นกเอี้ยงหัวสีทอง

นกเอี้ยงหัวสีทอง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Sturnidae
สกุล: Ampeliceps
Blyth, 1842
สปีชีส์: A.  coronatus
ชื่อทวินาม
Ampeliceps coronatus
Blyth, 1842

ความหมายอื่น ดูที่: สาลิกาลิ้นทอง

นกเอี้ยงหัวสีทอง หรือ นกสาลิกาลิ้นทอง[2] (อังกฤษ: Golden-crested myna; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ampeliceps coronatus) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ampeliceps[3]

มีลักษณะทั่วไป คือ ตัวสีดำ มีแถบสีเหลืองที่ขอบปีกค่อนไปทางปลายปีก หนังรอบดวงตาสีเหลือง ตัวผู้ที่โคนปากด้านบนกระหม่อมไปจรดท้ายทอยสีเหลือง คอสีเหลืองไปจรดใต้ตา ตัวเมียโคนปากด้านบนจรอกระหม่อมสีเหลือง คอมีแถบสีเหลืองเล็ก ๆ มีความยาวประมาณ 22-24 เซนติเมตร

เป็นนกที่พบได้ในป่าดิบ, ป่าโปร่ง และพบได้จนถึงพื้นที่ ๆ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800 เมตร พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชียจนถึงบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี ในมหาสมุทรอินเดีย ในประเทศไทยจะพบได้ที่ภาคเหนือตอนบน และผืนป่าภาคตะวันตก เช่น ทุ่งใหญ่นเรศวร ส่วนภูมิภาคอื่น พบได้บางพื้นที่ จัดเป็นนกที่ไม่พบบ่อยมากนัก[4]

มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย[2]

อ้างอิง แก้

  1. BirdLife International (2012). "Ampeliceps coronatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
  2. 2.0 2.1 "+นกสกุล+Acridotheres&hl=th&gl=th&pid=bl&srcid=ADGEESjz1-xMu6MzKWX สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1" (PDF).[ลิงก์เสีย]
  3. "Ampeliceps". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  4. นกเอี้ยงหัวสีทอง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ampeliceps coronatus ที่วิกิสปีชีส์