ศาสตราจารย์ ดร. ทวี ญาณสุคนธ์ อาจารย์รุ่นบุกเบิกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในคณะผู้ร่วมก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ ปัจจุบันคือคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[1] ผู้บุกเบิกด้านการสอนจุลชีววิทยาทางการเกษตรในประเทศไทย และวิชาดังกล่าวได้พัฒนาจนกระทั่งกำเนิดเป็นภาควิชาจุลชีววิทยา ตลอดจนดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คนแรก[2]และเป็นติดต่อกันหลายสมัยจนเกษียณอายุราชการ

ทวี ญาณสุคนธ์
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(คณบดีคนแรก)
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2509 – พ.ศ. 2521
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา ชุติมา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 มีนาคม พ.ศ. 2460
พระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
เสียชีวิต12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (96 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ

ชีวิต แก้

ศาสตราจารย์ ดร. ทวี ญาณสุคนธ์ เป็นบุตรของนายตา นางสมบุญ ญาณสุคนธ์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และได้เข้าศึกษาเพิ่มเติมอีกหนึ่งปีที่โรงเรียนราชบุรีวิทยาลัย ต่อมาได้สอบชิงทุนเล่าเรียนหลวง (King's Scholarship) ไปศึกษาระดับปริญญาตรีที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในด้านเกษตรศาสตร์ ณ University of the Philippines at Los Banos ภายหลังสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีได้กลับมาเข้ารับราชการที่กระทรวงเกษตราธิการ และต่อมาได้รับทุนคุรุสภาจากกระทรวงศึกษาธิการไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ณ Utah State University ในสาขาวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์นม (Dairy Science) และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกจาก Southern California University ในสาขาจุลชีววิทยา และได้ทำวิจัยหลังปริญญาเอกต่ออีกราวหนึ่งปี จึงได้เดินทางกลับพร้อมทั้งโอนย้ายสังกัดมาเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาชีววิทยา คณะกสิกรรมและสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[3]

ศาสตราจารย์ ดร. ทวี ญาณสุคนธ์ เป็นผู้ทำคุณประโยชน์อย่างมากในด้านการวิจัย และการเขียนตำราและบทความทางวิชาการ เช่น งานวิจัยด้านการใช้บักเตรีที่ให้คุณประโยชน์แก่พืชตระกูลถั่ว ซึ่งผลงานดังกล่าวได้เผยแพร่จนเป็นที่สนใจแก่วงการวิทยาศาสตร์การเกษตรทั่วโลก เคยเป็นผู้แทนของประเทศไทยในการประชุมระดับนานาชาติเกี่ยวกับการเกษตรและชีววิทยาหลายครั้ง นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในด้านการวางหลักสูตรการศึกษา โดยได้ริเริ่มวางรากฐานการศึกษาสาขาจุลชีววิทยาในด้านการเกษตร อาหาร และอุตสาหกรรม ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันคือคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งยังเป็นคณบดีท่านแรกของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วย[4]

นอกจากนี้ ในภายหลังจากที่เกษียณอายุราชการแล้ว ก็ยังคงเอาใจใส่ปฏิบัติงานวิชาการอย่างไม่หยุดหย่อน คือ เป็นอาจารย์พิเศษในวิชาจุลชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยจุลชีววิทยาทางการเกษตร เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปอยู่เสมออีกด้วย

การศึกษา แก้

การรับราชการ แก้

ตำรา งานเขียน และบทความวิชาการ แก้

ศาสตราจารย์ ดร. ทวี ญาณสุคนธ์ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในทางวิชาการทั้งตำรา งานเขียน บทความวิชาการ ตลอดจนงานวิจัย อาทิ

ตำรา แก้

ชื่อตำรา ปีที่พิมพ์ รายละเอียด
คู่มือปฏิบัติการจุลชีววิทยา[8] พ.ศ. 2501 หนังสือคู่มือปฏิบัติการเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อและการกำจัดเชื้อ การแยกเชื้อบริสุทธิ์ การศึกษาสมบัติบางประการของจุลินทรีย์ การควบคุมจุลินทรีย์ด้วยวิธีทางกายภาพ และเคมี การตรวจสอบจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อม
หลักสัตววิทยา เล่ม 1[9][10] ม.ป.ป. หนังสือชีววิทยาเบื้องต้นของเซลล์ เนื้อเยื่อและระบบอวัยวะของสัตว์ การจัดจำแนกหมวดหมู่ของสัตว์ วิวัฒนาการของสัตว์ และพฤติกรรมของสัตว์
คู่มือปฏิบัติการหลักชีววิทยา[11] พ.ศ. 2516 หนังสือคู่มือปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้กล้องจุลทรรศน์ เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ การแบ่งเซลล์ การลำเลียงสารผ่านเซลล์ กระบวนการเมแทบอลิซึม เนื้อเยื่อพืช และโครงสร้างพืช เนื้อเยื่อสัตว์และโครงสร้างสัตว์ การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต นิเวศวิทยาเบื้องต้น และ พันธุศาสตร์เบื้องต้น
ไวน์[12] พ.ศ. 2518 หนังสืออนุสรณ์ฯ บรรยายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไวน์ ชนิดไวน์ ความหลากหลายของไวน์ และยีสต์

