ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส จีวัน: อะเวกเคนนิง

ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส จีวัน: อะเวกเคนนิง (อังกฤษ: Transformers G1: Awakening) เป็นเกมสำหรับโทรศัพท์มือถือแนวยุทธวิธีผลัดกันเล่นในแฟรนไชส์ทรานส์ฟอร์มเมอร์สที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทกลูโมบายล์ เกมนี้ได้รับการเปิดตัวครั้งแรกสำหรับฟีเจอร์โฟนเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ก่อนที่จะย้ายไปยังไอโอเอสใน ค.ศ. 2010[1][2] และเกมดังกล่าวได้รับการวาดใหม่จากแอปเปิลสโตร์เนื่องจากเหตุผลด้านลิขสิทธิ์

ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส จีวัน: อะเวกเคนนิง
ผู้พัฒนากลูโมบายล์
ผู้จัดจำหน่ายกลูโมบายล์
เครื่องเล่นโทรศัพท์เคลื่อนที่, ไอโอเอส, แอนดรอยด์, เว็บโอเอส, แบล็กเบอรี โอเอส
วางจำหน่าย12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008
ไอโอเอส
25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010
แนวยุทธวิธีผลัดกันเล่น
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

ภูมิหลัง แก้

ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส จีวัน: อะเวกเคนนิง ได้รับการประกาศที่งานบอตคอน ค.ศ. 2008 โดยมีกำหนดวางจำหน่ายทั่วโลกในฤดูใบไม้ร่วงของปีนั้น นี่เป็นเกมทรานส์ฟอร์มเมอร์สเกมที่สองจากบริษัทกลูโมบายล์ โดยพวกเขาได้เปิดตัวเกมเกมแพลตฟอร์มสำหรับโทรศัพท์มือถือที่สร้างจากภาพยนตร์ทรานส์ฟอร์มเมอร์สฉบับคนแสดงของไมเคิล เบย์[3][4] ในขณะที่ภาพยนตร์ทรานส์ฟอร์มเมอร์สเรื่องต่อไปอย่างทรานส์ฟอร์เมอร์ส อภิมหาสงครามแค้น จะไม่ออกฉายจนกว่าจะถึง ค.ศ. 2009 บริษัทกลูจึงตัดสินใจเพิ่มข้อตกลงการให้สิทธิ์ใช้งานสูงสุดด้วยการผลิตเกมที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับการเปิดตัวครั้งสำคัญ[5] ซึ่งแตกต่างจากการดัดแปลงภาพยนตร์ ภาคอะเวกเคนนิงได้รับการวางแผนให้เป็นยุทธวิธีผลัดกันเล่นที่มีองค์ประกอบเล่นตามบทบาท โดยมีเรื่องราวเกิดขึ้นในยุคแรก ๆ ของซีรีส์แอนิเมชันช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ส่วนในการให้สัมภาษณ์แก่เว็บไซต์แฟนคลับอย่างทีฟอร์มเมอร์ส.คอม หัวหน้าสตูดิโอกลูโมบายล์ อีเอ็มอีเอ ซึ่งคือคริส ไวต์ และผู้จัดการผลิตภัณฑ์อะเวกเคนนิงซึ่งคือมาร์ติน เอเดลแมน ได้อธิบายว่าความปรารถนาของพวกเขาในการสร้างเกมดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากความชื่นชมในภาพยนตร์แอนิเมชัน ค.ศ. 1986 เช่นเดียวกับซีรีส์มาร์เวลคอมิกส์[4] พวกเขาเปรียบเทียบเกมของพวกเขากับซีรีส์อัดวานซ์วอส์ แต่อธิบายว่ามันต่างกันตรงที่ยูนิตดังกล่าวไม่ใช่ "ทหารที่ถูกคิดว่าเป็นเพียงวัตถุที่ใช้ทำสงครามที่ไม่ควรค่าแก่การเก็บรักษาไว้" ซึ่งแต่ละยูนิตเป็นตัวละครที่มีเอกลักษณ์เฉพาะจากแฟรนไชส์นี้ โดยมีจุดแข็งและคุณลักษณะเฉพาะตัวตามบุคลิกที่มีอยู่[4] เกมดังกล่าวได้รับการพัฒนาที่สำนักงานของกลูในสหราชอาณาจักร (ซึ่งก่อนหน้านี้คือบริษัทแมกโครสเปซ) ดังนั้น พวกเขาจึงมีประสบการณ์กับเกมยุทธวิธีผลัดกันเล่นมาก่อน โดยได้พัฒนาซีรีส์เอนเชียนเอ็มไพร์ส[5]

รูปแบบการเล่น แก้

เช่นเดียวกับเกมยุทธวิธีผลัดกันเล่นส่วนใหญ่ ผู้เล่นควบคุมยูนิต (ในกรณีนี้คือตัวละครทรานส์ฟอร์มเมอร์สเจเนอเรชัน 1 จำนวน 23 ตัว) ในระดับขนาดเล็กและอิงตามตาราง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ "แปลงร่าง" มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผู้เล่นจะได้รับตัวเลือกในการเปลี่ยนหุ่นยนต์แต่ละตัวให้เป็นพาหนะของตน (หรือในทำนองกลับกัน) เมื่อสิ้นสุดเทิร์น[6] โดยขณะอยู่ในโหมดยานพาหนะ บรรดาทรานส์ฟอร์มเมอร์สามารถเดินทางได้ไกลขึ้นและได้รับความเสียหายลดลง แต่ไม่สามารถโจมตีได้[7] ขณะอยู่ในโหมดหุ่นยนต์ พวกมันได้รับความสามารถในการโจมตีทรานส์ฟอร์มเมอร์สตัวอื่น และเข้ายึดโครงสร้างที่จำเป็นซึ่งผลิตพลังงาน (เช่น เสาไฟฟ้าแรงสูง)[8] แหล่งพลังงานให้เอเนอร์กอน ซึ่งทำหน้าที่เป็นสกุลเงินของเกม โดยเอเนอร์กอนอนุญาตให้ผู้เล่นอัปเกรดหรือซ่อมแซมยูนิต หรือเรียกตัวละครเพิ่มเติมเข้ามาเล่น[7]

ในการทัพหลัก ผู้เล่นจะได้ควบคุมออโตบอทฝ่ายพระเอก ต่อสู้กับกองกำลังดีเซปติคอนผู้ชั่วร้ายของเมกะทรอน ซึ่งเริ่มเกมด้วยบัมเบิลบีและแร็ตเชต ตัวละครเพิ่มเติมจะถูกเพิ่มเมื่อเรื่องราวดำเนินไป โดยแต่ละตัวมีความสามารถหรือลักษณะพิเศษเฉพาะตัว[8] ออพติมัส ไพรม์ ผู้นำออโตบอทมอบ "ขวัญกำลังใจ" ให้กับยูนิตฝ่ายเดียวกันในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการต่อสู้ของพวกเขา[7] ส่วนแร็ตเชต (ซึ่งแปลงร่างเป็นรถพยาบาล) เป็นแพทย์เพียงคนเดียวของเกม[9] และการอยู่รอดของเขาจึงเป็นกุญแจสำคัญในการอยู่รอดของหุ่นยนต์ตัวอื่น ๆ[7] ทั้งนี้ เมโทรเพล็กซ์ขนาดนครทำหน้าที่เป็นฐานเคลื่อนที่ของออโตบอท และใช้เพื่อเรียกตัวละครสนับสนุน เช่น โพรว์, ไอเอิร์นไฮด์ และไซด์สไวป์ (ส่วนทริปติคอนทำหน้าที่เดียวกันสำหรับดีเซปติคอน)[7][9] นอกจากนั้น บลาสเตอร์ที่เป็นบูมบอกซ์ สามารถเรียกใช้อีเจกต์และรีไวด์ที่เป็นมินิคาสเซต เช่นเดียวกับซาวด์เวฟของดีเซปติคอน ที่มีลูกน้องของเขาคือเฟรนซีและรัมเบิล[10][11] ตลอดจนเช่นเดียวกับในการ์ตูน เจ็ทไฟเออร์ต้องเปลี่ยนฝ่ายมาจากดีเซปติคอน[7] และการแปลงร่างกริมล็อคที่เป็นไทแรนโนซอร์จะบดขยี้ดีเซปติคอนอย่างง่ายดาย[8]

การตอบรับ แก้

ฟีเจอร์โฟน แก้

การเปิดตัวครั้งแรกสำหรับโทรศัพท์มือถือที่ไม่ใช่สมาร์ทโฟนใน ค.ศ. 2008 ได้รับความสนใจในเชิงบวกจากแนวคิดเพียงอย่างเดียว เมื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกาศวันวางจำหน่ายในเดือนกันยายน สแปนเนอร์ สเปนเซอร์ จากเว็บไซต์พอกเกตเกมเมอร์กล่าวว่าเขาดีใจที่ได้ยินว่าเกมนี้สร้างจากซีรีส์ดั้งเดิม โดยไม่ใช่ภาพยนตร์คนแสดง ซึ่งอย่างหลังนี้ถูกอธิบายว่าเป็น "กองสนิมที่ปลอมตัวเป็นมหกรรมกระบวนจินตภาพคอมพิวเตอร์อย่างชาญฉลาด"[12] ส่วนลู้ก พลันเกต จากเว็บไซต์โคตากุรู้สึกประทับใจกับตัวอย่างแรกของเกม โดยหวังว่านักพัฒนาจะตระหนักถึงคุณค่าของการพอร์ตไปยังนินเท็นโด ดีเอส[13] ภายหลังเขากล่าวย้ำความรู้สึกอีกครั้งเมื่อประกาศการสาธิตในซอฟต์แวร์จาวาที่เล่นได้ โดยกล่าวว่าเกมนี้ดู "(น่าประหลาดใจ) น่าอัศจรรย์"[14]

นักวิจารณ์ที่สามารถเล่นเกมได้จริงก็มีแง่บวกไม่แพ้กัน ในการพรีวิวใช้เครื่องก่อนใครสำหรับพอกเกตเกมเมอร์นั้น คีธ แอนดรูว์ ผู้ซึ่งอ้างว่าเขาไม่เคยเข้าใจเสน่ห์ของทรานส์ฟอร์มเมอร์สมาก่อน กล่าวว่าเกมนี้ "เต็มไปด้วยความสนุก" แม้ว่าเขาจะรู้สึกว่าเป้าหมายของเกมนั้นท้าทาย และอาจต้องเล่นหลายรอบกว่าจะเชี่ยวชาญ แต่เขารู้สึกว่าการควบคุมนั้นง่ายพอที่ผู้เล่นใหม่จะไม่หวาดหวั่น ตลอดจนชื่นชมบริษัทกลูโมบายล์ที่สร้างเกมที่รองรับทั้งฐานแฟน ๆ และดึงดูดผู้ชมในวงกว้าง[15] ในการวิจารณ์ฉบับสมบูรณ์ในภายหลัง เขาอธิบายรูปแบบการเล่นว่าเป็น "การจัดการทรัพยากรพบหมากรุกสากล" เขารู้สึกว่าเกมนี้ทำให้การลองผิดลองถูกเหมือนไขปริศนาในระดับต่าง ๆ ได้อย่างสนุกสนาน แทนที่จะน่าหงุดหงิด เขาให้คะแนนเกมนี้ที่ 8 เต็ม 10 และมอบซิลเวอร์อะวอร์ดของเว็บไซต์พอกเกตเกมเมอร์[16]

การเปิดตัวภาคอะเวกเคนนิงบนมือถือใน ค.ศ. 2008 มีการทบทวนความหลังในชื่อ "ประวัติซึ่งมีตัวตนของออพติมัส ไพรม์ ในวิดีโอเกม" โดยแจ็ก เดอวรีส และไบรอัน อัลตาโน จากเว็บไซต์ไอจีเอ็น พวกเขารู้สึกว่าภาคอะเวกเคนนิงนอกจากจะเป็นเกมกลยุทธ์ที่ "ค่อนข้างดี" แล้ว ยังเป็นเกมแรกที่ทำให้การปรากฏตัวของออพติมัส ไพรม์ สมบูรณ์แบบ[17] แต่ถูกแทนที่ด้วยภาควอร์ฟอร์ไซเบอร์ทรอนในเวลาต่อมา[18] พวกเขารู้สึกถึงกราฟิกเฉดเซลและพื้นผิวแบนราบสีสันสดใสที่สร้างออพติมัส "โผล่ออกมาจากหน้าจอเหมือนการเคลื่อนไหวที่มันเป็น"[17]

สมาร์ทโฟน แก้

พอร์ตสำหรับระบบปฏิบัติการสมาร์ทโฟนใน ค.ศ. 2010 ได้กระตุ้นความสนใจเช่นเดียวกัน หลังจากการประกาศครั้งแรก ไมก์ ฟาฮีย์ จากเว็บไซต์โคตากุ เขียนว่าเขารอคอยเกมที่มีจีวันของทรานส์ฟอร์มเมอร์ส มากกว่า "บรรดาหุ่นยนต์ของไมเคิล เบย์" อย่างใจจดใจจ่อ[1] ในบทวิจารณ์ฉบับเต็มในภายหลัง ลู้ก พลันเกต กล่าวถึงเกมนี้ว่าเป็น "ของแท้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ" สำหรับซีรีย์แอนิเมชัน นอกจากนี้ เขายังรู้สึกว่าเกมนี้สามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวมันเองในฐานะเกมกลยุทธ์ผลัดกันเล่น เขากล่าวว่าลำดับการต่อสู้ที่เรนเดอร์ 3 มิตินั้นดู "สวยงาม" สำหรับไอโฟน แต่รู้สึกว่าข้อเสียเพียงอย่างเดียวคือกราฟิกและแอนิเมชันที่เรียบง่ายนอกการต่อสู้ ซึ่งแสดงให้เห็นรากฐานของเกมในฐานะเกมสำหรับโทรศัพท์มือถือ รวมถึงสรุปโดยแนะนำเกมนี้ให้แก่ทุกคนที่เป็น "แฟนตัวยง" ของแอนิเมชันทรานส์ฟอร์มเมอร์ส หรือแฟนเกมกลยุทธ์ผลัดกันเล่น โดยระบุว่าเป็นเกมที่ "ง่าย" ที่สุดเกมหนึ่งในประเภทนี้สำหรับไอโอเอส[19]

