นายทหารพระธรรมนูญ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
นายทหารพระธรรมนูญ (อังกฤษ: Staff judge advocate) คือ ทหารนักกฎหมาย คำว่า "นายทหารพระธรรมนูญ" โดยทั่วไปอาจมีความหมายได้สองนัย นัยแรกความหมายโดยกว้าง ๆ ได้แก่ นายทหารผู้ที่มีเหล่าทหารพระธรรมนูญโดยมิได้คำนึงถึงตำแหน่งหน้าที่อย่างหนึ่ง อีกนัยหนึ่งหมายความถึง นายทหารที่ดำรงตำแหน่งนายทหารพระธรรมนูญอีกอย่างหนึ่ง
เนื่องด้วยจากภารกิจและหน้าที่ที่ต้องเป็นทั้งทหารและนักกฎหมายในเวลาเดียวกัน ก็จำเป็นจะต้องปฏิบัติหน้าที่ทั้งสองอย่างไปพร้อม ๆ กันให้ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งในบทบาทหน้าที่ของการเป็นทหารก็จะต้องวางตนรักษาระเบียบวินัยของทหารโดยเคร่งครัด ครั้นเมื่อจะต้องปฏิบัติหน้าที่ในด้านกฎหมาย ก็จะต้องสวมวิญญาณเป็นนักกฎหมาย ที่ยึดหลักจริยธรรมสำหรับวิชาชีพด้วย
ตำแหน่งนายทหารพระธรรมนูญและนายทหารพระธรรมนูญผู้ช่วยที่สังกัดกองทัพบกมีจำนวนทั่วประเทศประมาณ 400 นาย โดยทั่วไป อัตราประจำหน่วยกำลังรบจะมีนายทหารพระธรรมนูญ 1 นาย ต่อ 1 กรมทหาร
หน้าที่หลักของนายทหารพระธรรมนูญ
แก้- สืบสวนสอบสวนคดีอาญา คดีทางปกครอง และคดีทางวินัย
- เป็นที่ปรึกษากฎหมาย พิจารณาและเสนอความเห็นทางกฎหมายแก่ผู้บังคับบัญชา
- ตรวจร่างสัญญาต่าง ๆ ของราชการทหาร เช่น สัญญาจัดซื้อจัดจ้าง สัญญาบรรจุเข้ารับราชการ ฯลฯ
- ร่วมฟังการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนในกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหาย หรือตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา
- เป็นผู้แทนคดีของกองทัพบก หรือกระทรวงกลาโหม ในการแจ้งความร้องทุกข์คดีอาญา หรือดำเนินคดีหรือต่อสู้คดีทางแพ่ง
- การยกร่างกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับหน่วยทหารนั้น
- เป็นครู อาจารย์ สอนวิชากฎหมายในโรงเรียนทหาร หรืออบรมกำลังพลในเรื่องกฎหมายทหารต่าง ๆ เช่น กฎหมายสงคราม กฎการใช้กำลัง และกฎหมายอื่น ๆ โดยทั่วไปที่กำลังพลควรจะทราบ
- หน้าที่อื่น ๆ เช่น การไปปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลังต่าง ๆ ในต่างประเทศ การเข้าร่วมประชุมสัมมนาหรืออบรมตามหลักสูตรต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ฯลฯ