นิคมประชาชนชาวยูเครนในประเทศแมนจู
นิคมประชาชนชาวยูเครนในประเทศแมนจู (ยูเครน: Українська національна колонія у Маньчжурії) หรือ นิคมประชาชนชาวยูเครนในฮาร์บิน (ยูเครน: Українська національна колонія у Харбіні) อักษรย่อ: УНК เป็นศูนย์กลางของชุมชนผู้มีเชื้อชาติยูเครนเพียงแห่งเดียวในภูมิภาคตะวันออกไกลในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2478–2488 ซึ่งได้ผนวกรวมองค์กรของชาวยูเครนทั้งหมดเข้าด้วยกัน และดำเนินการปกป้องผลประโยชน์ของผู้อพยพชาวยูเครน[1]
ประวัติความเป็นมาขององค์กร
แก้นิคมประชาชนชาวยูเครนก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2478 โดยความพยายามร่วมกันของชุมชนประชาชนชาวยูเครน สหภาพผู้อพยพยูเครน สหภาพเยาวชนยูเครน สมาคมปรอสวีตา (Просвіта) และอื่น ๆ อีกหลายองค์กร นิคมถูกจำกัดการดำเนินกิจกรรมตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยรัฐบาลประเทศแมนจู (รัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น)[2]
สภานิคมซึ่งทำหน้าที่บริหารมีสมาชิกประกอบด้วย ดมือตรอ บาร์แชนกอ (Дмитро Барченко), มือกอลา บีลึย (Микола Білий), อีวัน แซลุก (Іван Селюк), ยูรีย์ รอย (Юрій Рой), มือกอลา ซามาร์สกึย (Микола Самарський), แฟดีร์ บอห์ดัน (Федір Богдан), มักซึม แนแตรแบนกอ (Максим Нетребенко) และวาซึล แฟดอแรนกอ (Василь Федоренко)[2]
ในฤดูใบไม้ร่วงปี พ.ศ. 2479 ผู้นำกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ครองอำนาจในประเทศแมนจูได้เริ่มรื้อแนวปฏิบัติที่เป็นประชาธิปไตยขององค์กรแต่เดิม หลักการของการเลือกผู้นำนิคมถูกปฏิเสธ ยูรีย์ รอย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำนิคม และวิกตอร์ กูเลียบกอ-กอแรตสกึย (Віктор Кулябко-Корецький ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรอง ในปีต่อมา องค์กรยูเครนทั้งหมดถูกสั่งห้ามในประเทศแมนจู ยกเว้น УНК[2]
ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2482 ถึง 2483 การเลือกผู้นำนิคมได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งโดย มักซึม แนแตรแบนกอ ได้รับเลือกเป็นผู้นำนิคม และสืบต่อโดยออแลกซันดร์ วิตกอว์สกึย (Олександр Вітковський)[3] ในช่วงเวลาเดียวกัน ญี่ปุ่นเริ่มลดทอนกิจกรรมของ УНК ในประเทศแมนจู[3]
ในปี พ.ศ. 2484 วิกตอร์ กูเลียบกอ-กอแรตสกึย เข้ารับตำแหน่งผู้นำนิคม เขาเริ่มความร่วมมือกับองค์กรผู้อพยพชาวรัสเซีย และจดทะเบียนนิคมกับ "สำนักกิจการผู้อพยพชาวรัสเซีย (Бюрі для справ російських емігрантів)"[2]
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2487 การผ่อนปรนของผู้นำกองทัพคันโตของญี่ปุ่นในประเทศแมนจู ทำให้สามารถดำเนินการเลือกผู้นำนิคมขึ้นใหม่โดยออแลกซันดร์ วิตกอว์สกึย กลับมาเป็นผู้นำของ УНК อีกครั้ง ซึ่งได้รื้อฟื้นแนวทางหลักในการดำเนินกิจกรรมขององค์กร โดยเริ่มค่อย ๆ กลับไปดำเนินงานตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้[2]
นิคมถูกยกเลิกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 เมื่อกองทหารโซเวียตเคลื่อนเข้าสู่แมนจูเรีย นักเคลื่อนไหวของ УНК หลายร้อยคนถูกจับกุม (รวมถึง ออแลกซันดร์ วิตกอว์สกึย, มักซึม แนแตรแบนกอ) หลายคนถูกประหาร[3]
กิจกรรมเผยแพร่
แก้ในปี พ.ศ. 2477 УНК ได้สนับสนุนการเผยแพร่รายการวิทยุกระจายเสียงภาษายูเครนในตะวันออกไกล[3]
ในปี พ.ศ. 2479 และ 2480 УНК เผยแพร่หนังสือพิมพ์ ข่าวนิคมประชาชนชาวยูเครนในประเทศแมนจู (Вісті Української Національної Колонії в Манджу-Го) ในเมืองฮาร์บิน จำนวน 2 ฉบับ
อ้างอิง
แก้- ↑ Далекосхідні поселення українців. resource.history.org.ua (ภาษายูเครน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2020.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 УКРАЇНСЬКА НАЦІОНАЛЬНА КОЛОНІЯ // Енциклопедія Української Діяспори. (В 7 томах). Гол. ред.: Василь Маркусь. Вид. 1-е. Київ, «ІНТЕЛ», 1995. Т. 4 (Австралія — Азія — Африка). 1995. 250 с. з ілюстраціями. ISBN 5-7702-1069-9.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Микола Посівнич. Українська Національна колонія в Манджурії У 1920—1945 рр. // Наукові записки Національного університету «Острозька академія»: Історичні науки. — Вип.15 / Національний університет «Острозька академія», Українське Історичне Товариство. Відп. редактори: І. Пасічник, Л. Винар. — Острог: Видавництво Національного університету «Острозька академія», 2010. — 524 с.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Андрій Попок. Далекосхідні поселення українців (Far Eastern settlements of Ukrainians). เก็บถาวร 27 มีนาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (ในภาษายูเครน).