ถังดับเพลิง (อังกฤษ: fire extinguisher) เป็นอุปกรณ์ดับเพลิงแบบเคลื่อนที่ ประกอบด้วยถังแรงดันซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่นๆ, พร้อมมือจับ, ไกเปิด/ปิด , สลักนิรภัย, และสายฉีด ออกแบบไว้สำหรับการดับเพลิงไหม้ที่ยังไม่ลุกลาม

เครื่องดับเพลิงแบบอัดความดันไว้

ตัวถังดับเพลิงนั้น มักจะเป็นสีแดงเพื่อให้มองเห็นได้ง่าย และติดตั้งไว้เป็นระยะห่างๆ กันภายในอาคาร, ซึ่งเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ผู้ใช้สามารถหิ้วถังจากจุดติดตั้งมาในบริเวณที่เกิดเหตุ ดึงสลักนิรภัยออก จับสายฉีดให้ปลายหันเข้าหาเปลวไฟ, และเมื่อทำการบีบไก น้ำหรือสารเคมีที่อยู่ภายในถังก็จะพุ่งตรงไปยังบริเวณที่ไฟไหม้ และดับไฟลงในที่สุด

ทั้งนี้ ประสิทธิภาพการดับไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ขึ้นกับชนิดของสารดับเพลิงซึ่งบรรจุอยู่ในถัง

ชนิดของถังดับเพลิง

แก้

ชนิดของถังดับเพลิงจะจัดแบ่งไว้ตามประเภทของเชื้อเพลิงซึ่งถังนั้นดับได้ โดยจะระบุไว้อย่างชัดเจนบนฉลากข้างถัง, ซึ่งในประเทศไทยจะใช้การแบ่งประเภทตามมาตรฐาน NFPA 10 ของสหรัฐอเมริกา:[ต้องการอ้างอิง]

 
วิธีการใช้
ประเภท A
เป็นสัญลักษณ์รูปตัว A ในสามเหลี่ยมสีเขียว, สามารถดับไฟที่เกิดจากของแข็ง เช่น ฟืน ยาง ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก หนังสัตว์ ปอนุ่น ด้าย และ เชื้อประทุ วิธีการดับเพลิงที่ดีที่สุดสำหรับเพลิงประเภทนี้คือการลดความร้อนโดยใช้น้ำฉีด
ประเภท B
เป็นสัญลักษณ์รูปตัว B ในสี่เหลี่ยมสีแดง, สามารถดับไฟที่เกิดจากของเหลว และ แก๊ส เช่น น้ำมันทุกชนิด สารโซเว้น แก๊ส ทินเนอร์ แอลกอฮอล์ ยางมะตอย จาระบี และ ก๊าซติดไฟทุกชนิด
ประเภท C
เป็นสัญลักษณ์รูปตัว C ในวงกลมสีฟ้า, สามารถดับไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็ง หรือมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด
ประเภท D
เป็นสัญลักษณ์รูปตัว D ในรูปดาว 5 แฉก, สามารถดับไฟที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของโลหะ
ประเภท K
เป็นสัญลักษณ์รูปตัว K ในรูปหกเหลี่ยมสีดำ, สามารถดับไฟที่เกิดจากไขมันสัตว์ หรือน้ำมันทำอาหาร

ชนิดของสารดับเพลิง

แก้

สารดับเพลิงที่ใช้อยู่ในถังดับเพลิงทั่วไปมี 5 ชนิด คือ

  • ผงเคมีแห้ง: ดับได้เฉพาะแบบ A, B และ C
  • คาร์บอนไดออกไซด์: ดับได้เฉพาะแบบ A, B และ C
  • โฟม (โฟมสะสมแรงดัน): ดับได้เฉพาะแบบ A และ B
  • น้ำ (น้ำสะสมแรงดัน): ดับได้เฉพาะแบบ A
  • น้ำยาเหลวระเหยฮาโลตรอน: ดับได้เฉพาะแบบ A (ต้องมีความชำนาญ), B และ C
แบบ สีของถัง ชนิดของเชื้อเพลิงที่ดับได้
น้ำ เงิน/แดง A
โฟม เงิน/แดง A / B
ผงเคมีแห้ง แดง A / B / C
คาร์บอนไดออกไซด์ แดง A / B / C
ฮาโลตรอน เขียว

วิธีการใช้

แก้
 

การใช้ถังดับเพลิงตามมาตรฐานNFPA 10 จะใช้ P.A.S.S. Pย่อมาจากPullคือดึงสลัก Aย่อมาจากAimคือให้เล็งไปที่ฐานของไฟ Sย่อมาจากSqueezeคือให้ค่อยๆบีบคันบีบ สุดท้ายคือ Sย่อมาจากSweep ให้ส่ายหัวฉีดซ้ายและขวา รวมกันเป็นดึง,เล็ง,บีบ,ส่าย จะคล้ายๆกับบ้านเราที่ใช้กันคือ ดึง,ปลด,กด,ส่าย ไม่ว่าจะอย่างใดผู้ใช้ต้องตั้งสติแล้วทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้