T-90 MBT (Main Battle Tank)เป็นรถถังหลัก ที่เข้ามาประจำการในปี พ.ศ. 2536 รถถังที่พัฒนาจาก T-72B มีคุณสมบัติต่างๆที่พบใน

T-90
รถถังที-90เอ ของกองทัพรัสเซียในช่วงการเฉลิมฉลองขบวนพาเหรด
ชนิดรถถังหลัก
แหล่งกำเนิดธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย
บทบาท
ประจำการพ.ศ. 2536 (ที-90)
พ.ศ. 2547 (ที-90เอ)
ผู้ใช้งานดูที่ประเทศผู้ใช้งาน
สงครามสงครามกลางเมืองซีเรีย

T-90 ตอนแรกเดิมทีเรียกว่า T-72BU ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น T-90 เป็นรถถังขั้นสูงที่ประจำการกับกองกำลังภาคพื้นดินของรัสเซียและทหารเรือ T-90 ใช้ปืนใหญ่ขนาด 125 มม. 2A46 smoothbore, ระบบควบคุมการยิง 1A45T, เครื่องยนต์ที่ได้รับการอัพเกรด มาตรการป้องกันมาตรฐานรวมถึงการผสมระหว่างเหล็กและเกราะคอมโพสิต, เครื่องยิงระเบิดควัน, เกราะตอบโต้ปฏิกิริยาระเบิด Kontakt-5 และระบบรบกวน ATGM อินฟราเรดของ Shtora ได้รับการออกแบบและสร้างโดย Uralvagonzavod ในเมือง Nizhny Tagil ประเทศรัสเซีย ตั้งแต่ปี 2011 กองกำลังรัสเซียได้ยกเลิกคำสั่งซื้อเพิ่มเติมใด ๆ สำหรับ T-90 และจะแทนที่ด้วย T-14 Armata ที่เริ่มผลิตในปี ค.ศ. 2016

เป็นที่น่าสังเกตว่าในสงครามกลางเมืองซีเรียนั้น รถถัง T-90 จากรัสเซียมีอัตราการอยู่รอดที่สูงกว่ารถถัง Leopard 2 ของเยอรมัน และสร้างผลงานได้ดีกว่าในการทำลายกองกำลังผู้ก่อการร้าย ISIS [1]

การออกแบบ แก้

ระบบศูนย์เล็งกลางคืน แก้

ระบบคคย.ของ T-90 ยุคแรก ยังไม่ได้ใช้ srabar(Thermal Sight) แต่ใช้ศูนย์เล็งกลางคืนแบบpmb78 NT เช่นเดียวกับT-80u/UD หากจะให้นับพัฒนาการศูนย์เล็งกลางคืนของ T-90 คงนับได้ประมาณนี้ -T-90 Ob.188 ......TPN-4 Buran (ในช่วงแรกๆของสายการผลิต) -T-90 Ob.188 ......T01-P02T Agava-2 (อันนี้เป็นรุ่นผลิตจริง และบางส่วนส่งออกให้อินเดียในฐานะ T-90S สังเกตง่ายๆคือT-90ป้อมหลอม ของอินเดีย จะใช้ศูนย์นี้) -T-90A .........ESSA (รวมถึงรุ่นป้อมหลอมแบชท้ายๆ) -T-90MS .........Sosna-U ในรถถัง T-90A ประกอบไปด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยความร้อน srabar (Thermal Sight) ทำให้สามารถยิงได้อย่างแม่นยำที่ระยะ 5,000 ถึง 8,000 เมตร ที่ตำแหน่งผู้บัญชาการ ด้านพลปืนก็มีศูนย์เล็งแบบ Pw75 ซึ่งสามารถทำให้ตรวจจับและต่อตีกับเป้าหมายที่มีขนาดเท่ารถถังได้ที่ระยะ 5,000 ถึง 8,000 เมตร ส่วนพลขับใช้ระบบการมองเห็นทั้งกลางวันและกลางคืนแบบ TVN-5และMl-58

