลงใต้ดินในช่วงต้นยุค 1990 ที่เกี่ยวข้องกับคูลบริทานเนียซึ่งต่อจากแฟชันแบบสวิงกิงซิกซ์ตีส์และความเสื่อมคลายของดนตรีแบบกีตาร์ป็อปของอังกฤษ[7][8][9]
บริตป็อป | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | ออลเทอร์นาทิฟร็อก, แมดเชสเตอร์, เบกกี, แกลมร็อก, พังก์ร็อก |
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | ต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1990 สหราชอาณาจักร |
เครื่องบรรเลงสามัญ | กีตาร์ – กีตาร์เบส – กลอง - คีย์บอร์ดไฟฟ้า และ เครื่องสังเคราะห์เสียง (ในบางเพลง) |
รูปแบบอนุพันธุ์ | โพสต์-บริตป็อป |
แนวย่อย | |
นิวเวฟออฟนิวเวฟ |
การตื่นตัวในการบุกอังกฤษโดยวงกรันจ์จากอเมริกา วงดนตรีอังกฤษที่เกิดขึ้นมาใหม่ เช่น สเวดและเบลอ ได้เริ่มทำการเคลื่อนไหวทันที มักกล่าวถึงดนตรีแบบกีต้าร์ของอังกฤษในอดีตและการเขียนเพลงเกี่ยวกับเรื่องที่สำคัญของอังกฤษ วงดนตรีอื่นซึ่งต่อมาก็ได้แก่ โอเอซิส, เดอะเวิร์ฟ, พัลป์, พลาซีโบ, ซูเปอร์กราส, แคสต์, สเปซ, สลีปเปอร์ และ อีลาสติกา
บริตป็อปนำวงออลเทอร์นาทิฟร็อกของอังกฤษเข้าสู่กระแสะหลัก ก่อให้เกิดแกนนำการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมในอังกฤษ เรียกว่า คูลบริทานเนีย (Cool Britannia)
การแข่งขันชิงความเป็นใหญ่ในทำเนียบเพลงชาร์จเพลงกับวงบริตป็อประหว่างเบลอและโอเอซิส ได้ให้ขนานนามว่า "The Battle of Britpop" ซึ่งสื่อมวลชนของอังกฤษได้ให้ความสนใจในปี 1995 อย่างไรก็ตามในปี 1997 การเคลื่อนไหวของบริตป็อปได้เริ่มโรยรา หลายวงก็เริ่มถึงจุดสะดุดและเริ่มแยกวง[10] สไปซ์เกิลส์ได้เข้าเป็นที่นิยมแทนบริตป็อป แม้ว่าบางวงได้ประสบความสำเร็จในต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวของบริตป็อปมาถึงจุดสิ้นสุด
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBirth
- ↑ "Britpop". allmusic.com.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อScott
- ↑ Michael Hann (24 April 2014). "Britpop: a cultural abomination that set music back". theguardian.com.
- ↑ Encyclopedia of Contemporary British Culture. p. 75.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อTill
- ↑ Miranda Sawyer (April 2014). "How Britpop Changed The Media". bbc.co.uk.
- ↑ Mark Simpson (5 November 1999). "The man who murdered pop". theguardian.com.
- ↑ Harris, pg. 385.
- ↑ Harris, pg. 354.