ทะเลสาบอี้นย่า (พม่า: အင်းလျားကန်, ออกเสียง: [ʔíɰ̃.já kàɰ̃]; เดิมชื่อ ทะเลสาบวิกตอเรีย) เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจยอดนิยมของชาวย่างกุ้ง และเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในเรื่องความโรแมนติกในวัฒนธรรมสมัยนิยม ทะเลสาบอี้นย่าอยู่ห่างจากตัวเมืองย่างกุ้งไปทางเหนือ 10 กิโลเมตร (6 ไมล์) ล้อมรอบด้วยถนนปาระมีทางทิศเหนือ ถนนแปรทางทิศตะวันตก ถนนอี้นย่าทางตะวันตกเฉียงใต้ ถนน University Avenue ทางทิศใต้ และถนนเจดีย์กะบาเอ้ทางทิศตะวันออก

ทะเลสาบอี้นย่า
အင်းလျားကန်း
ทะเลสาบอี้นย่า
ทะเลสาบอี้นย่า အင်းလျားကန်းตั้งอยู่ในประเทศพม่า
ทะเลสาบอี้นย่า အင်းလျားကန်း
ทะเลสาบอี้นย่า
အင်းလျားကန်း
ที่ตั้งย่างกุ้ง
พิกัด16°50′12.38″N 96°8′42.78″E / 16.8367722°N 96.1452167°E / 16.8367722; 96.1452167
ชนิดอ่างเก็บน้ำ
แหล่งน้ำไหลออกท่อสู่ทะเลสาบกานดอจี้
ประเทศในลุ่มน้ำพม่า

ประวัติ แก้

ทะเลสาบอี้นย่าเป็นทะเลสาบเทียมที่สร้างขึ้นโดยชาวอังกฤษเพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำระหว่างปี พ.ศ. 2425 ถึง พ.ศ. 2426 เพื่อจัดหาน้ำประปาไปยังย่างกุ้ง[1] ทะเลสาบเกิดจากการรวมกันของเนินเขาเล็ก ๆ ซึ่งล้อมรอบบึงที่เกิดขึ้นในฤดูมรสุม[1] ท่อและสายเคเบิลจำนวนหนึ่งจ่ายน้ำจากทะเลสาบอี้นย่าไปยังทะเลสาบกานดอจี้ใกล้ใจกลางเมืองย่างกุ้ง

การประชุมลูกเสือระดับภูมิภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 2 จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยย่างกุ้งเป็นเจ้าภาพ ในปี พ.ศ. 2503 ร่วมด้วยการประชุมฝึกอบรมลูกเสือมืออาชีพตะวันออกไกลครั้งแรกที่ ค่ายอี้นย่า บนทะเลสาบอี้นย่าเป็นงานเสริม

วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2531 หลังการสังหารนักเรียนสองคนระหว่างการประท้วงเพื่อประชาธิปไตย นักเรียนที่เดินขบวนบนถนน Prome (ปัจจุบันคือถนนแปร) เผชิญหน้ากับตำรวจปราบจลาจลใกล้กับทะเลสาบอี้นย่า และหลายคนถูกทุบตีจนเสียชีวิตหรือจมน้ำตาย

วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 จอห์น วิลเลียม เยตอ พลเมืองอเมริกัน ได้บุกรุกบ้านพักริมชายฝั่งของอองซานซูจี นักโทษการเมืองชาวพม่า ในขณะที่ถูกกักบริเวณในบ้าน สองสัปดาห์ก่อนที่เธอจะมีกำหนดการปล่อยตัวในวันที่ 27 พฤษภาคม พวกเขาทั้งสองถูกจับกุมหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว

พื้นที่พิเศษ แก้

บริเวณโดยรอบทะเลสาบอี้นย่าเป็นย่านที่พิเศษที่สุดแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง ยกเว้นสวนสาธารณะริมฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ริมฝั่งส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวที่แพงที่สุดในประเทศ ที่พักริมทะเลสาบมีทั้งที่พักอาศัยของอองซานซูจี, พลเอก เนวี่น และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐ

ประชาชนเข้าถึงทะเลสาบได้ผ่านทางถนนเจดีย์กะบาเอ้ และที่นิยมมากที่สุดคือผ่านถนนอี้นย่าและถนนแปรถัดจากมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ใช้เวลาประมาณสองชั่วโมงในการเดินวนรอบทะเลสาบ

สวนสาธารณะ แก้

สวนสาธารณะขนาด 37 เอเคอร์ (15 เฮกตาร์) ตั้งอยู่ติดกับมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นพื้นที่นัดพบที่โรแมนติกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย และมักเกิดขึ้นหลายครั้งในวัฒนธรรมสมัยนิยมของพม่า (นวนิยาย ภาพยนตร์ เพลง ฯลฯ) กิจกรรมที่มีให้สำหรับผู้เข้าชม ได้แก่ การเดินเรือและการพายเรือ สโมสรเรือใบชั้นนำของย่างกุ้งตั้งอยู่ริมทะเลสาบ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Transactions of the Seventh International Congress of Hygiene and Demography. Eyre and Spottiswoode. 1892.

อ่านเพิ่มเติม แก้

  • History of Rangoon, B. R. Pearn, American Baptist Missionary Press, 1939
  • Scouting 'Round the World, John S. Wilson, first edition, Blandford Press, 1959

แหล่งข้อมูลอื่น แก้