ทานูมะ โอกิตสึงุ
ทานูมะ โอกิตสึงุ (ญี่ปุ่น: 田沼意次; โรมาจิ: Tanuma Okitsugu; 11 กันยายน ค.ศ. 1719 ที่เอโดะ ประเทศญี่ปุ่น – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1788 ที่เอโดะ) เป็นมหาดเล็ก (โซบาชู) และที่ปรึกษาอาวุโส (โรจู) ของโชกุนโทกูงาวะ อิเอฮารุในรัฐโชกุนเอโดะ ยุคเอโดะ ทานูมะกับลูกของเขามีอำนาจมหาศาล โดยเฉพาะในช่วง 14 ปีสุดท้ายของรัชสมัยโชกุนอิเอฮารุ[1] เขายังเป็นที่รู้จักจากการปฏิรูปเศรษฐกิจในศักราชเท็มเมและการทุจริตอย่างหนัก และดำรงตำแหน่งไดเมียวประจำแคว้นซางาระ ซึ่งใช้ยศนำหน้าว่า โทโนโมะ-โนะ-คามิ[2]
ทานูมะ โอกิตสึงุ | |
---|---|
เจ้าแห่งซางาระ | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1767 – 1786 | |
ก่อนหน้า | ฮนดะ ทาดานากะ |
ถัดไป | ทานูมะ โอกิอากิ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 กันยายน ค.ศ. 1719 เอโดะ ประเทศญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | สิงหาคม 25, 1788 เอโดะ ประเทศญี่ปุ่น | (68 ปี)
เชื้อชาติ | ญี่ปุ่น |
การปฏิรูปของทามูระมีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะความไม่ทรงตัวทางการค้าระหว่างจังหวัด (ฮัง) กับพื้นที่โชกุน (เท็นเรียว)[3] โทกูงาวะ โยชิมูเนะ โชกุนองค์ที่แล้ว เคยพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจรัฐโชกุนด้วยความประหยัดและเน้นการเกษตร แต่ทานูมะไปลดค่าเงิน ขายสิทธิผูกขาดให้กับผู้ค้า และเก็บภาษีสมาคมผู้ค้าแทน[1] เขาสั่งให้ส่งออกสินค้าให้ต่างชาติมากขึ้น เพื่อสกัดกั้นดุลการค้าและทองคำที่เสียเปรียบ[1] และตั้งมาตรการส่งออกเหมืองทองแดงในอากิตะ (ทองแดงเป็นเหล็กหลักที่ทำเงินในสมัยนั้น)
ถึงแม้ว่าความตั้งใจของทานูมะคือการให้บริการสาธารณประโยชน์ เขาก่อความทุจริตอย่างมากและมีความทุตริตในรัฐบาลรุนแรงขึ้น[1] จากภัยแล้งตามมาด้วยอุทกภัย ทำให้ไม่สามารถปลูกพืชได้ใน ค.ศ. 1783 ถึง 1787 ก่อให้เกิดสภาวะความอดอยากและมีการจลาจลบ่อยครั้ง[1]
ในศักราชเท็มเมที่ 4 (ค.ศ. 1784) วากาโดชิโยชิ (รองที่ปรึกษา) ทานูมะ โอกิโตโมะ ลูกชายของเขา ถูกลอบสังหารในปราสาทเอโดะต่อหน้าพ่อ เพราะทั้งคู่กำลังขึ้นบนโนริโมโนะ หลังประสบความล้มเหลวจากการประชุมที่ปรึกษาของรัฐ โอกิโมโตะถูกฆ่าโดยฮาตาโมโตะซาโนะ มาซาโกโตะ ภายหลังมือสังหารถูกลงโทษตามกฎหมาย
สภาวะอดอยากทำให้มีการประท้วงและการก่อกบฏมากขึ้น โดยถึงจุดสูงสุดในการจลาจลเอโดะใน ค.ศ. 1787 ฝ่ายค้านอนุรักษนิยมกล่าวถึงการปฏิรูปว่าเป็น "เสียงสวรรค์" ที่ตามมาด้วย "เสียงผู้คน" หลังการลอบสังการลูกชายของเขากับโทกูงาวะ อิเอฮารุ ทำให้ทานูมะถูกถอดถอนจากอำนาจ[4] และการปฏิรูปและการผ่อนคลายความเคร่งครัดของซาโกกุจึงถูกปิดกั้น[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Hane, M. (2018). Premodern Japan: A historical survey. Routledge.
- ↑ Screech, Timon. (2006). Secret Memoirs of the Shoguns: Isaac Titsingh and Japan, 1779–1822, p. 222 n65.
- ↑ Jansen, Marius B. (2000). The Making of Modern Japan, pp. 240–241.
- ↑ Jansen, p. 241
- ↑ Screech, pp. 148–151, 163–170, 248.
บรรณานุกรม
แก้- Hall, John Whitney. (1955). Tanuma Okitsugu, 1719–1788: Forerunner of Modern Japan. Cambridge: Harvard University Press. OCLC 445621
- Screech, Timon. (2006). Secret Memoirs of the Shoguns: Isaac Titsingh and Japan, 1779–1822. London: RoutledgeCurzon. ISBN 978-0-203-09985-8; OCLC 65177072
- Titsingh, Isaac. (1820). Mémoires et anecdotes sur la dynastie régnante des djogouns, souverains du Japon. Paris: Nepveu. OCLC 255146140.
ก่อนหน้า | ทานูมะ โอกิตสึงุ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ฮนดะ ทาดานากะ | ไดเมียวแห่งซางาระ (ค.ศ. 1767–1786) |
ทากูมะ โอกิอากิ |