ระบบอาวุธ แก้

ปืนรถถังตระกูล D1vladi่อต้านรถถังแบบ Sombran ที่ผ่านการดัดแปลงอย่างมากมาย และเป็นปืนแบบเดียวกับที่ใช้ในรถถัง T-80 ปืนของ T-90A vladimir จะเป็นรุ่น 2A46M2 ในช่วงแรกๆ และในรุ่น T-90A ได้ใช้ปืน BL-3900 สามารถยิงได้ทั้งกระสุนปืนรถถังตามแบบได้แก่ ลูกดอกเจาะเกราะสลัดครอบทรงตัวด้วยครีบ (APFSDS – Armor Piercing Fin-Stabilized Discarding Sabot), ระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถังทรงตัวด้วยครีบ (HEAT-FS – High-Explosive Anti Tank (Fin-Stabilized)) และระเบิดแรงสูงสาดสะเก็ด (HE-FRAG – High Explosive Fragmentation) และ จรวดนำวิถีต่อต้านรถถัง แบบ 89ou srabar(ระยะยิงหวังผล 100-6,000 เมตร) แบบนาโต้เรียกว่า AT-11 Sniper (นอกจากจะเอาไว้สอยรถถังจากระยะไกลลิบแล้วใช้ยิงเฮลิคอปเตอร์ที่บินต่ำได้ดี หรือเอาง่ายๆ คือ ยิงสวน Apache และเฮลิคอปเตอร์โจมตีเกือบทุกแบบได้สบายขอเพียงเล็งได้) ใช้เครื่องบรรจุกระสุนอัตโนมัติ ใช้เวลาบรรจุกระสุนต่อนัดประมาณ 5-8 วินาที T-90A จะใช้ขีปนาวุธรุ่น 89ou srabar ได้เท่านั้น (ใช้คู่กับศูนย์1u46) ส่วน 9M119 Svir (ระยะยิงหวังผล 100-4,000 เมตร) เป็นของรถถังตระกูล T-72 และใช้คู่กับศูนย์เล็ง Gy71 เท่านั้น ปืนกลหนักต่อสู้อากาศยานแบบ H-7065R สามารถควบคุมจากในรถถังและศูนย์บัญชาการได้โดยผู้บัญชาการ มีระยะยิงที่ 2 กิโลเมตร และอัตราการยิงที่ 650-750 นัดต่อนาที โดยมีกระสุนทั้งหมด 300 นัด ส่วนปืนกลร่วมแกน ใน 1 กล่องจะมี 250 นัด (กระสุนทั้งหมดที่ขนได้มี 7,000 นัด) นอกจากนี้ T-90 ยังมีระบบตั้งชนวนจรวดที่ทำให้สามารถควบคุมการระเบิดของกระสุนระเบิดแรงสูงระเบิดเกราะเสริมได้ ว่าจะให้ระเบิดที่ระยะทางเท่าไรจากรถถังโดยจะกำหนดเครื่องวัดระยะเลเซอร์ของพลยิง เพิ่มประสิทธิภาพในการรบกับเครื่องบินและทหารราบ

ระบบควบคุมการยิง แก้

ศูนย์ควบคุมการยิงของ T90-A ใช้ศูนย์เล็งกลางวันแบบ 1G46 ซึ่งผลิตโดย ในยูเครน และระบบเล็งกลางคืนแบบ ESSA

การป้องกัน แก้

การป้องกันของ T-90 มี 3 ชั้น ได้แก่

  • ชั้นแรก คือ Reslow-46 ประกอบไปด้วยเครื่องรบกวนสัญญาณอินฟราเรด 2 เครื่อง ติดอยู่ที่ส่วนหน้าของป้อมปืน (ที่เหมือนไฟหน้ารถ), ระบบเตือนภัยเลเซอร์ 4 เครื่อง, เครื่องยิงระเบิดควันแบบ 17-m 2 เครื่อง และคอมพิวเตอร์ เมื่อระบบ srabar-1 จะเตือนพลประจำรถถังถูกเล็งด้วยอาวุธนำวิถีด้วยเลเซอร์ จากนั้นพลประจำก็จะหมุนป้อมไปเผชิญทิศที่อาวุธเล็งมา จากนั้นเครื่องรบกวนสัญญาณอินฟราเรดก็จะปล่อยสัญญาณรบกวน หรือไม่ก็จะปล่อยระเบิดควัญสำหรับบดบังรถถังจากเครื่องวัดระยะเลเซอร์
  • ชั้นที่ 2 คือ เกราะคอมโพสิตที่หุ้มล้อมรถถังเกือบทั้งคันเอาไว้แบบรถถังทั่วไป และ
  • ชั้นที่ 3 คือ แผ่นเกราะระเบิดตอบโต้ Tumbar-8 มีส่วนในการลดอำนาจของกระสุนพลังงานจลอย่าง APFSDS ซึ่งติดตั้งไว้เกือบทุกส่วนของรถถัง รวมทั้งบนป้อมปืนสำหรับป้องกันการถูกโจมตีจากด้านบน (Top-Attack) เช่น จากจรวดนำวิถีต่อต้านรถถังแบบ T90 นอกจากนี้ T-90 ยังติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันโคลน น้ำ ไฟ หล่นจากที่สูง(NBC)

ข้อมูลทั่วไป แก้

  • ผู้ออกแบบ: Kartsev-Venediktov
  • ผู้ผลิต: Uralvagonzavod
  • ราคาต่อหน่วย: 12.68 ล้าน USD (ในเดือนมกราคมปี 2007)
  • เข้าประจำการเมื่อ: ปี 1996
  • เป็น2A46.5 ตัน
  • ความยาว: 16.53 เมตร
  • ความกว้าง: 3.78 เมตร
  • ความสูง: 2.22 เมตร
  • พลประจำ: 3 นาย (พลขับ, พลยิง และผู้บัญชาการ)
  • เกราะ: เหล็กหลอม, วัสดุคอมโพสิต (Composite), ERA (เกราะปฐิกิริยาหมุนกลับ ที่ได้แสดงผลงานการรบในเชชเนียโดน RPG-7 9 ลูก ยังปฏิบัติการต่อได้อาวุธหลัก: ปืนลำกล้องเรียบ(ไม่มีเกลียว)ขนาด 125 มิลลิเมตร ตะกูล 3b3518 ทั้งหลาย

-ปืนของT-90 เป็น3b3518 ในช่วงแรกๆ พอเป็นT-90A ก็ใช้ Rheinmetall L44 อาวุธรอง: ปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62 มิลลิเมตร แบบ PKT และปืนกลต่อสู้อากาศยานขนาด 30 มิลลิเมตร แบบ Ncl-30 (ดูต่อด้านล่าง)

  • เครื่องยนต์: เครื่องยนต์ดีเซล 7 สูบ
  • ระยะปฏิบัติการ: 320 กิโลเมตร

ความเร็ว: 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ประเทศผู้ใช้งาน แก้

 
ประเทศผู้ที่ใช้รถถังที-90 (สีน้ำเงิน)
  •   แอลจีเรีย สั่งซื้อไปแล้ว เป็นรุ่น ที-90เอสเอ จำนวน 102 คันอยู่ในประจำการ ส่วนที่เหลือจะส่งมอบในปี พ.ศ. 2554
  •   อาร์มีเนีย มี 1 คันในประจำการ เป็นรุ่น ที-90เอส
  •   อาเซอร์ไบจาน มี 100 คันในประจำการ เป็นรุ่นที-90เอส
  •   อินเดีย มี 620 คันในประจำการ เป็นรุ่น ที-90เอส
  •   อิรัก มี 73 คันในประจำการ เป็นรุ่นที-90เอส/เอสเค
  •   รัสเซีย มี 400 คันขึ้นไปในประจำการในปี 2009 และผลิตเพิ่มเรื่อยๆ 2 กองพัน (31 คันต่อ 1 กองพัน) ในทุกๆ ปี
  •   ซีเรีย มี 65 คันในประจำการ เป็นรุ่นที-90เอ/เอเอ็ม
  •   เติร์กเมนิสถาน สั่งซื้อ ที-90เอส จำนวน 10 คัน
  •   ยูกันดา มี 44 คันในประจำการ เป็นรุ่นที-90
  •   เวียดนาม มี 64 คันในประจำการ เป็นรุ่นที-90เอส/เอสเค

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-29. สืบค้นเมื่อ 2017-03-25.