ทะเลสาบปุษกร (สันสกฤต: पुष्कर-सरोवर ปุษฺกร-สโรวร; อังกฤษ: Pushkar Lake) ตั้งอยู่ในเมืองปุษกรในเขตอัชเมร์ (Ajmer) ในรัฐราชสถานทางทิศตะวันตกของประเทศอินเดีย ทะเลสาบปุษกรเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู ในพระคัมภีร์ระบุว่าเป็นราชาของสถานที่แสวงบุญทางน้ำและเกี่ยวข้องกับตำนานของพระพรหม ทะเลสาบปุษกรมีการอ้างถึงในเหรียญตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล

Pushkar Lake
ที่ตั้งปุษกร, รัฐราชสถาน
พิกัด26°29′14″N 74°33′15″E / 26.48722°N 74.55417°E / 26.48722; 74.55417
ชนิดของทะเลสาบnatural lake
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักแม่น้ำลูนี
แหล่งน้ำไหลออกแม่น้ำลูนี
พื้นที่รับน้ำ22 km2 (8.5 sq mi)
ประเทศในลุ่มน้ำIndia
พื้นที่พื้นน้ำ22 km2 (8.5 sq mi)
ความลึกโดยเฉลี่ย8 m (26 ft)
ความลึกสูงสุด10 m (33 ft)
ปริมาณน้ำ790,000 ลูกบาศก์เมตร (28,000,000 ลูกบาศก์ฟุต)
ความสูงของพื้นที่530 m (1,740 ft)
เมืองปุษกร

ทะเลสาบปุษกรมีฆาฏ (ghat) หรือบันไดสำหรับลงไปอาบน้ำ 52 แห่ง เป็นจุดที่นักแสวงบุญจำนวนมากจะมาอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะช่วงเทศกาล การติกปูรณิมา (ตุลาคม–พฤศจิกายน) โดยจะมีการจัดงานปุษกรขึ้นมา การจุ่มตัวลงทะเลสาบเชื่อกันว่าเป็นการชำระบาปและช่วยรักษาเชื้อโรคทางผิวหนัง มีวัดฮินดูตั้งอยู่มากกว่า 500 แห่ง ริมทะเลสาบ

การท่องเที่ยวและการตัดไม้ทำลายป่าโดยรอบส่งผลด้านลบต่อทะเลสาบอย่างมาก ทั้งคุณภาพของน้ำ ระดับน้ำที่ลดลงและทำลายประชากรของปลา ในส่วนของการอนุรักษ์ รัฐบาลดูแลเรื่องการขุดโคลนเลน กำจัดวัชพืช บำบัดน้ำ ปลูกป่า และการให้ความรู้ในวงกว้าง