ท่าอากาศยานนานาชาติเฮย์แดร์ แอลีเยฟ

ท่าอากาศยานนานาชาติเฮย์แดร์ แอลีเยฟ (อาเซอร์ไบจาน: Heydər Əliyev adına Beynəlxalq Hava Limanı) (IATA: GYDICAO: UBBB) เป็นหนึ่งในเจ็ดท่าอากาศยานนานาชาติพาณิชย์ในประเทศอาเซอร์ไบจาน ตั้งอยู่ในบากู เมืองหลวงของประเทศ โดยดำเนินการเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ ท่าอากาศยานเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการในปี 1933 ด้วยชื่อเดิม ท่าอากาศยานนานาติบิลา[1] และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2004 ตั้งชื่อตามอดีตประธานาธิบดีเฮย์แดร์ แอลีเยฟ ท่าอากาศยานเป็นฐานการบินหลักของเอซาล สายการบินประจำชาติ รวมถึงเอซาลเอวิเอคาร์โก และซิลค์เวย์เวสต์แอร์ไลน์ โดยได้เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดและท่าอากาศยานที่มีสายการบินให้บริการมากที่สุดในประเทศ

ท่าอากาศยานนานาชาติเฮย์แดร์ แอลีเยฟ

Heydər Əliyev adına Beynəlxalq Hava Limanı
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
เจ้าของรัฐบาลอาร์เซอร์ไบจาน
ผู้ดำเนินงานอาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์
พื้นที่บริการบากู
สถานที่ตั้งบากู อาร์เซอร์ไบจาน
วันที่เปิดใช้งานค.ศ. 1933[1]
ฐานการบิน
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล3 เมตร / 10 ฟุต
พิกัด40°28′03″N 050°02′48″E / 40.46750°N 50.04667°E / 40.46750; 50.04667
เว็บไซต์airport.az
แผนที่
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในบากู
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในบากู
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
16/34 3,995[2] 13,107 แอสฟอลต์คอนกรีต
17/35 3,200 10,499 แอสฟอลต์คอนกรีต
สถิติ (2019)
ผู้โดยสาร4,730,000
การเคลื่อนที่อากาศยานเพิ่มขึ้น7.0%
อ้างอิง: [1] www.airportbaku.com, ไอพีไออาเซอร์ไบจานที่ยูโรคอนโทรล[3] รายงานการจราจรทางอากาศโลก ค.ศ. 2014 ของเอซีไอ

รายละเอียดท่าอากาศยาน แก้

 
ภาพมุมสูงของท่าอากาศยาน

อาคารผู้โดยสาร แก้

ท่าอากาศยานนานาชาติเฮย์แดร์ แอลีเยฟมีอาคารผู้โดยสาร 2 แห่ง และอาคารคลังสินค้า 2 แห่ง

อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 แก้

อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 เปิดให้บริการในเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 65,000 ตารางเมตร (700,000 ตารางฟุต) อาคารผู้โดยสารแห่งนี้ได้รับการออกแบบสำหรับรองรับผู้โดยสาร 6 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันให้บริการผู้โดยสารได้มากถึง 3 ล้านคนต่อปี อาคารผู้โดยสาร 1 มีหลุมจอดอากาศยานที่สามารถรับเครื่องบินได้ 12 ลำพร้อมกัน โดยมีสองหลุมที่สามารถรองรับเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างแอร์บัส เอ380 ได้

ในปี 2010 Arup Group ได้รับมอบหมายในการออกแบบอาคารผู้โดยสารหลังนี้ โดยได้ออกแบบให้มีรูปทรงสามเหลี่ยมและหลังคากึ่งโปร่งใส การตกแต่งภายใน ซึ่งออกแบบโดยบริษัท AUTOBAN สัญชาติตุรกีนั้น มีลักษณะเป็นชุด "รังไหม" ที่ทำจากแผ่นไม้อัดโอ๊ก ภายในอาคารมีการใช้ระบบขนสัมภาระ Vanderlande และอุปกรณ์ L-3 เครื่องสแกนสำหรับการตรวจสอบสัมภาระ และได้มีการติดตั้งบันไดเลื่อนชินด์เลอร์ 30 ตัว และลิฟต์ 21 ตัวในอาคารผู้โดยสาร[ต้องการอ้างอิง] อาคารผู้โดยสาร 1 ติดตั้งระบบการจัดการอาคาร (BMS) ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อทำให้กระบวนการและการดำเนินการที่สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น คล้ายอาคารอัจฉริยะ นอกจากนี้ อาคารผู้โดยสาร 1 ยังติดตั้งระบบสนับสนุนไฟฟ้า แสงสว่าง การระบายอากาศ การทำความร้อน เครื่องปรับอากาศ ประปา และท่อน้ำทิ้งเพิ่มเติมอีกด้วย

อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 แก้

อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิก Viktor Denisov ปัจจุบันอาคารนี้ให้บริการทั้งเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศของสายการบินราคาประหยัด โครงการนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันในปี 1981 และเปิดให้บริการในปี 1989

อาคารคลังสินค้า แก้

อาคารขนส่งสินค้าเปิดทำการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2004 โดยเป็นจุดดำเนินงานของสายการบินขนส่งสินค้าหลายสาย เช่น ซิลค์เวย์เวสต์แอร์ไลน์, อิแมร์แอร์คอมปะนี, ยูโรเอเชียนแอร์เซอร์วิส, ลุฟท์ฮันซ่าคาร์โก และปานัลปีนา อาคารคลังสินค้าสามารถรองรับเครื่องบินโบอิง 747 ได้เก้าลำ, อานโตนอฟ อาน-124 หรืออิลยูชิน อิล-76 จำนวน 15 ลำพร้อมกันได้

