สัมฤทธิ์

(เปลี่ยนทางจาก ทองสัมฤทธิ์)

สัมฤทธิ์ (อังกฤษ: bronze; โบราณเขียน "สำริด") หมายถึง โลหะประสมทองแดงชนิดหนึ่ง ที่มีคุณลักษณะแปรผันหลากหลาย ปกติมีดีบุกเป็นส่วนประกอบหลัก แต่บางครั้งก็มีธาตุอื่น ๆ เช่นฟอสฟอรัส, แมงกานีส, อะลูมิเนียม หรือ ซิลิกอน สัมฤทธิ์เป็นโลหะที่แข็งแรง และเหนียว และมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในทางอุตสาหกรรม และมีความสำคัญเป็นพิเศษในสมัยโบราณ จนนักโบราณคดีเรียกยุคหนึ่งว่า ยุคสัมฤทธิ์

เครื่องมือโบราณบางส่วนที่ทำจากสัมฤทธิ์

ประวัติ แก้

การใช้สัมฤทธิ์นับว่ามีนัยสำคัญต่ออารยธรรมใด ๆ ก็ตามที่ใช้โลหะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ อาวุธ เกราะ และวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ เช่น แผ่นประดับอาคาร ที่ทำมาจากสัมฤทธิ์ล้วนมีความแข็งกว่า และทนทานกว่าหินและทองแดง (Chalcolithic) ที่เคยใช้กันมา การใช้ในสมัยแรก ๆ บางครั้งสารหนูในธรรมชาติที่ไม่บริสุทธิ์ก็มีส่วนสร้างโลหะประสมธรรมชาติที่ยอดเยี่ยมขึ้นมา เรียกว่า "arsenical bronze"

สัมฤทธิ์ที่มีส่วนประกอบดีบุกสมัยแรกสุดนั้น เริ่มมีการใช้เมื่อ 4 พันปีก่อนคริสตกาล ในภูมิภาคซูซา (Susa) ในประเทศอิหร่าน และบางพื้นที่ในลูริสถาน (Luristan) ประเทศอิหร่าน และเมโสโปเตเมีย ประเทศอิรัก

ขณะที่ทองแดงและดีบุกนั้นสามารถเกิดขึ้นอยู่ด้วยกันตามธรรมชาติ แต่ทว่าแร่ดิบทั้งสองนี้ไม่ค่อยจะพบอยู่ด้วยกัน แม้จะพบในแหล่งแร่โบราณแห่งหนึ่งในประเทศไทย และแห่งหนึ่งในประเทศอิหร่าน แต่ก็นับเป็นตัวอย่างที่หาได้ยาก

งานสัมฤทธิ์ที่สร้างด้วยมือมีผลต่อให้เกิดการค้าเสมอมา ความจริงแล้ว นักโบราณคดีคาดว่า การค้าดีบุกที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคเหล็ก ในยุโรปนั้น แหล่งดีบุกที่สำคัญคือเกาะบริเตนใหญ่

ส่วนสัมฤทธิ์​ในความหมายของอินเดียคือ โลหะธาตุจำนวน หลายชนิดนำมาหลอมรวมกันแล้วสร้างเป็นวัตถุอุปกรณ์โดยส่วนมากนั้นจะใช้เพื่อประโยชน์ทางศาสนาเป็นหลักโดยเฉพาะศาสนา​พราหมณ์​-ฮินดู​(นิยมมากในรัฐทางตอนใต้ของอินเดีย)ซึ่งใช้มาแต่โบราณ​โดยสัมฤทธิ์​อินเดียดังกล่าวมักจะกำหนดโลหะธาตุที่ใช้ผสมไว้เป็นจำนวนชัดเจนอยู่2-3กลุ่มคือ - ปัญจโลหะ (ผสมธาตุโลหะ5ชนิดคือ เหล็ก ทองเหลือง ทองแดง เงินและทองคำ) ซึ่งเป็นจำนวนเบื้องต้นโดยง่ายในการจัดสร้างวัตถุตามความเชื่อ

- สัตตโลหะ (ผสมธาตุโลหะ7ชนิดคือ เหล็ก ปรอท ทองแดง เงิน ทองคำ ทองเหลืองและดีบุก) โลหะธาตุจำนวนนี้มักใช้ในกลุ่มของศาสนสถานตั้งแต่สถานที่เล็กไปจนถึงสถานที่ใหญ่โต

- นวโลหะ (ผสมธาตุโลหะ9ชนิดคือ เหล็ก ปรอท ทองแดง เงิน ทองคำ สังกะสี ดีบุก ทองเหลืองและตะกั่ว) ซึ่งโลหะธาตุ​นี้มักจัดสร้างในศาสนสถานที่สำคัญและเป็นวาระพิเศษกว่ากรณีอื่นๆ เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดเนื่องจากต้องระดมโลหะธาตุมาหลอมรวมหลายชนิด

เหตุที่เรียกวัตถุที่ผสมโลหะธาตุต่างๆของอินเดียนั้นว่า สัมฤทธิ์​(สำริด) ก็เพราะว่าเมื่อทำการหล่อวัตถุนั้นขึ้นแล้วสีของวัตถุนั้นจะออกได้หลายเฉดโดยเฉพาะออกสีเหลืองส้มอมแดง จึงเรียกว่าสัมฤทธิ์​เช่นกัน แต่จะพิเศษกว่าคือสัมฤทธิ์​อินเดียจะไม่มีการขึ้นของสนิมต่างๆทั้งสิ้น จะมีเพียงแต่การหมองลงจากการที่โลหะธาตุที่ผสมบางชนิดจะมีปฏิกิริยา​กับอากาศเท่านั้น (เช่น เงิน ทองเหลืองและทองแดง) แต่ก็สามารถ​ใช้วิธีขัดล้างได้เหมือนกับวัตถุโลหะทั่วไป และสามารถสร้างรายละเอียดตกแต่งลวดลาย​ในวัตถุได้คมชัดกว่าโลหะชนิดอื่นๆแบบเดี่ยวโดดเนื่องจากสัมฤทธิ์​อินเดียมีคุณสมบัติ​จากธาตุโลหะต่างๆที่นำมาประกอบกันจึงทำให้มีราคาสูงและมีน้ำหนักมากอีกทั้งมีความยืดหยุ่นทำให้ไม่มีการแหว่งเว้าหรือเป็นเม็ดฟองในเนื้อสัมฤทธิ์​ขณะทำการหล่อขึ้นมา ซึ่งผลงานเหล่านี้มักปรากฎในการสร้างเทวรูปเป็นส่วนใหญ่ และมีการใช้สัมฤทธิ์​ในอินเดียมาตั้งแต่ยุคโบราณ เช่น ศิลปะยุคดราวิเดียนหรือทมิฬนาฑู​นั่นเอง

ปัจจุบันความสำคัญของสัมฤทธิ์น้อยลง จะพบเห็นได้จากงานศิลปะเท่านั้น เนื่องจากมูลค่าของการสร้างงานด้วยสัมฤทธิ์นั้น มีความสวยงามกว่าวัสดุอื่น เช่น เหล็ก ทองเหลือง หรือทองแดง

แหล่งข้อมูล แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สัมฤทธิ์