ถุงลมโป่งพอง เป็นโรคของระบบทางเดินหายใจส่วนล่างชนิดหนึ่ง ทำให้เกิดมีโพรงอากาศขึ้นในเนื้อปอดของผู้ป่วย ซึ่งอาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ โพรงนี้เกิดจากการที่ผนังถุงลมถูกทำลายกลายเป็นการสูญเสียเนื้อปอดเกิดเป็นโพรง ผลจากภาวะนี้จะทำให้พื้นที่แลกเปลี่ยนแก๊สในถุงลมมีจำนวนลดน้อยลง ทำให้ขนส่งออกซิเจนเข้ากระแสเลือดได้ลดลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นวัยกลางคนถึงสูงอายุ เนื่องจากสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการสูบบุหรี่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ภาวะพร่องโปรตีนแอลฟาวันแอนไททริปซิน ซึ่งอาจทำให้เกิดถุงลมโป่งพองได้ในคนอายุน้อย

ถุงลมโป่งพอง
Emphysema
การลุกลามของการทำลายผนังถุงลมโดยไม่เกิดพังผืดบริเวณรอบส่วนกลางของกลีบย่อยของปอด (centrilobular emphysema) ทางด้านซ้ายของภาพแสดงกลีบย่อยของปอดทั้งหมดที่เสียหาย
สาขาวิชาวิทยาปอด
อาการหายใจลำบาก, ไอเรื้อรัง[1]
การตั้งต้นอายุมากกว่า 35 ปี[1]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว[1]
สาเหตุการสูบบุหรี่,[2] มลภาวะทางอากาศ, พันธุกรรม
วิธีวินิจฉัยการวัดปริมาตรอากาศหายใจ (Spirometry)[3]
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคหืด, ภาวะหัวใจวาย, หลอดลมโป่งพอง, วัณโรค, หลอดลมฝอยอักเสบอุดกั้น, หลอดลมฝอยอักเสบทั่วแบบกระจาย[4]
การป้องกันการหยุดสูบบุหรี่, ปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในและภายนอกอาคาร, มาตรการควบคุมยาสูบ[5]
การรักษาการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด, การรักษาด้วยออกซิเจนระยะยาว, การลดปริมาตรปอด[5]
ยาสารขยายหลอดลมชนิดสูด และคอร์ติโคสเตอรอยด์[5]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "Chronic obstructive pulmonary disease". nice.org.uk. National Institute for Health and Care Excellence. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2021.
  2. Laniado-Laborín, Rafael (มกราคม 2009). "Smoking and Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD). Parallel Epidemics of the 21st Century". International Journal of Environmental Research and Public Health. MDPI. 6 (1: Smoking and Tobacco Control): 209–224. doi:10.3390/ijerph6010209. ISSN 1660-4601. PMC 2672326. PMID 19440278. S2CID 19615031.
  3. Gold Report 2021, pp. 20–23, Chapter 2: Diagnosis and initial assessment.
  4. Gold Report 2021, pp. 33–35, Chapter 2: Diagnosis and initial assessment.
  5. 5.0 5.1 5.2 Gold Report 2021, pp. 40–46, Chapter 3: Evidence supporting prevention and maintenance therapy.

บรรณานุกรม

แก้
  • "2021 Report" (PDF). Gold Report. Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
การจำแนกโรค