ธงประมวลสากล
ระบบธงประมวลสากล (อังกฤษ: International maritime signal flags) เป็นวิธีการแทนตัวอักษรแต่ละตัวอักษรในสัญญาณไปสู่เรือหรือจากเรือ เป็นส่วนหนึ่งของประมวลสากล (INTERCO)[1]
มีวิธีการต่างๆที่ธงสามารถใช้เป็นสัญญาณคือ:
- แต่ละธงสะกดออกเป็นข้อความตัวอักษรแบบตัวอักษรต่อตัวอักษร
- ธงแต่ละธงมีความหมายเฉพาะเจาะจงและมาตรฐาน[2] ตัวอย่างเช่นเรือสนับสนุนการดำน้ำจะยก "ธง" ระบุว่าไม่สามารถที่จะย้ายจากตำแหน่งปัจจุบันได้เพราะพวกเขามีนักดำน้ำอยู่ใต้น้ำ
- ธงรูปแบบหนึ่งหรือหลายหลายรูปแบบเป็นข้อความเข้ารหัสซึ่งความหมายของรหัสสามารถตรวจสอบดูได้ในหนังสือรหัสที่ถือโดยบุคคลกลุ่มเดียวกัน เช่น รหัสตัวเลขโพฟูม (Popham numeric code) ที่ใช้ในยุทธนาวีทราฟัลการ์
- ในการแข่งเรือใบและเรือบด ธงนั้นมีหลายความหมาย เช่นธงพีจะใช้เป็นธง "เตรียม" เพื่อแสดงว่าใกล้เริ่มต้นการแข่งขัน และธงเอสหมายความว่าเส้นทางระยะสั้น
NATO ก็ใช้ธงเช่นเดียวกันซึ่งจะซ้ำกันน้อยมากสำหรับเรือรบ ใช้เดี่ยวหรือเป็นชุดสั้นๆเพื่อสื่อสารข้อความที่ไม่เป็นความลับต่างๆ การใช้งานโดยทั่วไปของ NATO จะแตกต่างจากความหมายสากล ดังนั้นจะมีธงตอบรับ/รหัสเหนือสัญญาณเพื่อบ่งชี้ว่าควรจะใช้ความหมายสากลใดในการอ่าน
ธงอักขระ (ธงสัญญาณ)
แก้อักขระ/ ชื่อเรียก |
ธง | ความหมายสากลเมื่อแปรธงเดี่ยว | ความหมายเมื่อแปรพร้อมกับธงตัวเลข |
---|---|---|---|
A Alfa (อัลฟา) |
"มีผู้ปฏิบัติงานใต้น้ำ กรุณาเดินเรือด้วยความเร็วต่ำ" | มุมทิศ | |
B Bravo (บราโว) |
"มีวัตถุอันตราย" (เดิมถูกใช้โดยกองทัพเรืออังกฤษ เพื่อแจ้งว่ามีวัตถุระเบิด) | ||
C Charlie (ชาร์ลี) |
"ตกลง" หรือ "ยืนยัน"[a][b] | ทิศทางตามมุมเข็มทิศ | |
D Delta (เดลตา) |
"เรือบังคับยาก โปรดอย่าเข้าใกล้" | วันที่ | |
E Echo (เอโค) |
"กำลังเลี้ยวขวา"[b] | ||
F Foxtrot (ฟอกซ์ทรอต) |
"เรือไม่สามารถใช้งานได้ กรุณาติดต่อมา" | ||
G Golf (กอล์ฟ) |
"ต้องการการนำร่อง" (เมื่อแปรโดยเรือประมงใกล้ชายฝั่ง; "กำลังกว้านอวน") |
ลองจิจูด (ตัวเลขสองหรือสามตัวแรกหมายถึงลิปดา ตัวเลขสองตัวท้ายสุดหมายถึงองศา) | |
H Hotel (โฮเท็ล) |
"กำลังทำการนำร่อง" | ||
I India (อินเดีย) |
"กำลังเลี้ยวซ้าย"[b] | ||
J Juliet (จูเลียต) |
"เรือเกิดเพลิงไหม้และมีวัตถุอันตราย โปรดอยู่ห่าง" หรือ "สารอันตรายกำลังรั่วไหลจากเรือ" |
||
K Kilo (กิโล) |
"เราต้องการติดต่อกับคุณ" | "เราต้องการติดต่อกับคุณ ผ่านทาง...": 1) ส่งสัญญาณรหัสมอร์สด้วยธงโบกมือหรือแขน 2) เครื่องขยายเสียง 3) ส่งสัญญาณรหัสมอร์สด้วยสัญญาณไฟ 4) สัญญาณเสียง | |
L Lima (ลิมา) |
ขณะเทียบท่า: "เรือถูกกักกัน" นอกชายฝั่ง: "โปรดหยุดเรือของท่านในทันที" |
ละติจูด (ตัวเลขสองตัวแรกหมายถึงลิปดา ตัวเลขสองตัวท้ายสุดหมายถึงองศา) | |
M Mike (ไมค์) |
"เรือของเราได้หยุดนิ่งแล้ว"[b] | ||
N November (โนเว็มเบอร์) |
"ปฏิเสธ"[a] | ||
O Oscar (ออสการ์) |
"มีคนตกน้ำ"[b] | ||
P Papa (ปาป้า) |
ขณะเทียบท่า: "ลูกเรือทุกคนโปรดมาประจำที่เรือ เรือกำลังจะออกจากฝั่ง" นอกชายฝั่ง (มักใช้โดยเรือประมง) : "อวนติดบางอย่าง" |
