นางวิสาขา
วิสาขา (บาลี: Visākhā, วิสาขา; สันสกฤต: Viśākhā, วิศาขา) เป็นสาวิกาของพระโคตมพุทธเจ้า ได้บรรลุโสดาบันตั้งแต่อายุได้ 7 ขวบ เป็นผู้สร้างวัดบุพพาราม เป็นผู้ริเริ่มถวายผ้าอาบน้ำฝน และได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะฝ่ายทายิกา[1]
วิสาขา | |
---|---|
นางวิสาขา (ขวา) | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่ออื่น | มิคารมาตา |
สถานที่เกิด | ภัททิยนคร แคว้นอังคะ |
เอตทัคคะ | ผู้เป็นเลิศฝ่ายทายิกา |
ฐานะเดิม | |
บิดา | ธนญชัย |
มารดา | สุมนาเทวี |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ประวัติ
แก้ธัมมปทัฏฐกถาได้กล่าวถึงประวัตินางวิสาขาไว้ว่า นางวิสาขาเป็นบุตรสาวของธนญชัยเศรษฐี (บุตรคนโตของเมณฑกเศรษฐี) กับนางสุมนาเทวี (ธิดาอนาถบิณฑิกเศรษฐี)[2] ภูมิลำเนาอยู่ภัททิยนคร แคว้นอังคะ มีน้องสาวคนหนึ่งชื่อสุชาดา (คนละคนกับนางสุชาดา มารดาพระยสะ)[2] เมื่ออายุได้ 7 ขวบ ปู่ของท่านได้มอบหมายให้ท่านและบริวาร 500 คนไปต้อนรับพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมจนนางวิสาขาและบริวารทั้งหมดได้บรรลุโสดาบัน[3]
ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จมาหาพระเจ้าพิมพิสาร ทูลขอเศรษฐีคนหนึ่งไปอยู่ประจำแคว้นโกศล พระเจ้าพิมพิสารจึงโปรดให้ธนัญชัยเศรษฐีย้ายตามพระเจ้าปเสนทิโกศลไป เมื่อถึงสถานที่เหมาะสมแห่งหนึ่งซึ่งห่างจากกรุงสาวัตถี 7 โยชน์ เศรษฐีได้กราบทูลพระเจ้าโกศลว่ากรุงสาวัตถีคับแคบไป ขอตั้งเมืองอยู่ที่นี่ พระเจ้าโกศลจึงให้สร้างเมืองสาเกต พระราชทานแก่ธนญชัยเศรษฐี[3]
ทางเมืองสาวัตถีมีเศรษฐีคนหนึ่งชื่อมิคาระ ประสงค์จะหาคู่ครองให้ปุณณวัฒนะบุตรชายของตน ปุณณวัฒนะขอให้หาหญิงสาวที่เพียบพร้อมด้วยเบญจกัลยาณี มิคารเศรษฐีจึงส่งพราหมณ์ 8 คน ไปหาหญิงสาวที่มีคุณสมบัติตามนั้น แล้วฝากพวงมาลัยทองคำไปเป็นของหมั้น เมื่อพวกพราหมณ์ได้พบนางวิสาขามีคุณสมบัติตามที่ตามหา จึงได้มอบมาลัยทองคำและเดินทางไปสู่ขอนางวิสาขากับธนญชัยเศรษฐีจนเป็นที่ตกลง พระเจ้าโกศลและมิคารเศรษฐีจึงเดินทางไปรับนางวิสาขามาอยู่เมืองสาวัตถี[3]
สมันตปาสาทิการะบุว่านางวิสาขามีบุตรชาย 10 คน บุตรสาว 10 คน บุตรแต่ละคนก็มีบุตรชายบุตรสาวอย่างละ 10 คนเช่นกัน นางวิสาขาจึงมีหลานรวมทั้งหมด 400 คน[4]
สุมังคลวิลาสินีระบุว่านางวิสาขามีอายุยืนถึง 120 ปีจึงถึงแก่กรรม[5] ส่วนปรมัตถทีปนีระบุว่าหลังจากนั้นนางได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี เป็นชายาของท้าวสุนิมมิต[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ เอตทัคคบาลี วรรคที่ 7, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
- ↑ 2.0 2.1 "บุคคลในสมัยพุทธกาล ที่มีชื่อซ้ำหรือคล้ายกัน" (PDF). 3 พฤศจิกายน 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-01. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 "เรื่องนางวิสาขา : อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔". 84000.org. 9 พฤศจิกายน 2548. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อรรถกถา อนิยตกัณฑ์ อนิยต สิกขาบทที่ ๑". 84000.org. 10 พฤศจิกายน 2555. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร". 84000.org. 5 มกราคม 2549. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อรรถกถา ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ มัญชิฏฐกวรรคที่ ๔ ๖. วิหารวิมาน". 84000.org. 21 มกราคม 2550. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)