บทความในหนังสือ แก้

ชื่อบทความ ปีที่พิมพ์ ชื่อหนังสือ
การค้นคว้าเรื่องบักเตรีในแหนม[13] พ.ศ. 2509 รายงานการประชุมทางวิชาการเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 5 สาขาพืชและชีววิทยา สาขาสัตว์ และสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 2-4 กุมภาพันธ์ 2509

บทความในวารสาร แก้

ชื่อบทความ ปีที่พิมพ์ ชื่อวารสาร
จำนวนบัคเตรีในไอสครีมที่กรุงเทพฯ[14] พ.ศ. 2505 วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์
การศึกษาบักเตรีในลำไส้ของหอยทากยักษ์[15] พ.ศ. 2509 วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์
สิ่งมีชีวิต[16] พ.ศ. 2525 วารสารวิทยาศาสตร์ ม.ก.
มะเร็งระบาดในปลา[17] พ.ศ. 2527 วารสารวิทยาศาสตร์ ม.ก.

การเชิดชูเกียรติ แก้

ปริญญากิตติมศักดิ์ แก้

สถานที่อันเนื่องด้วยนาม แก้

  • ห้องประชุมทวี ญาณสุคนธ์ ห้องประชุมใหญ่ภายในอาคารทวี ญาณสุคนธ์ ใช้สำหรับการประชุม บรรยาย และจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนใช้เป็นห้องบรรยายหลักของนิสิตเตรียมแพทยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. หนังสือที่ระลึก “30 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มก.”
  2. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำเนียบคณบดี เก็บถาวร 2019-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-05-31
  3. ที่ระลึกพิธีเปิด อาคารทวี ญาณสุคนธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2552. (2552). ม.ป.ท: . เก็บถาวร 2019-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-19
  4. หนังสือที่ระลึก “ครบรอบ 25 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มก.”
  5. หอประวัติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ศาสตราจารย์ ดร. ทวี ญาณสุคนธ์. บูรพาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ. เรียกดูวันที่ 2019-07-30
  6. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำเนียบคณบดี เก็บถาวร 2019-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-05-31
  7. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กึ่งศตวรรษ KU27[ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่ 2019-10-13
  8. ทวี ญาณสุคนธ์. (2501). คู่มือปฏิบัติการจุลชีววิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  9. ทวี ญาณสุคนธ์. ([ม.ป.ป.]). หลักสัตววิทยา เล่ม 1 (I). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา.
  10. ทวี ญาณสุคนธ์. ([ม.ป.ป.]). หลักสัตววิทยา เล่ม 1 (II). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา.
  11. ทวี ญาณสุคนธ์. (2516). คู่มือปฏิบัติการหลักชีววิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี.
  12. ทวี ญาณสุคนธ์. (2518). อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายตา ญาณสุคนธ์. ไวน์. (น. 73 หน้า). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศรีเมืองการพิมพ์.
  13. ทวี ญาณสุคนธ์ และ จรูญ คำนวณตา. (2509). รายงานการประชุมทางวิชาการเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 5 สาขาพืชและชีววิทยา สาขาสัตว์ และสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 2-4 กุมภาพันธ์ 2509. การค้นคว้าเรื่องบักเตรีในแหนม. (น. 754 หน้า). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  14. ทวี ญาณสุคนธ์ และ ศรีวัย พิกุล. (2505). จำนวนบัคเตรีในไอสครีมที่กรุงเทพฯ. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์, 2(2), 77-88.
  15. ทวี ญาณสุคนธ์ และ โชคชัย เสนะวงศ์. (2509). การศึกษาบักเตรีในลำไส้ของหอยทากยักษ์. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์, 6(2), 49-59.
  16. ทวี ญาณสุคนธ์. (2525). วารสารวิทยาศาสตร์ มก., 1(1), 9-18.
  17. ทวี ญาณสุคนธ์. (2527). มะเร็งระบาดในปลา. วารสารวิทยาศาสตร์ ม.ก., 3(1), 19-21.
  18. หนังสือที่ระลึก “ครบรอบ 25 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มก.”
  19. หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ผู้ทำประโยชน์ฯ. ศาสตราจารย์ ดร. ทวี ญาณสุคนธ์ เก็บถาวร 2019-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ฐานข้อมูลบูรพาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เรียกดูวันที่ 2019-07-30
  20. คำสั่งคณะวิทยาศาสตร์ ที่ 98/2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานเปิดป้ายชื่อ อาคารทวี ญาณสุคนธ์. (2551). ม.ป.ท: . เรียกดูวันที่ 2020-01-02
  21. หนังสือ "5 ทศวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" พระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระสังฆราชฯ ที่มีต่อคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรียกดูวันที่ 2019-06-28
  22. ที่ระลึกพิธีเปิด อาคารทวี ญาณสุคนธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2552. (2552). ม.ป.ท: . เก็บถาวร 2019-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-19
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๕๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๘๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า ทวี ญาณสุคนธ์ ถัดไป
สถาปนาตำแหน่ง   คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(พ.ศ. 2509 – พ.ศ. 2521)
  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กฤษณา ชุติมา