||
Q Quebec (ควิเบค) |
"เรือของเรา ปราศจากโรคติดต่อ" | ||
R Romeo (โรมิโอ) |
ระยะทาง (พิสัย) ในหน่วยไมล์ทะเล | ||
S Sierra (เซียร่า) |
"กำลังถอยหลัง"[b] | ความเร็วในหน่วยนอต | |
T Tango (แทงโก) |
"กำลังลากอวนคู่ โปรดอยู่ห่าง" | เวลาท้องถิ่น (ตัวเลขสองตัวแรกหมายถึงชั่วโมง สองตัวหลังหมายถึงนาที) | |
U Uniform (ยูนิฟอร์ม) |
"ท่านกำลังเดินเรือเข้าสู่เขตอันตราย" | ||
V Victor (วิคเตอร์) |
"ต้องการความช่วยเหลือ" | ความเร็วในหน่วยกิโลเมตร/ชั่วโมง | |
W Whiskey (วิสกี้) |
"ต้องการความช่วยเหลือด้านการแพทย์" | ||
X Xray (เอ็กซเรย์) |
"หยุดการกระทำของท่าน และรอสัญญาณจากเรา" | ||
Y Yankee (แยคกี) |
"กำลังปล่อยสมอ" | ||
Z Zulu (ซูลู) |
"ต้องการเรือลากจูง" (เมื่อแปรโดยเรือประมงใกล้ชายฝั่ง; "กำลังยิงอวน")[c] |
เวลาสากลเชิงพิกัด (ตัวเลขสองตัวแรกหมายถึงชั่วโมง สองตัวหลังหมายถึงนาที) |
- หมายเหตุ
- ↑ 1.0 1.1 แปร N และ C พร้อมกัน (ปฏิเสธ และ ตกลง) มักแปรเพื่อต้องการความช่วยเหลือ
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 ยังสามารถส่งสัญญาณนกหวีดเพื่อแจ้งรหัสมอร์ส
- ↑ ธง Z เคยถูกแปรโดยพลเรือเอก โทโง เฮฮะชิโร ใน ยุทธนาวีช่องแคบสึชิมะ ปี เพื่อแจ้งให้กองเรือญี่ปุ่นเตรียมปะทะกับกองเรือรัสเซีย แต่ความหมายของธง Z ของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น มีความหมายว่า "ชะตากรรมของจักรวรรดิเรา ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของศึกครั้งนี้ ขอให้ทหารทุกนายปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ถึงที่สุด"
ธงตัวเลข
แก้ตัวเลข | คำอ่าน | นาโต้ | สากล | รัสเซีย |
---|---|---|---|---|
0 ศูนย์ |
Nadazero
(นาดาซีโร) |
|||
1 หนึ่ง |
Unaone
(อูนะวัน) |
|||
2 สอง |
Bissotwo
(บิสโซทู) |
|||
3 สาม |
Terrathree
(เทอราทรี) |
|||
4 สี่ |
Kartefour
(คาเทอโฟ) |
|||
5 ห้า |
Pantafive
(พันตะไฟฟ์) |
|||
6 หก |
Soxisix
(ซอกซิซิกส์) |
|||
7 เจ็ด |
Setteseven
(เซตเตเซเวน) |
|||
8 แปด |
Oktoeight
(ออกโตเอต) |
|||
9 เก้า |
Novenine
(โนเวไนเนอะ) |
ธงแทน
แก้ธงแทนใช้ส่งข้อความที่มีตัวอักษรซ้ำกัน
แทนอันแรก | แทนอันที่สอง | แทนอันที่สาม | แทนอันที่สี่ |
ตัวอย่าง
แก้"N" | |||||
"O" | |||||
"NO" | |||||
"NON" | |||||
"NOO" | |||||
"NOON" | |||||
"NONO" | |||||
"NONON" | |||||
"NONNN" |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ International Marine Signal Flags
- ↑ AB Nordbok. "The Lore of Ships", page 138. New York: Crescent Books, 1975.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ธงประมวลสากล
- John Savard's flag page. Collection of different flag systems.
- Freeware to aid memorizing the flags
- La flag-alfabeto - signal flags used for the Esperanto language - the flags for the Esperanto letters with diacritical marks have the lighter color in the normal flag replaced with light green, which is not used in any normal flag.