ทีเชิร์ต (อังกฤษ: T-shirt หรือ tee shirt) หรือ เสื้อยืด คือเสื้อที่ส่วนใหญ่จะไม่มีกระดุม ปกเสื้อ และกระเป๋า โดยมีลักษณะคอกลมและแขนสั้น ซึ่งแขนของเสื้อส่วนใหญ่จะไม่เลยข้อศอก ถ้าเกินกว่านั้นจะเรียกเสื้อทีเชิร์ตแขนยาว

ทีเชิร์ต วิกิพีเดีย

เสื้อทีเชิร์ตโดยทั่วไปจะทำจากผ้าฝ้าย หรือ ผ้าใยสังเคราะห์ โดยมากแล้วทีเชิร์ตจะมีการออกแบบลายด้วยตัวหนังสือหรือรูปภาพ และนิยมใส่กันทั้งผู้ชายและผู้หญิง ทุกกลุ่มอายุ รวมทั้งทารก วัยรุ่น และผู้ใหญ่

ประวัติ

แก้

แนวความคิดการผลิตเสื้อทีเชิร์ตมาจาก ชั้นใน ซึ่งพัฒนามาจากเสื้อชั้นใน เสื้อนั้นมีมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ และค่อยๆ ได้รับความนิยม จนกระทั่งในศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดของทีเชิร์ตก็ได้เกิดขึ้น โดยมีการอ้างสถานที่เกิดอย่างน้อยก็ในแคลิฟอร์เนีย และ สหราชอาณาจักร ในช่วงราวปี 1913 ถึง 1948 ซึ่งในช่วงนั้นได้มีการพัฒนาไปอย่างช้า ๆ

 
วันทีเชิร์ตในประเทศเยอรมนี

จากข้อมูลหลาย ๆ แห่ง มีการอ้างว่า สถานที่ ๆ เป็นต้นกำเนิดแนวความคิดของทีเชิร์ตจริง ๆ เห็นจะเป็นที่สหรัฐอเมริกา ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อทหารอเมริกัน ได้สังเกตว่า ทหารยุโรปได้ใส่เสื้อในจากผ้าฝ้ายเบา ขณะที่ทหารอเมริกันเปียกเหงื่อกับชุดที่ทำจากขนสัตว์ ตั้งแต่นั้นมาพวกเขาก็ได้เปลี่ยนมาใช้ผ้าฝ้าย ซึ่งสะดวกสบายขึ้นและได้รับความนิยมในหมู่ชาวอเมริกัน เพราะเนื่องจากรูปลักษณ์ของเสื้อจึงได้เรียกว่าเสื้อ ทีเชิร์ต (T-shirt) ที่มาขอชื่อนั้น ไม่ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่จะมาจากรูปร่าง ของเสื้อที่มีลัษณะเป็นตัว "T" และชัดเจนขึ้นเมื่อในกองทัพเรียกเสื้อนี้ว่า "training shirt" (เสื้อสำหรับฝึก)

ในปี 1932 ฮาวเวิร์ด โจนส์ขอให้บริษัทผลิตกางเกงในอย่าง จ็อกกี้ ผลิตเสื้อที่ซับเหงื่อสำหรับทีม ยูเอสซี ฟุตบอล ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นทีเชิร์ตยุคใหม่[1] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทีเชิร์ตได้กลายเป็นเสื้อมาตรฐานทั่วไป ในกองทัพสหรัฐอเมริกาและนาวิกโยธิน ถึงแม้ว่าทีเชิร์ตจะเป็นชั้นใน แต่ทหารส่วนใหญ่ก็มักจะใส่โดยไม่มีเสื้อเชิร์ตนอก และด้วยเหตุที่ภาพที่ปรากฏต่อสาธารณะบ่อยขึ้น ที่นายทหารใส่เสื้อทีเชิร์ตกับกางเกงขายาว และเป็นที่ยอมรับทีละน้อย จนเมื่อนิตยสารไลฟ์ ฉบับวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ขึ้นหน้าปกทหารที่ใส่เสื้อทีเชิร์ต และเขียนข้อความว่า "Air Corps Gunnery School"[2]

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทีเชิร์ตได้ปรากฏโดยไม่มีเสื้อเชิร์ตนอกคลุม ในปี 1948 ผู้สมัครประธานาธิบดี โธมัส อี. ดีวเวย์ ผลิตเสื้อเชิร์ต "Dew It for Dewey" ขึ้น ได้รับการบันทึกว่าเป็นเสื้อยืดสกรีนตัวหนังสือตัวแรก (ปัจจุบันเก็บไว้อยู่ที่สถาบันสมิทโซเนียนของอเมริกา)[3] และต่อมาในปี 1952 ก็ได้ผลิตทีเชิร์ต "I Like Ike" เพื่อสนับสนุน Dwight D. Eisenhower และจอห์น เวย์น,มาร์ลอน แบรนโด และเจมส์ ดีน ก็ได้ใส่เสื้อตัวนี้ปรากฏตัวในโทรทัศน์ด้วย ซึ่งเป็นที่ตกตะลึงของประชาชน จนกระทั่งในปี 1955 จึงเป็นที่ยอมรับ

ในปัจจุบันเสื้อยืดมักสกรีนข้อความและลวดลายเพื่อให้เหมาะสมกับความเชื่อ รสนิยมของผู้สวมใส่ เช่นเสื้อยืดวงดนตรีต่างๆ และเนื่องจากราคาถูกและสามารถทำได้ง่ายจึงมักทำเป็นของที่ระลึก ของแจกของแถม ของขวัญ เป็นที่ประชาสัมพันธ์ ที่โฆษณา ส่วนข้อความที่ได้รับความนิยมในการเขียนบนทีเชิร์ต เช่น “ฉันหัวใจเอ็นวายซี” รวมถึงลายล้อเลียนต่างๆ ที่ตามมา หรือข้อความ “staying alive” ที่ได้รับความนิยมช่วงหนึ่งในกรุงเทพ[3]

เสื้อทีเชิร์ตมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นในแบบลวดลายต่างๆเช่น ลายการ์ตูน ลายดอกไม้ ลายรูปดารา ลายธรรมชาติ และอื่นๆอีกมากมายและเป็นที่นิยมในทุกสมัยไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ วัยไหนๆก็สวมใส่ได้เพราะเสื้อยืดจะมีราคาถูกไม่แพงมากนักสามารถหาสวมใส่ได้ง่ายโดยทั่วไป

อ้างอิง

แก้
  1. Randye Hoder, You Saw it Here First , Los Angeles Times, October 22, 2006.
  2. ""Cover". July 13, 1942. Life Magazine". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2007-09-15.
  3. 3.0 3.1 เรื่องตบตา : สิ่งที่ใส่ไว้ยืด[ลิงก์เสีย]