ทางวิ่ง แก้

ท่าอากาศยานนานาชาติเฮย์แดร์ แอลีเยฟมีทางวิ่งสองเส้นวางตัวในทิศทางใกล้เคียงกัน ทางวิ่งที่ 16/34 มีขนาด 3,995 x 60 ม. (13,106 ฟุต 11 นิ้ว x 196 ฟุต 10 นิ้ว) ในขณะที่ทางวิ่งที่ 17/35 มีขนาด 3,200 x 50 ม. (10,498 ฟุต 8 นิ้ว x 164 ฟุต 1 นิ้ว)

โรงแรม แก้

ท่าอากาศยานมีโรงแรมฟลานอินน์ (อังกฤษ: FlyInn) ซึ่งเป็นโรงแรมขนาด 205 ห้องพักตั้งอยู่ในพื้นที่ของท่าอากาศยาน

การบริการผู้โดยสาร แก้

ในพื้นที่อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 จะมีพื้นที่จอดรถทั้งหมดประมาณ 20,000 ตารางเมตร (220,000 ตารางฟุต) สำหรับรถยนต์ 600 คัน และมีร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และร้านค้าปลอดภาษีมากมายทั้งในบริเวณขาออกและขาเข้าของอาคาร และมีห้องรับรอง 5 ห้องและสปา 1 แห่ง

อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศมีห้องดูแลเด็ก โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อม และพื้นที่เด็กเล่นสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมากับเด็กให้ได้ใช้บริการ

ท่าอากาศยานให้ความช่วยเหลือสำหรับบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษเช่นผู้พิการและผู้สูงอายุ โดยได้จัดทำพื้นที่จอดรถพิเศษ โต๊ะประชาสัมพันธ์และเคาน์เตอร์เช็กอินพิเศษแยกจากพื้นที่ของผู้โดยสารทั่วไป และมีบริการศูนย์การแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน และรถพยาบาลสำหรับรับบนเครื่องบินในสถานการณ์ฉุกเฉิน และจะมีเจ้าหน้าที่สนามบินพาผู้โดยสารที่ลงทะเบียนไปที่ห้องรับรองแล้วไปที่ประตูขึ้นเครื่อง

สถิติ แก้

ปี ผู้โดยสาร (คน)
2016[4] 3,260,000
2017[5] 4,060,000
2018[6] 4,430,000
2019[7] 4,730,000
2020[8] 1,030,700
2021[9] 3,000,000
2022[10] 4,400,000

การคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยาน แก้

รถยนต์ แก้

ท่าอากาศยานนานาชาติเฮย์แดร์ แอลีเยฟ เชื่อมต่อกับทางหลวงโบยุก ชอร์ในเมืองบากู เริ่มต้นที่สถานีรถไฟใต้ดินโคโรกลู โดยมีสี่แยกถนนเฮย์แดร์ แอลีเยฟกับทางหลวงดาร์นากุล ทอดยาวไปทางทิศตะวันออกไปยังท่าอากาศยานและมาร์ดากัน ในท่าอากาศยานมีที่จอดรถในอาคารผู้โดยสารแต่ละแห่ง สามารถรองรับรถได้รวม 1,600 คัน

รถประจำทางและรถแท็กซี่ แก้

ท่าอากาศยานมีรถบัส BakuBus H1 วิ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงจากสถานีรถไฟใต้ดิน 28 พฤษภาคมไปยังท่าอากาศยานบากู โดยมีช่วงเวลาการเดินรถทุกๆ 30 นาทีในช่วงบ่ายและทุกๆ ชั่วโมงในช่วงเวลากลางคืน และยังสามารถโดยสารรถแท็กซี่ส่วนตัวในเวลาประมาณ 20 นาทีได้เช่นกัน

รถไฟ แก้

ท่าอากาศยานบากูเชื่อมต่อกับตัวเมืองทางรถไฟ โดยมีทางรถไฟสายชานเมืองบากูที่ให้บริการโดยการรถไฟอาเซอร์ไบจาน และสามารถเดินทางด้วยระบบรถไฟใต้ดินบากูเข้าสู่ท่าอากาศยานได้ โดยในฝั่งตะวันตกสามารถเชื่อมต่อรถไฟจากสถานี 28 พฤษภาคม      และสถานีจาฟาร์ จับบาร์ลี      ในฝั่งตะวันออกสามารถเชื่อมต่อรถไฟจากสถานีโคโรกลู      และสถานีบากิคานอฟ     รวมถึงรถไฟเอ็ม-11  

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 История авиации Азербайджана. Баку. 2012 с. 13 ISBN 978-9952-27-343-4
  2. maps.google.com
  3. "EAD Basic". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-28. สืบค้นเมื่อ 2023-12-29.
  4. "Passenger traffic of Heydar Aliyev International Airport reached a record high in 2016". Azerbaijan Airlines (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  5. "Heydar Aliyev International Airport hits new record - 4 million passengers a year". Azerbaijan Airlines (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  6. "Heydar Aliyev International Airport set a new record for passenger traffic". Azerbaijan Airlines (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2021. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  7. "Azerbaijan's airports set new record in 2019". azertag.az (ภาษาอังกฤษ). 9 January 2020. สืบค้นเมื่อ 10 January 2020.
  8. "Azerbaijan's airports set new record in 2020". azertag.az (ภาษาอังกฤษ). 9 January 2021. สืบค้นเมื่อ 10 January 2020.
  9. "Azerbaijan's airports set new record in 2021". azertag.az (ภาษาอังกฤษ). 9 January 2023. สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
  10. "Azerbaijan's airports set new record in 2022". azertag.az (ภาษาอังกฤษ). 9 January 2024. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.