ท่าอากาศยานชุมพร

ท่าอากาศยานชุมพร หรือ สนามบินชุมพร (อังกฤษ: Chumphon Airport) ตั้งอยู่ที่ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร[1] เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[2]

ท่าอากาศยานชุมพร
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสนามบินพาณิชย์
พิกัด10°42′40.32″N 099°21′42.14″E / 10.7112000°N 99.3617056°E / 10.7112000; 99.3617056พิกัดภูมิศาสตร์: 10°42′40.32″N 099°21′42.14″E / 10.7112000°N 99.3617056°E / 10.7112000; 99.3617056
แผนที่
CJMตั้งอยู่ในจังหวัดชุมพร
CJM
CJM
ตำแหน่งของสนามบินในประเทศไทย
CJMตั้งอยู่ในประเทศไทย
CJM
CJM
CJM (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
06/24 2,100 6,890 ลาดยาง
สถิติ (2560)
ผู้โดยสาร87,707
เที่ยวบิน3,146
แหล่งข้อมูล: www.aviation.go.th

ประวัติ แก้

ท่าอากาศยานชุมพร ก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 เพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของจังหวัดชุมพร หลังประสบภัยพายุไต้ฝุ่นเกย์ (เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532) เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2537 และเปิดทำการบินครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2541 ใช้งบประมาณ 530 ล้านบาท และได้รับการประกาศเป็นสนามบินศุลกากร เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2543 ตั้งอยู่ในเขตตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มีพื้นที่รวม 2,485 ไร่ ห่างตัวเมืองชุมพรไปทางทิศเหนือประมาณ 38 ก.ม. มีสายการบินนกแอร์และสายการบินไทยแอร์เอเชียทำการบินอยู่ในปัจจุบัน รวม 2 สายการบิน

ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561 ที่ประชุมบอร์ดบริหารของบริษัท ท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท. อนุมัติให้รับโอนสนามบินชุมพรเช่นเดียวกับสนามบินสกลนคร, ตาก และอุดรธานี มาบริหารต่อจากกรมท่าอากาศยาน คาดใช้เวลา 1-2 เดือน ในการเสนอมติให้กระทรวงคมนาคม และเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติ [3]

ข้อมูลท่าอากาศยาน แก้

ท่าอากาศยานชุมพร มีอาคารผู้โดยสารขนาดพื้นที่ใช้สอยรวม 5,400 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้จำนวน 300 คนต่อชั่วโมง ลานจอดรถยนต์รองรับได้จำนวน 120 คัน ท่าอากาศยานรองรับผู้โดยสารได้จำนวน 2,400 คนต่อวัน

ท่าอากาศยานชุมพร มีทางวิ่งขนาดกว้าง 45 เมตร ยาว 2,100 เมตร ลานจอดอากาศยานขนาดกว้าง 85 เมตร ยาว 200 เมตร รองรับอากาศยานได้ 32 เที่ยวบินต่อวัน[4]

รายชื่อสายการบิน แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[5] หมายเหตุ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง (ยกเลิกไปก่อนและจะกลับมาในอนาคต) ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินเป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๒ สนามบินชุมพร ในท้องที่อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
  2. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ 2014-07-20.
  3. บอร์ดบริหารของบริษัท ท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท. อนุมัติให้รับโอนสนามบินชุมพรเช่นเดียวกับสนามบินสกลนคร, ตาก และอุดรธานี
  4. ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานจากเว็บไซต์ กรมท่าอากาศยาน
  5. "Flight Tracker". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31. สืบค้นเมื่อ 2013-10-02.