ทรีโอนีน
ทรีโอนีน (อังกฤษ: Threonine, Thr, T) คือ กรดอะมิโนชนิดหนึ่งซึ่งจัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็น ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนชนิดนี้ได้ จึงจะต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคือ HO2CCH(NH2)CH(OH)CH3
สมบัติ
แก้ทรีโอนีนมีสูตรโมเลกุล คือ C4H9NO3 และมีมวลโมเลกุลเท่ากับ 119.12 g/mol ในโครงสร้างประกอบด้วยหมู่ฟังชั้นต่างๆได้แก่หมู่ไฮดรอกซิล 1 หมู่, หมู่อะมิโน 1 หมู่ และหมู่คาร์บอกซิล 1 หมู่
การสังเคราะห์
แก้มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนชนิดนี้ได้ แต่ในพืช ทรีโอนีนจะถูกสังเคราะห์มาจากกรดแอสปาร์ติค โดยผ่าน α-aspartyl-semialdehyde และ โฮโมเซอรีน (homoserine) โดยเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการการสังเคราะห์ทรีโอนีนได้แก่
- aspartokinase
- ß-aspartate semialdehyde dehydrogenase
- homoserine dehydrogenase
- homoserine kinase
- threonine synthase.
ประโยชน์
แก้ทรีโอนีนมีส่วนช่วยในการป้องกันการสร้างไขมันในเลือด ช่วยให้เอนไซม์ในระบบย่อยอาหารทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการเผาผลาญอาหารในร่างกายและยังช่วยส่งเสริมการดูดซึมอาหารอีกด้วย[1]
กรดอะมิโนจำเป็นชนิดอื่น
แก้- วาลีน (valine)
- ลิวซีน (leucine)
- ไอโซลิวซีน (isoleucine)
- เมตไทโอนีน (methionine)
- ฟีนิลอะลานีน (phenylalanine)
- ไลซีน (lysine)
- ทริปโตแฟน (tryptophan)
ในเด็กมีเพิ่มอีก 2 ตัว ดังนี้
อ้างอิง
แก้ข้อมูลเพิ่มเติม
แก้ทรีโอนีน เก็บถาวร 2012-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน