ศูนย์อำนวยการความมั่นคงไรช์

ศูนย์อำนวยการความมั่นคงไรช์ (เยอรมัน: Reichssicherheitshauptamt; RSHA) เป็นองค์การที่อยู่ใต้การบังคับบัญชาของไฮน์ริช ฮิมเลอร์ ในฐานะที่เขาเป็นผู้บัญชาการตำรวจเยอรมัน (Chef der Deutschen Polizei) และผู้นำสูงสุดขององค์การชุทซ์ชตัฟเฟิล องค์กรนี้มีหน้าที่หลักคือการกำจัด "ศัตรูของไรซ์" ทั้งภายในและภายนอก และเป็นองค์กรต้นสังกัดของตำรวจลับ, ตำรวจความมั่นคง, ตำรวจอาชญากรรม และสำนักอำนวยความปลอดภัย

ศูนย์อำนวยการความมั่นคงไรช์
Reichssicherheitshauptamt (RSHA)
ธงประจำผู้บัญชาการซีโพและเอ็สเด
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง27 กันยายน ค.ศ. 1939
หน่วยงานก่อนหน้า
ยุบเลิก8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
ประเภท
เขตอำนาจนาซีเยอรมนี นาซีเยอรมนี
ยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครอง
สำนักงานใหญ่ถนนพรินซ์อัลเบร็ช เบอร์ลิน
52°30′26″N 13°22′57″E / 52.50722°N 13.38250°E / 52.50722; 13.38250
บุคลากร50,648 คน (กุมภาพันธ์ ค.ศ.1944)[1]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดหน่วยงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(เพียงในนาม)
อัลล์เกอไมเนอ เอ็สเอ็ส

หัวหน้าศูนย์อำนวยการความมั่นคงไรช์

แก้

รายชื่อหัวหน้าศูนย์อำนวยการความมั่นคงไรช์ (Chef des RSHA)

  1. นายกลุ่มเอก ไรน์ฮาร์ท ไฮดริช ระหว่าง 27 ก.ย. 1939 ถึง 4 มิ.ย. 1942
  2. ไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ ระหว่าง 4 มิ.ย. 1942 ถึง 30 ม.ค. 1943 (รักษาการ)
  3. นายกลุ่มเอก แอ็นสท์ คัลเทินบรุนเนอร์ ระหว่าง 30 ม.ค. 1943 ถึง 12 พ.ค. 1945

โครงสร้าง

แก้

ตั้งแต่มีนาคม 1941 ศูนย์อำนวยการความมั่นคงไรช์ แบ่งออกเป็นเจ็ดกองอำนวยการ (Ämter)

  • กองอำนวยการ 1 (Amt I) "กำลังพล" (Personal)
  • กองอำนวยการ 2 (Amt II) "องค์กร, บริหาร และนิติการ" (Organisation, Verwaltung und Recht)
  • กองอำนวยการ 3 (Amt III) "ถิ่นอาศัยชาวเยอรมัน" (Deutsche Lebensgebiete)
  • กองอำนวยการ 4 (Amt IV) "สำรวจและปราบอริศัตรู" (Gegner-Erforschung und -Bekämpfung)
  • กองอำนวยการ 5 (Amt V) "ปราบอาชญากรรม" (Verbrechensbekämpfung)
  • กองอำนวยการ 6 (Amt VI) "ต่างประเทศ" (Ausland)
  • กองอำนวยการ 7 (Amt VII) "วิจัยและประเมินผลอุดมการณ์" (Weltanschauliche Forschung und Auswertung)

อ้างอิง

แก้
  1. Nachama, Andreas (2010). Topography of Terror: Gestapo, SS and Reich Security Main Office on Wilhelm-and Prinz-Albrecht-Strasse – A Documentation. Berlin: Stiftung Topographie des Terrors. ISBN 978-3-94177-207-6.