ส่วนลีวาย บูแคนัน จากเว็บไซต์ไอจีเอ็นรู้สึกว่าแม้ว่าความสัมพันธ์ตลอดชีวิตของเขาที่มีต่อทรานส์ฟอร์มเมอร์สทำให้เขามีแนวโน้มที่จะตัดสินงานดัดแปลงที่ทำไม่ดีอย่างรุนแรง แต่ภาคอะเวกเคนนิงก็ไม่ทำให้แฟน ๆ ทรานส์ฟอร์มเมอร์สผิดหวัง เขายกย่องการรวมเอารูปแบบการเล่นของเกมอัดวานซ์วอส์เข้ากับบันเทิงคดีทรานส์ฟอร์มเมอร์สลาสสิกอย่างรอบคอบ โดยระบุว่าเกมนี้ "ยอดเยี่ยมเพราะเรื่องราวและความแข็งแกร่งของทรานส์ฟอร์มเมอร์สได้รับการปะติดปะต่ออย่างเชี่ยวชาญในการสร้างทั้งหมด" เขารู้สึกว่าเป้าหมายของภารกิจสอดคล้องกับความก้าวหน้าของเรื่องราวอย่างสมบูรณ์ และนั่น "ไม่มีอะไรเป็นไปตามอำเภอใจ" เขายังรู้สึกว่าการเลือกตัวละครทรานส์ฟอร์มเมอร์สของบริษัทกลูนั้นยอดเยี่ยม และคิดว่าเฉดเซลและกล้องไดนามิกในลำดับการต่อสู้ทำให้หุ่นจำลองดู "ยอดเยี่ยมมาก" รวมทั้งให้คะแนนเกมนี้ที่ 8.5 เต็ม 10 และสรุปโดยระบุว่า "ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส จีวัน: อะเวกเคนนิง เป็นเกมทรานส์ฟอร์มเมอร์สที่ดีที่สุดที่กระผมเคยเล่นมา"[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Fahey, Mike (2010-01-22). "G1 Transformers Awaken On The iPhone". Kotaku. สืบค้นเมื่อ 2010-02-22.
  2. 2.0 2.1 Buchanan, Levi (2010-02-18). "Transformers G1: Awakening Review". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-02-22.
  3. "New Transformers mobile game on the way from Glu". Pocket Gamer. 2008-05-08. สืบค้นเมื่อ 2012-05-27.
  4. 4.0 4.1 4.2 Tformers.com (2008-06-02). "Interview - GLU Mobile on Upcoming Generation 1 Game Transformers". สืบค้นเมื่อ 2012-05-27.
  5. 5.0 5.1 "First look: Glu goes back to drawing board for Transformers G1 Awakening". Pocket Gamer. 2008-07-07. สืบค้นเมื่อ 2012-05-29.
  6. "New Transformers G1 Game Spawned From 'Advance Wars'". MTV Multiplayer. 2008-06-13. สืบค้นเมื่อ 2012-05-29.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 var authorId = "47061140" by Levi Buchanan. "Transformers G1: Awakening Review - iPhone Review at IGN". Wireless.ign.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2010. สืบค้นเมื่อ 2012-05-31.
  8. 8.0 8.1 8.2 "Transformers G1: Awakening Review at Slide To Play". Slidetoplay.com. สืบค้นเมื่อ 2012-05-31.
  9. 9.0 9.1 "Transformers: G1 Awakening Review: One Shall Stand". Kotaku.com. 2010-03-11. สืบค้นเมื่อ 2012-05-31.
  10. "Transformers G1 Awakening Review". Touch Arcade. 2010-02-24. สืบค้นเมื่อ 2012-05-31.
  11. "TRANSFORMERS G1: AWAKENING in Review – iAutobots, Roll out! | TouchMyApps". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-11. สืบค้นเมื่อ 2023-02-21.
  12. "Transformers G1: Awakening mobile game lands a release date | Transformers G1: Awakening news | Mobile". Pocket Gamer. 2008-07-24. สืบค้นเมื่อ 2012-05-29.
  13. "Transformers Mobile Is The Transformers Game We've Always Wanted". Kotaku.com. 2008-08-01. สืบค้นเมื่อ 2012-05-29.
  14. "Transformers Gen 1: Play The Demo". Kotaku.com. 2008-08-04. สืบค้นเมื่อ 2012-05-29.
  15. "Transformers G1: Awakening preview | Mobile". Pocket Gamer. 2008-08-26. สืบค้นเมื่อ 2012-05-27.
  16. "Transformers G1: Awakening review - Mobile reviews". Pocket Gamer. สืบค้นเมื่อ 2012-05-27.
  17. 17.0 17.1 Optimus Prime: A Transformers Visual History
  18. Optimus Prime: A Transformers Visual History
  19. "Transformers: G1 Awakening Review: One Shall Stand". Kotaku. 2010-03-11. สืบค้นเมื่อ 2012-05-27.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้