ธงสีรุ้ง คือธงหลากสีที่ประกอบไปด้วยสี 7 สีเหมือนสีรุ้งกินน้ำ การออกแบบธงจะแตกต่างกันออกไปแต่ว่าส่วนมากแล้วจะใช้สีตามสเปกตรัมมองเห็นได้[1][2] ในครั้งแรกที่ไอแซก นิวตันเห็นรุ้งที่ผ่านออกมาจากปริซึม เขาได้กำกับว่ามี 7 สีคือ แดง, แสด, เหลือง, เขียว, น้ำเงิน, คราม, ม่วง[3] อย่างไรก็ตามเมื่อไม่ได้มองผ่านปรึซึม สีที่เข้าระบุว่าเป็น "สีน้ำเงิน" จริง ๆ แล้วคือ "สีน้ำเงินเขียว" หรือสีไซแอน ส่วนที่ระบุว่าเป็น "สีม่วง" ทุกวันนี้รู้จักกันในชื่อ "ดาร์กบลู"[4][5] ส่วนสีครามคือสีน้ำเงินธรรมดา[6][a]

ธง 7 แถบ 7 สีตามสีของรุ้ง
ธงสีรุ้ง 12 แถบ

ปัจจุบันมีธงสีรุ้งหลายผืนที่นำมาใช้ในเชิงสัญลักษณ์ เช่นธงเกย์ไพรด์ที่มีความหมายถึงกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1978), ธงสันติภาพสากลที่นิยมมากในอิตาลีและส่วนอื่น ๆ ของโลก (ตั้งแต่ ค.ศ. 1961)

การใช้ธงสีรุ้งในระดับสากลเริ่มขึ้นในต้นศตวรรษที่ 20 องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศได้นำธงสีรุ้งมาใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1925 นองจากนี้ ชาวพื้นเมืองแอนดีสในเปรูและโบลิเวียยังใช้ธงที่คล้ายกันนี้เป็นตัวแทนมรดกของจักรวรรดิอินคา

ช่วงสงครามปฏิวัติอเมริกา นักเขียนนามโทมัส เพนได้เสนอให้ใช้ธงสีรุ้งบนเรือที่เป็นกลางในช่วงสงคราม[7][8][9]

อ้างอิง แก้

หมายเหตุ แก้

  1. "Newton named seven colors in the spectrum: red, orange, yellow, green, blue, indigo, and violet. More commonly today we only speak of six major divisions, leaving out indigo. A careful reading of Newton’s work indicates that the color he called indigo, we would normally call blue; his blue is then what we would name blue-green or cyan."[6]

อ้างอิง แก้

  1. Alvarez, José Antonio Pozas (7 August 2018). "Why Does the Rainbow have 7 Colors?". OpenMind. สืบค้นเมื่อ 30 May 2019.
  2. "The mathematical colors of the rainbow using HSL". College of Micronesia-FSM. สืบค้นเมื่อ 30 May 2019.
  3. Taylor, Ashley P. (February 28, 2017). "Newton's Color Theory, ca. 1665". The Scientist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2019. สืบค้นเมื่อ 16 August 2020.
  4. "Understand the science of appearance of different colors of the rainbow". Encyclopædia Britannica. 2014. สืบค้นเมื่อ 16 August 2020.
  5. Staff (29 October 2014). "WATCH: This Is Not a Rainbow". ScienceAlert. สืบค้นเมื่อ 16 August 2020.
  6. 6.0 6.1 Waldman, Gary (1983). Introduction to Light: The Physics of Light, Vision, and Color (2002 revised ed.). Mineola, New York: Dover Publications. p. 193. ISBN 978-0486421186.
  7. Federal Writers' Project (WPA) (1940). New York—A Guide to the Empire State (1st ed.). Oxford University Press. ISBN 0195000382.
  8. "New Rochelle, NY-Points of Interest". The History Box. May 22, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-06-10. (Transcription of New York—A Guide to the Empire State page.)
  9. Abbey, Edward (1988). One Life at a Time, Please (1st ed.). New York: Henry Holt and Company. p. 58. ISBN 0805006028.